สงครามอินโดจีน
สงครามอินโดจีน เป็นการรบกันระหว่าง ไทย กับ ฝรั่งเศส (28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 – 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1941) ในช่วงปลายของสงครามโลกครั้งที่ 2 สาเหตุเนื่องมาจากการเรียกร้องดินแดนที่เคยเสียให้ฝรั่งเศสไปในยุคล่า อาณานิคมกลับคืนมา ญี่ปุ่นได้เสนอตัวเป็นผู้ไกล่เกลี่ย ข้อพิพาทระหว่างไทย – ฝรั่งเศส ไทยได้ดินแดนที่เสียไปกลับคืนมา แต่ภายหลังก็ต้องคืนให้แก่ฝรั่งเศสอีกครั้งหนึ่งฝรั่งเศสเข้าคุกคามไทยในปี พ.ศ. 1907 และได้ยึดดินแดนของไทยไปทั้งหมด 5 ครั้ง ทำให้ไทยเสียดินแดน คิดเป็นพิ้นที่ 467,500 ตารางกิโลเมตร ได้แก่ ประเทศลาวและเขมรในปัจจุบัน ทำให้ดินแดนของไทยลดลงไปครึ่งประเทศ
สาเหตุของสงคราม
8 ตุลาคม ค.ศ. 1940 ได้มีการเดินขบวนสนับสนุนรัฐบาลไทย(รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม) ให้มีการเรียกร้องเอาดินแดนในอินโดจีนที่เคยถูกฝรั่งเศสยึดไปในยุคล่า อาณานิคม รวมทั้งหมด 5 ครั้ง (ค.ศ. 1867 – 1906) คืน ซึ่งในขณะนั้นอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และฝรั่งเศสเป็นผู้แพ้สงคราม แก่เยอรมนี
รัฐบาลพลตรีหลวงพิบูลสงคราม เห็นด้วยกับประชาชน และได้เรียกร้องให้ฝรั่งเศสคืนดินแดนที่ไทยเสียไปกลับคืนมา แต่ทว่า รัฐบาลฝรั่งเศสได้ปฏิเสธข้อเรียกร้องของไทย และเริ่มการคุกคามไทยด้วยการยิงปืนใหญ่จากฝั่งแม่น้ำโขงเข้ามายังดินแดนของไทยและส่งเครื่องบินรุกล้ำน่านฟ้าของไทยตลอดเวลา โดยทางฝ่ายไทยยังไม่ได้ตอบโต้แต่ก็เตรียมพร้อมที่จะรับมือกับฝรั่งเศส
17 กันยายน ค.ศ. 1940 ฝรั่งเศสปฎิเสธที่จะคืนดินแดนที่เคยยึดไป และได้อ้างว่าปัญหาดังกล่าวยุติแล้ว ตามสนธิสัญญาฝรั่งเศส – สยาม ฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907
เมื่อฝรั่งเศสปฎิเสธที่จะคืนดินแดน และไทยต้องการดินแดนคืน สงครามจึงไม่อาจเลี่ยง
17 มกราคม ค.ศ. 1941 ฝรั่งเศสส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิดที่นครพนม แต่ไทยสามารถป้องกันไว้ได้ และตอบโต้ด้วยการส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดในอินโดจีนหลายแห่ง
วันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ.1940 รัฐบาลไทยภายใต้การนำของหลวงพิบูลสงครามจัดตั้งกองทัพเพื่อต่อสู้กับฝรั่งเศส 2 กองทัพ กับกองพลสนามอิสระ อีก 1 กองพล เพื่อรับมือกองทัพฝรั่งเศสซึ่งกำลังจะบุกเข้ามายังไทย
28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 ฝรั่งเศสส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิดที่จังหวัดนครพนม ทำให้ประชาชนบาดเจ็บ กองทัพไทยได้ส่งกองทัพอากาศเข้าโจมตีฝรั่งเศส เพื่อเป็นการตอบโต้ กองทัพบกฝรั่งเศสยกทัพเข้ามาประชิดชายแดน จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดหนองคาย โดยทางไทยถือว่า การเคลื่อนไหวของกองทัพฝรั่งเศสในครั้งนี้เป็นการคุกคามอธิปไตยของชาติไทยอย่างร้ายแรง
หลังจากนั้นกองบัญชาการทหารสูงสุดได้ออกประกาศ ฉบับที่ 1/2483 มีใจความว่า
"เรื่อง ให้พี่น้องชาวอินโดจีนระวังภัยจากการทิ้งระเบิด"
