วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2561

สงครามอินโดจีน

สงครามอินโดจีน



สงครามอินโดจีน เป็นการรบกันระหว่าง ไทย กับ ฝรั่งเศส (28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 – 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1941) ในช่วงปลายของสงครามโลกครั้งที่ 2 สาเหตุเนื่องมาจากการเรียกร้องดินแดนที่เคยเสียให้ฝรั่งเศสไปในยุคล่า อาณานิคมกลับคืนมา ญี่ปุ่นได้เสนอตัวเป็นผู้ไกล่เกลี่ย ข้อพิพาทระหว่างไทย – ฝรั่งเศส ไทยได้ดินแดนที่เสียไปกลับคืนมา แต่ภายหลังก็ต้องคืนให้แก่ฝรั่งเศสอีกครั้งหนึ่งฝรั่งเศสเข้าคุกคามไทยในปี พ.ศ. 1907 และได้ยึดดินแดนของไทยไปทั้งหมด 5 ครั้ง ทำให้ไทยเสียดินแดน คิดเป็นพิ้นที่ 467,500 ตารางกิโลเมตร ได้แก่ ประเทศลาวและเขมรในปัจจุบัน ทำให้ดินแดนของไทยลดลงไปครึ่งประเทศ

สาเหตุของสงคราม





8 ตุลาคม ค.ศ. 1940 ได้มีการเดินขบวนสนับสนุนรัฐบาลไทย(รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม) ให้มีการเรียกร้องเอาดินแดนในอินโดจีนที่เคยถูกฝรั่งเศสยึดไปในยุคล่า อาณานิคม รวมทั้งหมด 5 ครั้ง (ค.ศ. 1867 – 1906) คืน ซึ่งในขณะนั้นอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และฝรั่งเศสเป็นผู้แพ้สงคราม แก่เยอรมนี
รัฐบาลพลตรีหลวงพิบูลสงคราม เห็นด้วยกับประชาชน และได้เรียกร้องให้ฝรั่งเศสคืนดินแดนที่ไทยเสียไปกลับคืนมา แต่ทว่า รัฐบาลฝรั่งเศสได้ปฏิเสธข้อเรียกร้องของไทย และเริ่มการคุกคามไทยด้วยการยิงปืนใหญ่จากฝั่งแม่น้ำโขงเข้ามายังดินแดนของไทยและส่งเครื่องบินรุกล้ำน่านฟ้าของไทยตลอดเวลา โดยทางฝ่ายไทยยังไม่ได้ตอบโต้แต่ก็เตรียมพร้อมที่จะรับมือกับฝรั่งเศส

17 กันยายน ค.ศ. 1940 ฝรั่งเศสปฎิเสธที่จะคืนดินแดนที่เคยยึดไป และได้อ้างว่าปัญหาดังกล่าวยุติแล้ว ตามสนธิสัญญาฝรั่งเศส – สยาม ฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907
เมื่อฝรั่งเศสปฎิเสธที่จะคืนดินแดน และไทยต้องการดินแดนคืน สงครามจึงไม่อาจเลี่ยง

17 มกราคม ค.ศ. 1941 ฝรั่งเศสส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิดที่นครพนม แต่ไทยสามารถป้องกันไว้ได้ และตอบโต้ด้วยการส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดในอินโดจีนหลายแห่ง
วันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ.1940 รัฐบาลไทยภายใต้การนำของหลวงพิบูลสงครามจัดตั้งกองทัพเพื่อต่อสู้กับฝรั่งเศส 2 กองทัพ กับกองพลสนามอิสระ อีก 1 กองพล เพื่อรับมือกองทัพฝรั่งเศสซึ่งกำลังจะบุกเข้ามายังไทย


28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 ฝรั่งเศสส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิดที่จังหวัดนครพนม ทำให้ประชาชนบาดเจ็บ กองทัพไทยได้ส่งกองทัพอากาศเข้าโจมตีฝรั่งเศส เพื่อเป็นการตอบโต้ กองทัพบกฝรั่งเศสยกทัพเข้ามาประชิดชายแดน จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดหนองคาย โดยทางไทยถือว่า การเคลื่อนไหวของกองทัพฝรั่งเศสในครั้งนี้เป็นการคุกคามอธิปไตยของชาติไทยอย่างร้ายแรง

หลังจากนั้นกองบัญชาการทหารสูงสุดได้ออกประกาศ ฉบับที่ 1/2483 มีใจความว่า
"เรื่อง ให้พี่น้องชาวอินโดจีนระวังภัยจากการทิ้งระเบิด"

