วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ຂະບວນການຕໍ່ສູ້ ຂອງແມ່ກະແຣມ ແລະ ພໍ່ກະດວດ Phokadouda

ຂະບວນການຕໍ່ສູ້
ຂອງແມ່ກະແຣມ ແລະ ພໍ່ກະດວດ
Phokadouda



1 ຂະບວນການຕໍ່ສູ້ຂອງແມ່ກະແຣມ.
ເມື່ອພວກລ່າເມືອງຂຶ້ນຝຣັ່ງໄດ້ເຂົ້າຄອບຄອງປະເທດລາວເວົ້າລວມ,ເວົ້າສະເພາະແຂວງສະຫວັນນະເຂດແລ້ວ, ເຂົາກໍ່ເລີ່ມກົດຂີ່ຂູດຮີດປະຊາຊົນຄົນລາວບັນດາເຜົ່າຢ່າງຫນັກຫນ່ວງໂດຍການບັງຄັບຊາວຫນຸ່ມຊາຍສະກັນໄປອອກ

ແຮງງານແບກຫາມສົ່ງຄ່ຽນແລະສ້າງຖະຫນົນຫົນທາງພ້ອມນັ້ນເຂົາຍັງໄດ້ບັງຄັບໃຫ້ເສຍສ່ວຍໄຖ່ການແບບບໍ່ປານີ, ເຂົາໄດ້ຕັງຫລັກການໃຫ້ພວກຊາຍສະກັນ ອາຍຸແຕ່ 18 – 60 ປີ ຕ້ອງເສຍສ່ວຍຜູ້ລະ 6 ກີບ ກັບ 60 ອັດ/ປີ
(ເງິນກີບເກົ່າ) ໃນນີ້:
- ສ່ວຍປະຈຳຕົວ 2 ກີບ 50 ອັດ.
- ສ່ວຍໃຫ້ພໍ່ບ້ານບ້ານແສງ ແລະ ຄ່າໄຖ່ການ 4 ກີບ.
- ສ່ວຍພາສີເຫົ້າ 10 ອັດ.


ຖ້າຜູ້ໃດບໍ່ມີເງິນຄ່າໄຖ່ການ ຕ້ອງໄດ້ໄປເຮັດວຽກສັບພະທຸກ 16 ວັນ, ຫລື 20 ວັນ, ຍ່າງໄປຈາກບ້ານເດີມໃກ້ ຫລື ໄກຕາມຄວາມຈິງ (ເດີນທາງໄປຕາມຈຸດໃຊ້ເວລາ 2 – 3 ມື້) ພ້ອມນັ້ນຕ້ອງໄດ້ຖືເຄື່ອງນຸ່ງນອນ, ເຂົ້າ, ນໍ້າໄປແຕ່ງກິນເອົາເອງ, ສ່ວນສ່ວຍປະຈຳຕົວ 2 ກີບ 50 ອັດ ນັ້ນຂາດບໍ່ໄດ້, ຖ້າໃຜບໍ່ມີຈ່າຍກໍ່ຈະຖືກໂທດຈຳເລັ່ງຈັບໃສ່ຂາໄມ້ໄຜ່ລຳດຽວ, ເມື່ອມີຈຳນວນຮອດສິບຄົນແລ້ວ ເຂົາກໍ່ບັງຄັບໃຫ້ຍ່່າງອ້ອມໂພນເປັນສິບໆຮອບ.

ນອກຈາກການເກັບສ່ວຍໄຖ່ການທີ່ກ່າວມານີ້ແລ້ວປະຊາຊົນລາວກໍ່ຍັງຕ້ອງໄດ້ຖືກເກັບເກນໄປແບກ-ຫາມ, ຄ່ຽນສົ່ງເຈົາຫນ້າທີ່ຝຣັ່ງ,ນາຍພາສາ,ຄົນຮັບໃຊ້,ຄົນແຕ່ງກິນ,ເຄື່ອງນອນ,ອາຫານ,ການກິນແລະອື່ນໆ. ເວລາເຂົາເດີນທາງໄປວຽກແຫ່ງໃດ,ໃຊ້ເວລາຍາວນານປານໃດ ແລະຫ່າງໄກເທົ່າໃດກໍ່ຕາມ້ວນແຕ່ໄດ້ນຳສົ່ງໃຫ້ເຖິງຈຸດທີ່ຫມາຍ.