ขอให้พี่น้องชาวอินโดจีนในปกครองของฝรั่งเศสทราบทั่วกันว่า เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน เวลา 08.00 นาฬิกา เครืองบินฝรั่งเศส 5 เครื่อง ได้บินมาทิ้งระเบิดที่จังหวัดนครพนม ทำให้ประชาชนบาดเจ็บ 6 คน การรุกรานของฝรั่งเศสในอินโดจีนคราวนี้ เป็นการกระทำอย่างผิดศีลธรรมด้วยประการทั้งปวง ฉะนั้น เพื่อความปลอดภัยของพี่น้องทั้งหลาย กองทัพอากาศจะได้ทำการตอบแทนแก่คนฝรั่งเศสในอินโดจีนบ้าง โดยจะได้ไปทิ้งระเบิดยังกองบัญชาการ และที่พักอาศัยซึ่งมีทหารชาติฝรั่งเศสอยู่ทั่วไป
ฉะนั้น ขอแจ้งให้พี่น้องชาวอินโดจีนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ได้ออกไปอยู่ห่างจากตำบลที่คนฝรั่งเศสอยู่ และอย่าได้เข้าไปอยู่ใกล้คนฝรั่งเศสเป็นอันขาด เพราะอาจจะพลอยเป็นอันตรายไปด้วย
หลังเสร็จสิ้นการประกาศ กองทัพไทยจากกองพลพายัพได้เคลื่อนกำลังจากแนวชายแดนด้านติดลาวกับด้านที่ติดกับกัมพูชาเข้าไปจู่โจมกองทัพอินโดจีนของฝรั่งเศสอย่างดุเดือด
6 มกราคม ค.ศ. 1941 กองทัพไทย ซึ่งมี พลตรีหลวงพิบูลสงคราม (จอมพล ป. พิบูลสงครามในขณะนั้น) เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้ทำการบุกโจมตีฝรั่งเศส ทางด้านกัมพูชา นครจำปาศักดิ์ เวียงจันทร์ และสุวรรณเขต และได้เข้ายึดหลวงพระบาง และปอยเปตไว้ได้
หลังจากการต่อสู้อย่างดุเดือดระหว่างไทยกับฝรั่งเศส เป็นเหตุให้ฝ่ายฝรั่งเศสต้องตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบในการรบในอินโดจีน ดังนั้น กองทัพฝรั่งเศสจึงได้ส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดที่จังหวัดนครพนมอย่างหนัก ในวันที่ 17 มกราคม 1941 ไทยได้ส่งเครื่องบินเข้าต่อสู้อย่างอาจหาญจึงสามารถป้องกันจังหวัดนครพนมไว้ได้ พร้อมทั้งกองทัพอากาศไทยได้ส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดได้เข้าไปทิ้งระเบิดฐานที่มั่นของฝรั่งเศสเพื่อเป็นการตัดกำลังของฝรั่งเศส
กองทัพเรือของฝรั่งเศสที่ประจำอยู่ที่อินโดจีน ได้เข้าปะทะกับ ราชนาวีไทยตรงบริเวณเกาะช้างในวันที่ 17 มกราคม 1941 เรือลาดตระเวนลามอตต์-ปิเกต์ ของฝรั่งเศสระดมยิงเรือรบหลวงธนบุรีของไทยเสียหาย แต่ก็ไม่จมจึงพ้นภัยข้าศึกมาได้ และข้าศึกก็ไม่อาจรุกล้ำอธิปไตยของไทยได้อีกด้วย นับว่า "ยุทธนาวีแห่งเกาะช้างครั้งนั้นสร้างเกียรติประวัติให้แก่ราชนาวีไทยเป็นอย่างยิ่ง นอกจากเรือรบหลวงธนบุรึ ก็ยังมีเรือรบจากราชนาวีไทยอีกหลายลำที่ได้ออกรบกับเรือลาดตระเวนลามอตต์-ปิเกต์ อาทิเช่น เรือรบสงขลา และเรือรบชลบุรี ซึ่งทำการรบกับกองทัพฝรั่งเศสอย่างห้าวหาญ ทำให้กองทัพฝรั่งเศสต้องถอนทัพออกจากอ่าวไทยไป
แผนที่ยุทธนาวีเกาะช้าง
17 มกราคม ค.ศ. 1941 ฝรั่งเศสได้ส่งกองเรือส่วนใหญ่ที่อยู่ในอินโดจีนเข้ามาทางเกาะช้าง จุดประสงค์เพื่อระดมยิงหัวเมืองชายทะเล เพื่อกดดันให้ไทยถอนกำลังทหาร
เรือลามอต์ ปิเกต์
06:10 น. เรือหลวงสงขลา เปิดฉากยิงต่อสู้กับเรือธงลามอตต์ ปิเกต์ของฝรั่งเศส แต่ไม่สามารถต้านทานอนุภาพการทำลายของเรือฝรั่งเศสได้ นาวาตรีชั้น สิงหชาญ ผู้บัญชาการเรือหลวงสงขลา จึงได้สั่งให้สละเรือ ในเวลา 06:45 น. หลังจากที่สละเรือหลวงสงขลาแล้วประมาณ 10 นาทีต่อมา เรือหลวงชลบุรี ที่ทำการยิงต่อสู้กับหมู่เรือสลุปของฝรั่งเศส ภายใต้การนำของ เรือเอกประทิน ไชยปัญญา จำต้องสละเรือเช่นกัน