ขอให้พี่น้องชาวอินโดจีนในปกครองของฝรั่งเศสทราบทั่วกันว่า เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน เวลา 08.00 นาฬิกา เครืองบินฝรั่งเศส 5 เครื่อง ได้บินมาทิ้งระเบิดที่จังหวัดนครพนม ทำให้ประชาชนบาดเจ็บ 6 คน การรุกรานของฝรั่งเศสในอินโดจีนคราวนี้ เป็นการกระทำอย่างผิดศีลธรรมด้วยประการทั้งปวง ฉะนั้น เพื่อความปลอดภัยของพี่น้องทั้งหลาย กองทัพอากาศจะได้ทำการตอบแทนแก่คนฝรั่งเศสในอินโดจีนบ้าง โดยจะได้ไปทิ้งระเบิดยังกองบัญชาการ และที่พักอาศัยซึ่งมีทหารชาติฝรั่งเศสอยู่ทั่วไป
ฉะนั้น ขอแจ้งให้พี่น้องชาวอินโดจีนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ได้ออกไปอยู่ห่างจากตำบลที่คนฝรั่งเศสอยู่ และอย่าได้เข้าไปอยู่ใกล้คนฝรั่งเศสเป็นอันขาด เพราะอาจจะพลอยเป็นอันตรายไปด้วย

หลังเสร็จสิ้นการประกาศ กองทัพไทยจากกองพลพายัพได้เคลื่อนกำลังจากแนวชายแดนด้านติดลาวกับด้านที่ติดกับกัมพูชาเข้าไปจู่โจมกองทัพอินโดจีนของฝรั่งเศสอย่างดุเดือด


6 มกราคม ค.ศ. 1941 กองทัพไทย ซึ่งมี พลตรีหลวงพิบูลสงคราม (จอมพล ป. พิบูลสงครามในขณะนั้น) เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้ทำการบุกโจมตีฝรั่งเศส ทางด้านกัมพูชา นครจำปาศักดิ์ เวียงจันทร์ และสุวรรณเขต และได้เข้ายึดหลวงพระบาง และปอยเปตไว้ได้

หลังจากการต่อสู้อย่างดุเดือดระหว่างไทยกับฝรั่งเศส เป็นเหตุให้ฝ่ายฝรั่งเศสต้องตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบในการรบในอินโดจีน ดังนั้น กองทัพฝรั่งเศสจึงได้ส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดที่จังหวัดนครพนมอย่างหนัก ในวันที่ 17 มกราคม 1941 ไทยได้ส่งเครื่องบินเข้าต่อสู้อย่างอาจหาญจึงสามารถป้องกันจังหวัดนครพนมไว้ได้ พร้อมทั้งกองทัพอากาศไทยได้ส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดได้เข้าไปทิ้งระเบิดฐานที่มั่นของฝรั่งเศสเพื่อเป็นการตัดกำลังของฝรั่งเศส

กองทัพเรือของฝรั่งเศสที่ประจำอยู่ที่อินโดจีน ได้เข้าปะทะกับ ราชนาวีไทยตรงบริเวณเกาะช้างในวันที่ 17 มกราคม 1941 เรือลาดตระเวนลามอตต์-ปิเกต์ ของฝรั่งเศสระดมยิงเรือรบหลวงธนบุรีของไทยเสียหาย แต่ก็ไม่จมจึงพ้นภัยข้าศึกมาได้ และข้าศึกก็ไม่อาจรุกล้ำอธิปไตยของไทยได้อีกด้วย นับว่า "ยุทธนาวีแห่งเกาะช้างครั้งนั้นสร้างเกียรติประวัติให้แก่ราชนาวีไทยเป็นอย่างยิ่ง นอกจากเรือรบหลวงธนบุรึ ก็ยังมีเรือรบจากราชนาวีไทยอีกหลายลำที่ได้ออกรบกับเรือลาดตระเวนลามอตต์-ปิเกต์ อาทิเช่น เรือรบสงขลา และเรือรบชลบุรี ซึ่งทำการรบกับกองทัพฝรั่งเศสอย่างห้าวหาญ ทำให้กองทัพฝรั่งเศสต้องถอนทัพออกจากอ่าวไทยไป

แผนที่ยุทธนาวีเกาะช้าง
17 มกราคม ค.ศ. 1941 ฝรั่งเศสได้ส่งกองเรือส่วนใหญ่ที่อยู่ในอินโดจีนเข้ามาทางเกาะช้าง จุดประสงค์เพื่อระดมยิงหัวเมืองชายทะเล เพื่อกดดันให้ไทยถอนกำลังทหาร



เรือลามอต์ ปิเกต์

06:10 น. เรือหลวงสงขลา เปิดฉากยิงต่อสู้กับเรือธงลามอตต์ ปิเกต์ของฝรั่งเศส แต่ไม่สามารถต้านทานอนุภาพการทำลายของเรือฝรั่งเศสได้ นาวาตรีชั้น สิงหชาญ ผู้บัญชาการเรือหลวงสงขลา จึงได้สั่งให้สละเรือ ในเวลา 06:45 น. หลังจากที่สละเรือหลวงสงขลาแล้วประมาณ 10 นาทีต่อมา เรือหลวงชลบุรี ที่ทำการยิงต่อสู้กับหมู่เรือสลุปของฝรั่งเศส ภายใต้การนำของ เรือเอกประทิน ไชยปัญญา จำต้องสละเรือเช่นกัน