ຍ້ອນຄວາມທຸກທໍລະມານ ແລະຖືກກົດຂີ່ຂົ່ມເຫັ່ງຂູດຮີດຮອບດ້ານ, ທາງດ້ານວັດຖຸ,ຈິດໃຈ,ຮ່າງກາຍແລະ ເຫື່ອແຮງຄືແນວນັ້ນ, ບວກກັບນ້ຳໃຈຮັກຊາດແລະຮັກອິດສະຫລະພາບອັນດູດດື່ມຂອງປະຊາຊົນບັນດາເຜົ່າທີ່ມີມາຢູ່ແລ້ວ, ມາໃນປີຄສ1900ສະໄຫມທ່ານສາລາແບນ(M.SALABELLE) ເປັນຜູ້ປົກຄອງແຂວງສະຫວັນນະເຂດໄດ້ເກີດມີຂະບວນການຕໍ່ສູ້ຝຣັ່ງຂຶ້ນມາຢູ່ບ້ານບຸ່ງເມືອງຜາບັງນຳໂດຍແມ່ກະແຣມ ຊຶ່ງເປັນນ້ອງສາວຂອງ ອຸປະຮາດເມືອງຜາບັງ.

ຂະບວນການນີ້ປະກອບດ້ວຍປະຊາຊົນບັນເຜົ່າປະມານພັນກວ່າຄົນ ທີ່ມາຈາກຫລາຍເມືອງໂດຍໄດ້ຕັ້ງຜາມໃຫຍ່ສົມຄວນ ເປັນກອງບັນຊາການໃນເນື້ອທີ່ປະມານຫນຶ່ງແຮກຕາ,ມີເສັ້ນທາງເຂົ້າສູ່ຜາມໄຊກວ້າງ60ແມັດ,ແລະ ຍາວຮອດສີ່ກິໂລແມັດ,ພວກທີ່ມາຮ່ວມຂະບວນການນີ້ມີຄວາມເຊື່ອວ່າແມ່ກະແຣມເປັນຜູ້ມີບຸນທີ່ສະຫວັນສົ່ງລົງມາ ເພື່ອນຳພາການຕໍ່ສູ້ປົດປ່ອຍອອກຈາກການເປັນຂ້ອຍຂ້າ-ມ້າໃຊ້ແລະການກົດຂີ່ຂົມເຫັ່ງ, ຂູດເນື້ອເຖືອຫນັງເຊິ່ງໃນສະໄຫມສັກດີນາສະຫຍາມປົກຄອງກໍ່ຫນັກຫນ່ວງຢູ່ແລ້ວ,ບາດເຈົ້ານາຍໃຫມ່ມາ(ຝຣັ່ງ) ຊໍ້າພັດແຮ່ງຫນັກຂຶ້ນຕື່ມ ອັນນີ້ແມ່ນເພິ່ນວ່າ: ”ຫວິດກຳແລ້ວ ພັດມີເວນມາຜ່ານ ຫວິດຫ່າກ້ອມ ພັດພໍ້ຫ່າຫລວງ”


