วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2561

ประวัติศาสตร์สิงคโปร์

สิงคโปร์ (Singapore)
ประวัติศาสตร์สิงคโปร์


สิงคโปร์เป็นที่รู้จักกันครั้งแรกในสมัยศตวรรษที่ 3 ของชาวจีน พวกเขาเรียกสิงคโปร์ว่า "พู เลา ชุง" (เกาะปลายคาบสมุทร") ณ เวลานั้นไม่ค่อยมีใครทราบประวัติของเกาะแห่งนี้มากนัก แต่ว่าชื่อเรียกนี้ไม่สื่อให้เราเห็นอดีตอันมีสีสันของสิงคโปร์เลย

ในศตวรรษที่ 14 สิงคโปร์ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรศรีวิชัย (Sri Vijayan Empire) และรู้จักกันในชื่อของเทมาเซ็ค (เมืองแห่งทะเล) สิงคโปร์ตั้งอยู่ตรงปลายแหลมมลายู ซึ่งเป็นจุดนัดพบทางธรรมชาติของเส้นทางเดินเรือ เกาะแห่งนี้จึงกลายเป็นจุดแวะพักของเรือเดินสมุทรหลายประเภท ตั้งแต่เรือสำเภาจีน เรืออินเดีย เรือใบอาหรับ และเรือรบของโปรตุเกส ไปจนถึงเรือใบบูจินีส

ในศตวรรษที่ 14 เกาะที่มีขนาดเล็กแต่มีทำเลที่เยี่ยมแห่งนี้ก็ได้ชื่อใหม่ นั่นก็คือ "สิงหปุระ" ("เมืองสิงโต") ตามตำนานเล่าว่า เจ้าชายแห่งศรีวิชัยมองเห็นสัตว์ตัวหนึ่งแต่เข้าใจผิดว่าเป็นสิงโต ชื่ออันปัจจุบันของสิงคโปร์ก็ถือกำเนิดขึ้น

ชาวอังกฤษคือผู้สร้างประวัติศาสตร์ตอนต่อมาของสิงคโปร์ ระหว่างศตวรรษที่ 18 นั้น อังกฤษเล็งเห็นถึงความสำคัญของ "จุดแวะพัก" ทางยุทธศาสตร์ สำหรับซ่อม เติมเสบียง และคุ้มกันกองทัพเรือของอาณาจักรที่เติบใหญ่ของตน รวมถึงเพื่อขัดขวางการรุกคืบของชาวฮอลแลนด์ในภูมิภาคนี้
ในปี ค.ศ.1824 เพียงแค่ห้าปีหลังจากตั้งประเทศสิงคโปร์ในปัจจุบัน ประชากรก็เพิ่มขึ้นจากเดิมเพียง 150 คนจนกลายเป็น 10,000 คน ในปี 1832 สิงคโปร์กลายเป็นศูนย์กลางรัฐบาลของถิ่นฐานช่องแคบปีนัง มะละกา และสิงคโปร์ การเปิดคลองซุเอซในปี 1869 และการเข้ามาของเครื่องโทรเลขและเรือกลไฟทำให้ความสำคัญของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นจนกลายเป็นศูนย์กลางการค้าที่กำลังขยายตัวระหว่างโลกตะวันตกและตะวันออกการตั้งอาณานิคมเป็นการใช้อำนาจของประเทศหนึ่งเหนืออีกประเทศหนึ่ง ส่วนใหญ่แล้วเพื่อหวังผลกำไร ผลกำไรมาจากการตั้งด่านสินค้าในประเทศอาณานิคม ตามประวัติศาสตร์แล้ว เกาะสิงคโปร์ เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวประมงมาเลย์ เป็นสถานที่ที่จับปลาได้ดีเพราะตั้งอยู่ปากแม่น้ำสิงคโปร์ ก่อนที่ชาวยุโรปจะเข้ามาตั้งรกรากอยู่ แต่ในปัจจุบันสิงคโปร์ถูกจดจำเป็นเกาะแห่งเมืองหลวง ชนพื้นเมืองและชาวชนบทจะอาศัยอยู่แถบชายฝั่งและแม่น้ำ ตามประวัติศาสตร์ระบุว่า บริษัท บริติช อินเดีย นำโดย เซอร์ สแตมฟอร์ด ราฟเฟิลส์ เข้ามาตั้งด่านสินค้าบนเกาะทำให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญที่สุดในปี 1989 กองทหารของสิงคโปร์ภายใต้บริษัท บริติช อินเดีย ก็ประสบความสำเร็จด้วย กำลังทหารของประเทศสื่อถึงพลังของประเทศ สิ่งเหล่านี้ทำให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางแห่งความทันสมัยจากความสำเร็จทางด้านการค้าและการทหาร ในขณะเดียวกัน สิงคโปร์ก็เป็นศูนย์กลางอำนาจของประเทศอังกฤษในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การตั้งด่านสินค้าในสิงคโปร์ทำให้เกาะนี้เป็นท่าเรือที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก การมาเข้ามามีอำนาจของอังกฤษในพื้นที่แหลมมาเลย์ในช่วงปี 1920 เปลี่ยนแปลงมาเลย์เป็นแหล่งผลิตยางพาราและดีบุกที่ยิ่งใหญ่ และสินค้าถูกส่งออกผ่านทางเกาะสิงคโปร์ จนกระทั่งปลายศตวรรษที่ 19 สิงคโปร์กลายเป็นศูนย์กลางการบริหารงานสำหรับมลายา จนภายหลังกรุงกัวลา ลัมเปอร์ ถูกประกาศให้เป็นเมืองหลวงของสิงคโปร์ ในปี 1934 รัฐบาลอังกฤษยกเลิกอำนาจควบคุมบริษัท บริติช อินเดีย และเส้นทางสินค้าต่างๆถูกแทรกแซงได้ สิ่งนี้เป็นไปได้เพราะสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมในปี 1842 สนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม คือ สนธิสัญญาต่างๆที่เซ็นยินยอมโดยประเทศเอเชียตะวันออกต่างๆ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี กับมหาอำนาจตะวันตกในช่วง ศตวรรษที่ 20 เป็น นี่ช่วงหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ชาติต่างๆในเอเชียไม่สามารถต้านทานความกดดันด้านกำลังทหารของชาติตะวันตก ที่ใช้ผ่านสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมได้ จึงต้องเซ็นยินยอม