06:38 น. เรือหลวงธนบุรีได้ทำการยิงตอบโต้กับหมู่เรือของฝรั่งเศส แต่เนื่องจากไทยเหลือเรือเพียงลำเดียว จึงทำให้การยิงตอบโต้ของเหลือหลวงธนบุรีเป็นไปด้วยความยากลำบาก แต่เรือหลวงธนบุรีก็ได้สร้างความเสียหายให้แก่เรือธงลามอตต์ ปิเกต์ได้ในที่สุด ภายหลังเรือหลวงธนบุรีได้แล่นเข้าสู่บริเวณน้ำตื้น

07:50 น. กองเรือของฝรั่งเศสได้ถอนตัวออกจากพิสัยการบ เนื่องจากเกรงกำลังกองหนุนของไทย
เรือหลวงธนบุรี สามารถยิงขับไล่เรือของฝรั่งเศสออกไปได้ แต่เรือหลวงธนบุรีก็ได้รับความเสียหายอย่างหนัก
16:40 น. ทหารเรือไทยและชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียงพยายามดับไฟที่ไหม้อยู่บนเรือหลวงธนบุรี แต่ไม่สำเร็จ ในที่สุดเรือหลวงธนบุรีก็จมลง
สงครามยุติญี่ปุ่นเข้าไกล่เกลี่ย
28 มกราคม ค.ศ. 1941 ขณะนั้นไทยเข้ายึดพื้นที่อินโดจีนไว้ได้หลายจุด ญี่ปุ่นประเทศมหาอำนาจในเอเชีย ได้เสนอตัวไกล่เกลี่ยให้ไทยกับฝรั่งเศสเลิกรบ ซึ่งไทยและฝรั่งเศสได้ตกลงตามข้อเสนอของญี่ปุ่น
9 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 ไทยและฝรั่งเศสได้ลงนามในอนุสัญญาโตเกียว

จากอนุสัญญาโตเกียวนี้ ไทยได้ดินแดนต่างๆกลับคืนมาดังนี้
ดินแดนฝั่งขวาของหลวงพระบาง
จำปาศักดิ์
ศรีโสภณ
พระตะบอง
ดืนแดนในกัมพูชา

โดยหลังจากนั้นไทยได้นำดินแดนที่ได้มาตั้งเป็น 4 จังหวัดดังนี้
จังหวัดพระตะบอง
จังหวัดพิบูลสงคราม
จังหวัดจำปาศักดิ์
จังหวัดล้านช้าง

เป็นอันว่าสงครามครั้งนี้ทำให้ไทยได้ดินแดนที่โดนฝรั่งเศสขโมยไปเมื่อปี ค.ศ. 1904

บุคคลที่นำความสำเร็จมาให้กับประเทศไทยมีรายชื่อดังนี้
พลตรีหลวงพิบูลสงคราม
กรมหมื่นนราธิปพงษ์
นาย ควง อภัยวงศ์
หลวงพรมหมโยธี
พันเอกประเสริฐ สุดบรรทัด
ซึ่งภายหลังสงครามยุติแล้ว พลตรีหลวงพิบูลสงคราม ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี และผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้รับพระราชทานยศ “จอมพล” รวมทั้ง กรมหมื่นนราธิปพงษ์ประพันธ์ (ผู้ลงนามในอนุสัญญาโตเกียว) นายควง อภัยวงศ์ (ผู้ลงนามในสัญญารับดินแดนด้านบูรพาและนำธงชาติไทยไปปักที่จังหวัดพระตะบอง) หลวงพรหม โยธี และพันเอกประเสริฐ สุดบรรทัด

ไทยเสียดินแดนคืนให้ฝรั่งเศส
ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติแล้ว ฝรั่งเศสได้กลายจากผู้แพ้สงคราม เป็นผู้ชนะสงคราม
12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1946 ไทยจำต้องคืน จังหวัดพระตะบอง จังหวัดพิบูลสงคราม จังหวัดจำปาศักดิ์ และจังหวัดลานช้าง ให้แก่ฝรั่งเศสอีกครั้ง ตามสนธิสัญญาวอชิงตัน และได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ จากสงครามอินโดจีน ไทยสูญเสียทหาร 160 นาย ฝรั่งเศสสูญเสียทหาร 321 นาย และไทยได้สร้าง “อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ” ไว้เป็นอนุสรณ์และที่เก็บอัฐิของทหารไทยที่เสียชีวิตใน สงครามอินโดจีน ครั้งนี้ด้วย