ສະນັ້ນ,ໃຜໆກໍ່ມີຄວາມສະຫມັກໃຈມາຮ່ວມພາລະກິດອັນຍິ່ງໃຫຍ່ໃນເທື່ອນີ້.ເມື່ອຝຣັ່ງຊາບຂ່າວການເຕົ້າໂຮມກຳລັງ ເພື່ອຂັບໄລ່ຕົນແລ້ວ,ພວກເຂົາໄດ້ສົ່ງກຳລັງທະຫານຈາກດົງເຫີ້ຍປະເທດອານາມ ພ້ອມດ້ວຍອາວຸດທີ່ທັນສະໄຫມມາປິດລ້ອມສູນບັນຊາການພ້ອມທັງຍິງປຶນໃຫຍ່ຂຶ້ນຟ້າເພື່ອນາບຄູ່ຄັບໄລ່, ອັນເປັນເຫດໃຫ້ບັນດາຜູ້ມາຮ່ວມຂະບວນແຕກສະລຸຜຸຜ່າຍໂຕນເຂົ້າປ່າ, ສ່ວນແມ່ກະແຣມພ້ອມຜູ້ໃກ້ສິດຈຳນວນຫນຶ່ງກໍ່ຟ້ອນງ້າວໃສ່ສັດຕູຢ່າງບໍ່ສະທ້ານຢ້ານກົວແຕ່ຢ່າງໃດ ໃນທີ່ສຸດທະຫານຝຣັ່ງກໍ່ຈັບຕົວສົ່ງລົງສະຫວັນນະເຂດ.ແລ້ວເອົາຂຶ້ນໄປວຽງຈັນເພື່ອນຳເນີນການກັກຂັງເປັນເວລາສອງປີ ຈຶ່ງໄດ້ກັບຄືນມາຢູ່ບ້ານຜາບັງ

2 ຂະບວນການຕໍ່ສູ້ຂອງພໍ່ກະດວກ

ເມື່ອຂະບວນການຂອງແມ່ກະແຣມຢູ່ບ້ານບຸ່ງຖືກປາມປາມ ແລະ ຈັບກຸມຄຸມຂັງດ້ວຍຝຣັ່ງ ແລະ ລູກມືຂຂອງເຂົາແລ້ວ, ແປວໄຟແຫ່ງຄວາມຄຽດແຄ້ນແລະຄວາມຮັກເຊື້ອແພງຊາດ,ຮັກອິດສະຫລະພາບກໍ່ບໍ່ໄດ້ຖືກດັບສູນລົງໄດ້ ເພາະໃນຈຳນວນພວກທີ່ແຕກອອກຈາກບ້ານບຸ່ງນັ້ນກໍ່ຍັງມີບຸກຄົນຂັ້ນນຳຈຳນວນຫນຶ່ງຊຶ່ງນຳໂດຍ “ພໍ່ ກະດວກ”.