การนำเรือกลไฟมาใช้ขนส่งสินค้า ทำให้การขนส่งเร็วขึ้น และราคาถูกขึ้น เพราะมีความสามารถมากกว่าเรือพายนี่เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การค้าเติบโตในสิงคโปร์ การเปิดใช้คลองสุเอช มีผลต่อการค้าอย่างมาก เพราะช่วยให้การใช้เวลาเดินทาง เช่น จากยุโรป ไปเอเชีย ลดลงอย่างมาก ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสทางการค้าของสิงคโปร์มากขึ้น กิจกรรมทางการค้าที่สร้างผลประโยชน์ให้กับสิงคโปร์ได้แก่ สินค้าที่ผู้ค้านำเข้าและส่งออกสินค้าไม่ต้องเสียภาษี ผลประโยชน์ทางการค้าสำเร็จได้ด้วยการตั้งข้อกำหนดสินค้าและความสำคัญของสินค้า ตัวอย่างเช่น ความต้องการเครื่องเทศในยุโรปรวมกับสินค้าอื่นๆทำให้สิงคโปร์เป็นด่านสินค้าที่สำคัญ สิงคโปร์สร้างผลกำไรโดยติดราคาตลาดสูงกว่าราคาทุน ในปัจจุบันการค้าแบบนี้ถูกแทนที่โดยศุลกากรซึ่งเรียกเก็บภาษีจากสินค้าต่างๆ