Cr: Saowapa Jittra

วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ประวัติศาสตร์ของประเทศไทย

ประวัติศาสตร์ของประเทศไทย


ประวัติศาสตร์ชาติไทยเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และจากนั้นในช่วง 2000 ปีที่ผ่านมาก็จะเป็นประวัติศาสตร์อาณาจักรของชนชาติต่างๆ โดยพัฒนาเจริญรุ่งเรืองอยู่ตามส่วนต่างๆ ของประเทศและในช่วงเวลาต่างๆ กัน ซึ่งประกอบเข้าด้วยกันเป็นชาติไทยยุคใหม่ในทุกวันนี้
กลุ่มชาติพันธุ์และยุคต่างๆ ดังกล่าว ได้แก่ อาณาจักรศรีวิชัย ทางภาคใต้ อาณาจักรทวารวดี
ของชาวมอญในภาคกลาง อาณาจักรหริภุญชัยทางภาคเหนือ อาณาจักร เขมรของกัมพูชาเกือบทั่วประเทศไทย อาณาจักรไท อาณาจักร ล้านนา กรุงสุโขทัย กรุงอยุธยา กรุงธนบุรีและ กรุงรัตนโกสินทร์
เนื่องจากว่าเหตุการณ์ต่างๆ ไม่ได้เกิดขึ้นทั่วทุกภาคของประเทศไทย เราจึงแบ่งประวัติศาสตร์ชาติไทยออกเป็นประวัติศาสตร์ชาติไทยทาง ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ และจะอธิบายถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกับภาคนั้นๆ ของประเทศไทยด้วย

เขตแดนของกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้มีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง โดยมีทั้งแผ่ขยายอาณาบริเวณออกไปและหลังจากนั้นก็ยุบตัวลงตามอิทธิพลทางการเมืองหรือการทหาร และมีการเปลี่ยนแปลงพันธมิตรและเปลี่ยนแปลงอาณาเขตอยู่ตลอดเวลา
อาณาจักรต่างๆ มีการแผ่ขยายอำนาจและเสื่อมอำนาจลงตามกาลเวลาประดุจหนึ่งน้ำที่กระเพื่อมในสระเมื่อมีผู้หย่อนก้อนหินลงไปซึ่งทำให้เกิดระลอกคลื่นช่วงระยะหนึ่งแล้วก็จางหายไป

ราชอาณาจักรไทยสมัยใหม่ก่อตั้งขึ้นได้อย่างไร
มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ไทยเมื่อ 2,000 ปีที่แล้วว่า ชนเผ่าแต่ละเผ่ามีภาษาพูดเป็นของตนเองและมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันด้วย ทุกอาณาจักรล้วนนับถือศาสนาพุทธ เว้นแต่พวกเขมรที่ยอมรับศาสนาพุทธ แต่ให้ชาวเมืองเคารพนับถือแนวคิดของศาสนาฮินดูในเรื่องกษัตริย์ที่เป็นเสมือนสมมติเทพ (ผู้ที่เปรียบตนเองว่าเป็นเทพเจ้า) และเชื่อในตำนานศาสนาฮินดู ข้อแตกต่างเหล่านี้ได้อธิบายไว้โดยละเอียดในลิงค์ด้านซ้ายมือแล้ว
ยุคของอาณาจักรทางการเมืองการปกครอง ไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับยุคแห่งศิลปะและวัฒนธรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากชนเผ่าเหล่านี้ ยกตัวอย่างเช่น เขมรมีความโดดเด่นทางวัฒนธรรมอย่างมากในประเทศไทยระหว่างก่อนยุคนครวัด (คริสต์ศตวรรษที่ 7–10) และอิทธิพลทางวัฒนธรรมของเขมรก็ยังมีอิทธิพลมาจนถึงปัจจุบันนี้
ชนเผ่าไทต่างๆ ได้รุกรานภูมิภาคแห่งนี้ และก็ตั้งอาณาจักรขึ้นที่จังหวัดน่าน พะเยา ล้านนาและล้านช้าง (ซึ่งเป็นต้นกำเนิดทางประวัติศาสตร์ของลาวสมัยใหม่) ถัดลงไปทางภาคเหนือตอนล่าง ชนเผ่าไทได้ก่อตั้งอาณาจักร สุโขทัยขึ้นมา ขณะที่ชนชาติมอญได้ก่อตั้งอาณาจักรลพบุรี ทวารวดี และ หริภุญชัยขึ้นมา ส่วนอาณาจักร เจนละและ อาณาจักรเขมรเป็นของชาวเขมร (ปัจจุบันเรียกว่ากัมพูชา)
ทางภาคใต้ของประเทศไทย อาณาจักร ศรีวิชัยปกครองโดยชนชาติอินโดนีเซียจากเกาะสุมาตราและชวา ในลิงค์ด้านข้าง ท่านจะได้อ่านความคิดเห็นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทยทั้งในมุมมองระดับชาติและมุมมองในระดับภูมิภาคที่ครั้งหนึ่งเคยมีชนเผ่าและอาณาจักรต่างๆ ตั้งอยู่ แต่เป็นเพียงพื้นที่ส่วนน้อยของดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน

Cr: http://www.thailandsworld.com/

ประวัติศาสตร์ลาว

ประวัติศาสตร์ลาว

สมัยศักดินา
ประวัติศาสตร์ยุคแรกๆ ของลาว เชื่อว่าอยู่ภายใต้การครอบครองของอาณาจักรน่านเจ้ามีตำนานโดยขุนบรม และขุนลอ มีลูกสืบหลานต่อๆ กันมา จนถึงรัชสมัยพระเจ้าฟ้างุ้มผู้รวบรวมอาณาจักรล้านช้างได้เป็นผลสำเร็จในช่วงสมัยพุทธศตวรรษที่ 13 และมีกษัตริย์ปกครองสืบทอดต่อกันมาหลายพระองค์ ที่สำคัญ เช่น

พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช พระองค์มีความสัมพันธไมตรีที่แนบแน่นกับกษัตริย์ไทย โดยเฉพาะในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช รัชสมัยของพระองค์นับเป็นยุคทองของราชอาณาจักรล้านช้างภายหลังเมื่อพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชเสด็จสวรรคตแล้ว เชื้อพระวงศ์ลาวต่างก็แก่งแย่งราชสมบัติกัน จนอาณาจักรล้านช้างแตกแยกเป็น 3 ส่วนคือ อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ และอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ ต่างเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน และเพื่อชิงความเป็นใหญ่ต่างก็ขอสวามิภักดิ์ต่ออาณาจักรเพื่อนบ้าน เช่น ไทย พม่า เพื่อขอกำลังมาสยบอาณาจักรลาวด้วยกันในลักษณะนี้ ในที่สุดอาณาจักรลาวทั้ง 3 แห่งนี้จะตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรสยามในปี พ.ศ. 2321 จากการใช้เล่ห์เหลี่ยมของสยาม

พระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช
หน้าพระธาตุหลวง นครหลวงเวียงจันทน์


สยามได้ปกครองดินแดนลาวทั้งสามส่วนในฐานะประเทศราชรวม 114 ปี ในระยะเวลาดังกล่าวอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ได้ล่มสลายลงในปี พ.ศ. 2371 เนื่องจากในปี พ.ศ. 2369 พระเจ้าอนุวงศ์ กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ได้พยายามทำสงครามเพื่อตั้งตนเป็นอิสระจากสยาม เนื่องจากไม่อาจทนต่อการกดขี่ของฝ่ายไทยได้ ทว่าหลังการปราบปรามของกองทัพไทยอย่างหนัก พระองค์เห็นว่าจะทำการไม่สำเร็จจึงตัดสินพระทัยหลบหนีไปพึ่งจักรวรรดิเวียดนามจนถึง พ.ศ. 2371 พระองค์จึงได้กลับมายังกรุงเวียงจันทน์พร้อมกับขบวนราชทูตเวียดนามพามาเพื่อขอสวามิภักดิ์สยามอีกครั้ง แต่พอสบโอกาสพระองค์จึงนำทหารของตนฆ่าทหารไทยที่รักษาเมืองจนเกือบหมดและยึดกรุงเวียงจันทน์คืน กองทัพสยามรวบรวมกำลังพลและยกทัพมาปราบปรามเจ้าอนุวงศ์อีกครั้งจนราบคาบ จนพระเจ้าอนุวงศ์ต้องหลบหนีไปยังเวียดนามและในคราวนี้เองที่พระองค์ทรงถูกเจ้าเมืองพวนจับกุมตัวและส่งลงมากรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระพิโรธเจ้าอนุวงศ์มากจึงทรงให้คุมขังเจ้าอนุวงศ์ประจานกลางพระนครจนสิ้นพระชนม์ ส่วนกรุงเวียงจันทน์ก็มีพระบรมราชโองการให้เผาทำลายจนไม่เหลือสภาพความเป็นเมือง และตั้งศูนย์กลางการปกครองฝ่ายไทยเพื่อดูแลอาณาเขตของอาณาจักรเวียงจันทน์ที่เมืองหนองคายแทน