06:38 น. เรือหลวงธนบุรีได้ทำการยิงตอบโต้กับหมู่เรือของฝรั่งเศส แต่เนื่องจากไทยเหลือเรือเพียงลำเดียว จึงทำให้การยิงตอบโต้ของเหลือหลวงธนบุรีเป็นไปด้วยความยากลำบาก แต่เรือหลวงธนบุรีก็ได้สร้างความเสียหายให้แก่เรือธงลามอตต์ ปิเกต์ได้ในที่สุด ภายหลังเรือหลวงธนบุรีได้แล่นเข้าสู่บริเวณน้ำตื้น
07:50 น. กองเรือของฝรั่งเศสได้ถอนตัวออกจากพิสัยการบ เนื่องจากเกรงกำลังกองหนุนของไทย
เรือหลวงธนบุรี สามารถยิงขับไล่เรือของฝรั่งเศสออกไปได้ แต่เรือหลวงธนบุรีก็ได้รับความเสียหายอย่างหนัก
16:40 น. ทหารเรือไทยและชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียงพยายามดับไฟที่ไหม้อยู่บนเรือหลวงธนบุรี แต่ไม่สำเร็จ ในที่สุดเรือหลวงธนบุรีก็จมลง
สงครามยุติญี่ปุ่นเข้าไกล่เกลี่ย
28 มกราคม ค.ศ. 1941 ขณะนั้นไทยเข้ายึดพื้นที่อินโดจีนไว้ได้หลายจุด ญี่ปุ่นประเทศมหาอำนาจในเอเชีย ได้เสนอตัวไกล่เกลี่ยให้ไทยกับฝรั่งเศสเลิกรบ ซึ่งไทยและฝรั่งเศสได้ตกลงตามข้อเสนอของญี่ปุ่น
9 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 ไทยและฝรั่งเศสได้ลงนามในอนุสัญญาโตเกียว
จากอนุสัญญาโตเกียวนี้ ไทยได้ดินแดนต่างๆกลับคืนมาดังนี้
ดินแดนฝั่งขวาของหลวงพระบาง
จำปาศักดิ์
ศรีโสภณ
พระตะบอง
ดืนแดนในกัมพูชา
โดยหลังจากนั้นไทยได้นำดินแดนที่ได้มาตั้งเป็น 4 จังหวัดดังนี้
จังหวัดพระตะบอง
จังหวัดพิบูลสงคราม
จังหวัดจำปาศักดิ์
จังหวัดล้านช้าง
เป็นอันว่าสงครามครั้งนี้ทำให้ไทยได้ดินแดนที่โดนฝรั่งเศสขโมยไปเมื่อปี ค.ศ. 1904
บุคคลที่นำความสำเร็จมาให้กับประเทศไทยมีรายชื่อดังนี้
พลตรีหลวงพิบูลสงคราม
กรมหมื่นนราธิปพงษ์
นาย ควง อภัยวงศ์
หลวงพรมหมโยธี
พันเอกประเสริฐ สุดบรรทัด
ซึ่งภายหลังสงครามยุติแล้ว พลตรีหลวงพิบูลสงคราม ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี และผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้รับพระราชทานยศ “จอมพล” รวมทั้ง กรมหมื่นนราธิปพงษ์ประพันธ์ (ผู้ลงนามในอนุสัญญาโตเกียว) นายควง อภัยวงศ์ (ผู้ลงนามในสัญญารับดินแดนด้านบูรพาและนำธงชาติไทยไปปักที่จังหวัดพระตะบอง) หลวงพรหม โยธี และพันเอกประเสริฐ สุดบรรทัด
ไทยเสียดินแดนคืนให้ฝรั่งเศส
ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติแล้ว ฝรั่งเศสได้กลายจากผู้แพ้สงคราม เป็นผู้ชนะสงคราม
12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1946 ไทยจำต้องคืน จังหวัดพระตะบอง จังหวัดพิบูลสงคราม จังหวัดจำปาศักดิ์ และจังหวัดลานช้าง ให้แก่ฝรั่งเศสอีกครั้ง ตามสนธิสัญญาวอชิงตัน และได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ จากสงครามอินโดจีน ไทยสูญเสียทหาร 160 นาย ฝรั่งเศสสูญเสียทหาร 321 นาย และไทยได้สร้าง “อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ” ไว้เป็นอนุสรณ์และที่เก็บอัฐิของทหารไทยที่เสียชีวิตใน สงครามอินโดจีน ครั้งนี้ด้วย
Cr: Saowapa Jittra
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น