ພໍ່ກະດວກ ຄົນນີ້ຊື່ເດີມຂອງເພິ່ນແມ່ນທ້າວ ອາຍີ່ ເປັນລູກຂອງພໍ່ອາຍັງຊົນເຜົ່າບຣູທີ່ມາຈາກພູພຽງບໍລະເວນ, ແມ່ຂອງເພິ່ນຊື່ວ່ານາງບຸນຖົມເຜົ່າພູໄທ ເຊື້ອສາຍຂອມ ຊຶ່ງມີພພະຍາກະເຕາະເປັນເຈົ້າກົກເຈົ້າເລົ່າຢູ່ບໍລິເວນບ້ານຣູບຣອງ (ພະລູ-ພະລອງ)ເມືອງພີນ,ທ້າວອາຍີ່ເປັນຄົນດຸຫມັ່ນຂະຫຍັນພຽນ, ມີຄວາມມານະອົດທົນເພື່ອແຜ່ຮັກແພງມູ່ເພື່ອນຍາດພີ່ນ້ອງແຕ່ບໍ່ມັນໍກການກົດຂີ່ຂົ່ມເຫັງ,ເກັບເກນແລະ ເສຍສ່ວຍໄຖ່ການ,ເຊິ່ງເມື່ອກ່ອນກໍ່ໄດ້ເສຍສ່ວຍໃຫ້ແກ່ອານາມແລະສະຫຍາມ, ບາດຝຣັ່ງເຂົ້າມາປົກຄອງແອກທີສາມກໍ່ມາເຕັງຄໍຕື່ມອີກ,ອາຍີ່ໄດ້ແຕ່ງງານກັບຍິງຄົນຫນຶ່ງຢູ່ບ້ານດຽວກັນແລະ ໄດ້ທາຍາດຮ່ວມກັນສອງຄົນ,​ຜູ້ກົກຊື່ວ່ານາງກະຫລ່ວຍ ແລະ ຜູ້ທີສອງຊື່ວ່າທ້າວກະດວດ, ຍ້ອນວ່າອາຍີ່ມີນ້ຳໃຈຮັກຊາດ, ຮັກອິດສະຫລະພາບແລະເຄີຍນຳພາຫມູ່ເພື່ອນເຄື່ອນໄຫວສະກັດລັດຕີກອງທະຫານຝຣັ່ງແລະ ລູກແຫລ່ງຕີນມືຂອງພວກເຂົາທີ່ອອກໄປລາດຕະເວນ,ເກັບເກນ,ປາບປາມແລະ ບັງຄັບປະຊາຊົນບັນດາເຜົ່າໃຫ້ສົ່ງໄປຄ່ຽນເປັນກຸລີແບກຫາມຫລືເຮັດວຽກສັບປະທຸກຕ່າງໆ ໂດຍບໍ່ມີຄ່າລາງວັນຕອບແທນຫຍັງ,ໃນປີຄສ 1900 ໄດ້ມີຄົນມາຕິດຕໍ່ຊັກຊວນ ອາຍີ່ ໃຫ້ໄປຮ່ວມກອງປະຊຸມປິດລັບຂອງ “ຜູ້ມີບຸນ”ຈາກສອງຝັ່ງຂອງ ເຊິ່ງຈັດຢູ່ເມືອງເຂັມມະລາດ ພາຍໃຕ້ການເປັນປະທານຂອງ ພະເຂັມມະລາດ ເດດຊະນາລັກ (ເຈົ້າເມືອງເຂັມມະລາດ)ມີຜູ້ຕາງຫນ້າຫລາຍຂະບວນການເຂົ້າຮ່ວມເອີ້ນວ່າ:“ກອງປະຊຸມຜູ້ມີບຸນ” ຜ່ານການແລກປ່ຽນຄວາມຄິດເຫັນກັນແລ້ວ ກອງປະຊຸມ ກໍ່ໄດ້ຕົກລົງ:

· ໃຫ້ປະຊາຊົນຢູ່ຝັ່ງຊ້າຍແມ່ນ້ຳຂອງ ຕໍ່ຕ້ານຝຣັ່ງ.
· ໃຫ້ປະຊາຊົນລາວຢູ່ຝັ່ງຂວາແມ່ນ້ຳຂອງ ຕໍ່ຕ້ານສັກດີນາສະຫຍາມ.
·ໃຫ້ໃຊ້ຮູບການສາສະຫນາໃນການປຸກລະດົມຂົນຂວາຍເບື້ອງຕົ້ນແລ້ວຈຶ່ງກ້າວໄປສູ່ການສ້າງ ກອງກຳລັງປະກອບອາວຸດ.
· ໃຫ້ໃຊ້ລາຍແທງ ແຈກຢາຍໄປທົ່ວທຸກບ່ອນທີ່ມີຄົນລາວ ໂດຍຮຽກຮ້ອງໃຫ້:

1. ກະກຽມຫາອາວຸດ ແລະ ສະສົມສະບຽງອາຫານ.
2. ຈັດຕັ້ງກອງກຳລັງປະກອບອາວຸດພື້ນບ້ານ.
3. ຜູ້ນຳພາຂະບວນໃຫ້ໃສ່ຊື່ວ່າ “ຜູ້ມີບຸນ”