พรรคประชาชนสมัยอาณานิคม การประกาศเอกราช และสงครามกลางเมือง

ในปี พ.ศ. 2436 สยามได้เกิดข้อขัดแย้งกับฝรั่งเศสในเรื่องอำนาจเหนือดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงจนเกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 จากการใช้เล่ห์เหลี่ยมของโอกุสต์ ปาวีกงสุลฝรั่งเศส โดยการใช้เรือรบมาปิดอ่าวไทยเพื่อบังคับให้ยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง รวมทั้งดินแดนอื่น ๆ ดินแดนลาวเกือบทั้งหมดก็เปลี่ยนไปตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของประเทศฝรั่งเศสในปีนั้นและถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอินโดจีนฝรั่งเศส ต่อมาภายหลังดินแดนลาวส่วนอื่นที่อยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขงก็ตกเป็นของฝรั่งเศสอีกในปี พ.ศ. 2450

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นได้รุกเข้ามาในลาวและดินแดนอินโดจีนฝรั่งเศสอื่นๆ เมื่อญี่ปุ่นใกล้แพ้สงคราม ขบวนการลาวอิสระซึ่งเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อกู้เอกราชลาวในเวลานั้นประกาศเอกราชให้ประเทศลาวเป็นประเทศ ราชอาณาจักรลาว หลังญี่ปุ่นแพ้สงคราม ฝรั่งเศสก็กลับเข้ามามีอำนาจในอินโดจีนอีกครั้งหนึ่ง แต่เนื่องจากการที่เวียดมินห์ปลดปล่อยเวียดนามได้ จึงเป็นการสั่นคลอนอำนาจฝรั่งเศสจนยอมให้ลาวประกาศเอกราชบางส่วนในปี พ.ศ. 2492 และได้เอกราชสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2496 ภายหลังฝรั่งเศสรบแพ้เวียดนามที่เดียนเบียนฟู ผู้ที่มีบทบาทในการประกาศเอกราชคือ เจ้าสุวรรณภูมา เจ้าเพชรราช และ เจ้าสุภานุวงศ์ โดยมีเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้ามหาชีวิต (พระมหากษัตริย์) จากอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบางเดิม และได้รวมทั้ง 3 อาณาจักรคือ ล้านช้างหลวงพระบาง ล้านช้างเวียงจันทน์ และ ล้านช้างจำปาศักดิ์ เข้าด้วยกันเป็นราชอาณาจักรลาว


พ.ศ. 2502 เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์เสด็จสวรรคต เจ้าสว่างวัฒนาจึงขึ้นครองราชย์เป็นเจ้ามหาชีวิตแทน เหตุการณ์ในลาวยุ่งยากมาก เจ้าสุภานุวงศ์ 1 ในคณะลาวอิสระประกาศตนว่าเป็นพวกฝ่ายซ้ายนิยมคอมมิวนิสต์ และเป็นหัวหน้าขบวนการประเทศลาว ได้ออกไปเคลื่อนไหวทางการเมืองในป่า เนื่องจากถูกฝ่ายขวาในลาวคุกคามอย่างหนัก ถึงปี พ.ศ. 2504 ร้อยเอกกองแลทำการรัฐประหารรัฐบาลเจ้าสุวรรณภูมา แต่ถูกกองทัพฝ่ายขวาและฝ่ายซ้ายรุมจนพ่ายแพ้ กองแลต้องลี้ภัยไปสหรัฐจนถึงปัจจุบัน


เหตุการณ์ทางการเมืองในระยะเวลาไม่นานหลังจากนั้นบังคับให้ลาวต้องกลายเป็นสมรภูมิลับของสงครามเวียดนาม และเป็นปัจจัยก่อให้เกิดการรัฐประหารและสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อ ภายใต้การแทรกแซงของชาติต่างๆ ทั้งฝ่ายคอมมิวนิสต์และฝ่ายโลกเสรี จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2518 พรรคประชาชนปฏิวัติลาว ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียตและเวียดนามเหนือ โดยการนำของเจ้าสุภานุวงศ์ ก็ยึดอำนาจรัฐจากรัฐบาลประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกาสำเร็จ เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนาทรงยินยอมสละราชสมบัติ ปฏิวัติลาวจึงประกาศสถาปนาประเทศลาวเป็น "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว" อย่างเป็นทางการในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 โดยยังคงแต่ตั้งให้อดีตเจ้ามหาชีวิตเป็นที่ปรึกษาของรัฐบาลระบอบใหม่.

สมัยสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2518 กองประชุมผู้แทนทั่วประเทศที่นครหลวงเวียงจันทน์ มีผู้แทนเข้าร่วม 264 คน พิจารณารับรองประกาศยุบรัฐบาลชั่วคราวแห่งชาติ และพิจราณาเรื่องต่างๆ
กองประชุมมีมติเอาธงดวงเดือนเป็นธงชาติลาว เอาเนื้อร้องเพลงชาติใหม่ เอาภาษาลาวเป็นภาษาทางการ ยกเลิกระบอบราชาธิปไตยและสถาปนาเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แต่งตั้งเจ้าสุภานุวงศ์เป็นประธานประเทศ, ท่านไกสอน พมวิหาน เป็นนายกรัฐมนตรี, เจ้าศรีสว่างวัฒนา เป็นที่ปรึกษาสูงสุดของประธานประเทศ, เจ้าสุวรรณภูมา เป็นที่ปรึกษาสูงสุดของรัฐบาล และมีมติอื่นๆ ในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 และปิดกองประชุมด้วยผลสำเร็จ แต่ภายหลังพรรคประชาชนปฏิวัติลาวก็ได้กุมตัวอดีตเจ้ามหาชีวิตและพระมเหสีไปคุมขังในค่ายกักกันจนสวรรคต เนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองในเวลาต่อมา.