จากการที่เศรษฐกิจเจริญเติบโตอย่างมาก ผู้บริหารจากอังกฤษจึงไม่ได้ให้เงินทุนกับเกาะแห่งนี้ ผลที่ตามมาก็คือสุขภาพของประชาชนถูกละเลย และประชาชนชาวสิงคโปร์จึงติดเชื้อต่างๆมากมาย เช่น อหิวาตกโรค และไข้ทรพิษ โรคขาดอาหารกลายเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง และผู้เสพย์ฝิ่นที่เป็นปัญหาสังคม ประชากรเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากและอังกฤษก็ไม่ได้ให้ความสนใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้น จุดมุ่งหมายของการตั้งอาณานิคม คือ ลดความสำคัญของวัฒนธรรมพื้นเมือง และส่งเสริมวัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจของประเทศตนในประเทศอาณานิคม โดยไม่สนใจความยากลำบากของชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในประเทศนั้น การบริหารของอังกฤษนั้นไร้ประสิทธิภาพ สนใจแต่เพียงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเท่านั้น พวกเขาไม่เข้าใจภาษาและขนบธรรมเนียมของชนพื้นเมือง ไม่สนใจที่จะรักษา และช่วยเหลือการพัฒนาสังคมเลย บทความที่เขียนโดย ดาริโอ โฟ ที่ชื่อว่า “ผิวสีดำ และ หน้ากากสีขาว” อธิบายว่าผู้ล่าอาณานิคมไม่เคยช่วยเสริมสร้างประวัติศาสตร์ของประเทศที่ถูกล่า พวกเขาจะเสริมสร้างและแผ่ขยายประวัติศาสตร์ของประเทศแม่ของตน นี่อาจเป็นเหตุผลที่ทำไมประวัติศาสตร์จึงเปลี่ยนแปลงได้ง่ายๆ แต่ละประเทศมีมุมมองต่างกันทางด้านประวัติศาสตร์ ผู้ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับสมัยหลังยุคอาณานิคมมุ่งหมายที่จะยกเลิกมุมมองที่มองประเทศแถบยุโรปเป็นหลักในประวัติศาสตร์ และงานเขียนต่างก็มุ่งหมายที่จะจัดระเบียบประวัติศาสตร์ใหม่และเพิ่มมุมมองที่เท่าเทียมกันเข้าไปให้ผู้อ่านได้รับรู้มากขึ้น กฎของอังกฤษถูกยกเลิกไปในปี 1942 และกองทัพญี่ปุ่นบุกยึดสิงคโปร์ ผลของการบุกเข้ามาของกองทัพญี่ปุ่นในเขตอาณานิคมอังกฤษจึงเกิดการต่อสู้ขึ้น สิงคโปร์เป็นหนึ่งในประเทศที่ต่อต้านฝ่ายอักษะในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กลุ่มประเทศอักษะ ได้แก่ ญี่ปุ่น เยอรมัน และ อิตาลี สิงคโปร์มีฐานกำลังทหารของประเทศอังกฤษอยู่ และถูกขนานนามว่า “ยิบรอลตาแห่งตะวันออก” เป็นเรื่องน่าตกใจอย่างยิ่งที่ญี่ปุ่นเข้ามาบุกยึดได้ภายใน 8-9วัน นั่นคือ ตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 1942 ถึง 15 กุมภาพันธ์ 1942 การต่อสู่นี้เป็นการยอมแพ้อย่างสิ้นเชิงของกองทัพภายใต้บริษัท บริติช อินเดีย เชอร์ชิลให้ความเห็นว่าความล้มเหลวที่เสียสิงคโปร์ให้ญี่ปุ่นเป็นความเสียหานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์อังกฤษ 


ในปี 1965 สิงคโปร์กลายเป็นรัฐอิสระ และประกาศเป็นประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ
เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 1965 ภายหลังในปี 1965 สิงคโปร์ได้เข้าร่วมสหประชาชาติในเดือนกันยายน หลังจากที่สิงคโปร์ได้หลุดพ้นจากการเป็นประเทศอาณานิคมและได้รับอิสระ ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนก็ดีขึ้นอย่างมาก ปัจจุบัน สิงคโปร์อยู่ในประเทศอันดับต้นๆสำหรับนักท่องเที่ยวที่เสาะหาสรวงสวรรค์บนโลกนี้ การลงทุนจากต่างชาติมีมากขึ้น และการเพิ่มผลประโยชน์ให้รับกับมาตรฐานโลกด้านอุตสาหกรรมทำให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรม ด่านสินค้า การศึกษา ความเป็นมหานคร และความทันสมัย ทุกวันนี้สิงคโปร์ได้ส่งเสริมการเป็นประเทศแห่งศิลปะ เชื้อเชิญผู้คนจากต่างประเทศให้เข้ามาเยี่ยมชมได้มากมาย แผนอุตสาหกรรมถูกนำมาปฏิบัติโดย อัลเบิร์ต วินซิมุส นักเศรษฐศาสตร์ชาวดัตช์ และสิงคโปร์ก็ได้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากสังคมที่เป็นระเบียบเรียบร้อยและการวางแผนทางเศรษฐกิจ เกี่ยวกับอัตรา จีดีพี สิงคโปร์อยู่ในอันดับที่5 ของประเทศที่ร่ำรวยที่สุดของโลก เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์

ทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ที่มีการดึงเอาทุนจากเงินสำรองของประเทศออกมาหลายร้อยล้านโดยการอนุญาตของนายกรัฐมนตรี ในส่วนหนึ่งของการฟื้นฟูประเทศเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2009 ภายใต้การควบคุมของรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง สิงคโปร์ คือ นาย เธอร์แมน แชนมูการัตนัม เงินทุนสำรองของสิงคโปร์มีสูงถึง 170.00 ร้อยล้าน ดอลล่าร์ สหรัฐฯ จากผลสำรวจทางเศรษฐกิจพบว่า สิงคโปร์เป็นเมืองที่มีค่าครองชีพแพงเป็นอันดับที่ 10 ของโลก นี่เป็นผลมาจากประชากรสิงคโปร์ซึ่งมีความหลากหลายและเป็นสากล ที่อาศัยอยู่อย่างสามัคคีและมั่งคั่งภายใต้การรวมตัวกันของชนพื้นเมืองชาวจีน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น