สภาพการปกครอง และการบริหารด้านเศรษฐกิจของลาวเริ่มผ่อนคลายมากขึ้นในระยะหลังของทศวรรษ 2555 ต่อมาเมื่อเจ้าสุภานุวงศ์สละตำแหน่งจากประธาน ผู้ดำรงตำแหน่งประธานประเทศต่อจากเจ้าสุภานุวงศ์คือ ท่านไกสอน พมวิหาน และเมื่อท่านไกสอนถึงแก่กรรมกะทันหัน ท่าน หนูฮัก พูมสะหวัน ก็ได้ดำรงตำแหน่งประธานประเทศต่อมา ยุคนี้ลาวกับไทยเปิดสะพานมิตรภาพ ไทย - ลาว ในปี พ.ศ. 2538 ต่อมาท่านหนูฮักสละตำแหน่ง ท่านคำไต สีพันดอนรับดำรงตำแหน่งประธานประเทศต่อ จนถึงปี พ.ศ. 2549 ท่านคำไตลงจากตำแหน่ง ท่านจูมมะลี ไซยะสอน จึงเป็นผู้ที่รับตำแหน่งประธานประเทศลาว

อาณาจักรล้านช้าง

อาณาจักรล้านช้าง

Lan Xang เป็นประเทศแรกในลาวในศตวรรษที่ 13 เป็นเวลาประมาณ 350 ปีนับเป็นอาณาจักรที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นประเทศที่มีชื่อว่า "ประเทศช้างนับล้าน" ที่ดีที่สุด การจัดตั้งล Lan Xang มีผลกระทบอย่างมากต่อการพัฒนาประเทศลาวในปัจจุบัน


ราชอาณาจักรลั่นช้าง

รากฐานของอาณาจักรล้านช้าง
เมื่อใดก็ตามที่มีคนพูดถึง Lan Xang ลาวก็มักจะบอกเราเกี่ยวกับ Fa Ngum ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ลาว Fa Ngum เกิดเมื่อปีพศ. 1319 และอยู่ในราชวงศ์ของเมืองสุรา (ในหลวงพระบาง) คุณปู่ของคุณคือสุวรรณขุนพงษ์กษัตริย์เมืองเมืองและพ่อของเขาคือเจ้าฟ้า Ngiao เจ้าชายมงกุฎ ในช่วงนั้น Khmer Emprire ในภาคใต้มีการพัฒนาและมีอำนาจมาก เพราะตอนที่ยังเป็นเด็ก Fa Ngum ถูกส่งไปยัง Khmer Emprire เพื่อเป็นลูกชายของ King Jayavarman IX และแต่งงานกับเจ้าหญิง Keo Kang Ya ในปีพศ. 1343 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานในเมืองสุราษฎร์ธานีเสียชีวิตซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นของความไม่มั่นคงทางการเมือง
หกปีต่อมาในปีพศ. 1349 Fa Ngum ได้รับมอบกองทัพเรียกว่า "หมื่นพัน" เพื่อนำมงกุฎมาสู่เมืองสุรา ในเวลาเดียวกันคิงคิงดอนก็ค่อยๆลดลงอีกสองประเทศคือล้านนาและสุโขทัยที่เกิดขึ้นในดินแดนเขมรและทางฝั่งตะวันตกชาวสยามเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและเป็นที่ยอมรับในราชอาณาจักรอยุธยา (ซึ่งปัจจุบันคือประเทศไทย)


อาณาจักรล้านช้าง - กิ่งอุณาและการออกดอกของวัฒนธรรม

หลังจากหลายปีของการต่อสู้ Fa Ngum เข้ายึด Champassak, Muang Sua (หลวงพระบาง) ในปี ค.ศ. 1353 ฟ้างึมได้กลายเป็นกษัตริย์ของประเทศลาว เขาตั้งชื่ออาณาจักรลางช้างฮ่อเขาซึ่งหมายความว่า "แผ่นดินล้านช้างและพาราซอลสีขาว" Fa Ngum ยังคงขยายตัวไปสู่พื้นที่รอบ ๆ แม่น้ำโขงและเริ่มเคลื่อนไปทางใต้เพื่อเอาชนะล้านนาและบังคับให้ล้านนาอยู่ภายใต้อิทธิพลของเมืองสุรา
หลังจากที่ทั้งหมดเวียงจันทน์ยังคงเป็นอิสระและมีประสิทธิภาพในเวลานั้นอยุธยาอำนาจที่เกิดขึ้นในภาคตะวันออกกำลังคุกคามเวียงจันทน์ที่เงียบสงบ ในปี พ.ศ. 356 Fa Ngum มุ่งหน้าไปทางทิศใต้และเข้ายึดเมืองเวียงจันทน์และที่ราบโดยรอบ พระนครศรีอยุธยากลัวอาณาจักรล้านช้างและส่งเจ้าหญิงนางเคียวฟอร์ฟไปเป็นภรรยาคนที่สองของฟ้างึม


ขบวนแห่พระสมเด็จสมภพ

เมื่อปี 1357 ลันซาได้กลายเป็นอาณาจักรที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาณาบริเวณของมันทอดยาวจากพรมแดนของ Sipsong Panna ไปทางใต้ของประเทศจีนไปยัง Khong Island จากชายแดนตะวันออกไปตามแนว Annamite Range และ Dai Viet (Vietnam) ไปยังชายแดนตะวันตกของ Khorat Plateau

อาณาจักรล้านช้าง (1354-1707)
อย่างเป็นทางการการก่อตั้งอาณาจักรลั่นช่องได้รับการบันทึกจากปีพศ. 1354 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่พิชิตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากนั้น Lan Xang เป็นราชอาณาจักรที่มีอธิปไตยมานาน 350 ปี ในช่วงเวลานี้ราชอาณาจักรได้รับการโจมตีจากเพื่อนบ้านหลายครั้ง การรุกรานครั้งแรกเกิดขึ้นจากเวียดนาม (Dai Viet (เวียดนาม) เมื่อปีพ. ศ. 1479 ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จ แต่ต้องทิ้งเมืองหลวงพระบางไว้ในความเสียหายอย่างรุนแรง จากนั้นในช่วงปีพศ. 1540 มีการโต้เถียงกันระหว่างชาวล้านนาพม่าและอยุธยา (ต่อมาคือประเทศไทย) ซึ่งต่อมาทำให้ Lan Xang เป็นพันธมิตรกับล้านนาต่อต้านพม่าและอยุธยา ในปี พ.ศ. 2590 อาณาจักรแห่งล้านช้างและล้านนาได้รับการรวมกันภายใต้ราชวงศ์โฟกาซาราห์ของล้านช้างและลูกชายเศรษฐจิตรัตน์ในล้านนา ต่อมาภายหลังพุทธศาสนิกชนได้กลายเป็นกษัตริย์ของล้านช้างในยุค 1550 ซึ่งเป็นหนึ่งในกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของลานช้าง


ซุ้มประตูในวัดใหม่หลวงพระบางประเทศลาว

นับตั้งแต่ลางช้างและล้านนาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในปีพ. ศ. 1560 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงย้ายเมืองหลวงจากเมืองหลวงพระบางไปยังกรุงเวียงจันทน์เพื่อรักษาสถานที่ที่ดีต่อการป้องกันประเทศพม่า ในปีพศ. 1564 กษัตริย์ทรงปราบปรามอาณาจักรแห่งล้านนาและทำลายเมืองอยุธยา สงครามยังคงเกิดขึ้นใน Lan Xang ระหว่างสองแคมเปญ Lan Xang ที่ประสบความสำเร็จกับการรุกรานของพม่า Lan Xang เป็นอิสระและมีเสถียรภาพจนกระทั่ง 1572 หลังจากสองครั้งไม่ประสบความสำเร็จกับ Lan Xang ของพิชิตสุดท้ายใน 1573 พม่าทำมัน ดังนั้นล Lan Xang จึงกลายเป็นรัฐพึ่งพาของพม่าจนถึงปี พ.ศ. 2534 เมื่อบุตรชายของกษัตริย์เซ็ทธาธัทสามารถฟื้นอิสรภาพของอาณาจักรได้
หลังจากความวุ่นวายและความไม่มั่นคงหลายครั้งอาณาจักรลันซาถึงอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจในศตวรรษที่ 17 ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ Sourigna Vongsa ตั้งแต่ปี 1637 ถึงปี ค.ศ. 1694 เมื่อพระราชาสิ้นพระชนม์ในปีพ. ศ. 2237 ข้อพิพาทและความขัดแย้งเกิดขึ้นในราชอาณาจักร ในปี พ.ศ. 2250 อาณาจักรหลานโจวได้ถูกแยกออกและแบ่งออกเป็นสามแคว้น ประวัติศาสตร์ลาวได้เข้าสู่ยุคใหม่ระยะเวลาของราชอาณาจักรในภูมิภาค

Cr: https://www.golaos.tours/