ເຊິ່ງໄດ້ຮັບຄຳສັ່ງຈາກ ພະຍາທຳມິກະຣາດ
ໃຫ້ເລີ່ມລຸກຂຶ້ນພ້ອມກັນໃນກາງເດືອນ 6 ຄສ 1901 (1)
ລາຍແທງ:(ແມ່ນຈານຫລືຂຽນຂໍ້ຄວາມທີ່ຫນ້າຄິດເປັນປິດສະຫນາລົງໃສ່ໃບລານແລ້ວສົ່ງລົງໄປຕາມທ້ອງຖິ່ນຕ່າງໆ ເພື່ອຈຸດປະສົງໃດຫນຶ່ງ). ເນື້ອໃນກອງປະຊຸມຂອງຜູ້ມີບຸນ ຢູ່ເຂັມມະລາດມີດັ່ງນີ້: “ເມື່ອເຖິງກາງເດືອນ 6 ປີ ສະລຸ ຄສ 1901 ຈະເກີດເຫດຮ້າຍໃຫຍ່ຫລວງ ຫີນແຫ່ຈະກາຍເປັນເງິນເປັນຄຳ ຫມາກອຶ ຫມາກແຕງ ຈະກາຍເປັນຊ້າງ, ມ້າ, ຄວາຍດ່ອນ, ຫມູຈະກາຍເປັນຍັກຂຶ່ນມາກິນຄົນ”ທ້າວພະຍາທໍາມິກະຣາດ(ຜູ້ມີບຸນ)ຈະມາເປັນໃຫຍ່ໃນໂລກ ໃຜຢາກພົ້ນຈາກເຫດຮ້າຍນີ້ກໍ່ໃຫ້ຄັດລອກບອກຄວາມລາຍແທງໃຫ້ຮູ້ຕໍ່ໆກັນໄປ ຖ້າໃຜເປັນຄົນບໍລິສຸດບໍ່ເຄີຍທຳຄວາມຊົ່ວໃດໆແລ້ວໃຫ້ເອົາຫີນແຮ່ມາເກັບລວບລວມໄວ້ທ່າທ້າວພະຍາທຳມິກະຣາດຈະ

ມາຊຸບໃຫ້ເປັນຄຳ,ຖ້າຜູ້ໃດເຄີຍທຳຄວາມຊົ່ວຕ່າງໆແລ້ວໃຫ້ພາກັນມາຕັດກຳເສຍໂດຍຈັດພິທີນິມົນພຣະສົງມາຫົດນ້ຳມົນໃຫ້, ຖ້າຢ້ານຕາຍກໍ່ໃຫ້ຂ້າຄວາຍດ່ອນ ແລະ ຫມູເສຍກ່ອນກາງເດືອນ 6 (1)
ການໄປຮ່ວມກອງປະຊູມໃນເທື່ອນີ້, ອາຍີ່ໄດ້ມີໂອກາດພົບກັບບຸກຄົນ ສໍາຄັນຫລາຍທ່ານ ເປັນຕົ້ນ: ອົງແກ້ວ,
ພະຍາຂອມ(ອົງກົມມະດຳ)ຈາກພູພຽງບໍລະເວນ,ຍາທ່ານແກ້ວ,ອົງລ້ານຊ້າງແລະອົງຈັກກະໂລວິຕຸຈາກເມືອງຈຳພອນແລະ ຜູ້ອື່ນໆທີ່ມາຈາກຫລາຍແຫ່ງ,ພວກເພິ່ນໄດ້ກັນປຶກສາຫາລືແລະແຈ້ງສະພາບການຕ່າງໆພາຍໃນທ້ອງຖິ່ນຕົນແລະ ໄດ້ຕົກລົງໃຫ້ຄຳຫມັ້ນສັນຍາວ່າ:ຈະໃຫ້ການຊ່ວຍເຫລືອສະຫນັບສະຫນູນເຊິ່ງກັນແລະກັນ.ອົງແກ້ວແລະ ອົງກົມມະດຳໄດ້ຕົກລົງຈະສົ່ງກອງກຳລັງຈຳນວນຫນຶ່ງມາຊ່ວຍອາຍີ່ເວລາອາຍີ່ເປີດຍຸດທະການບຸກຕີກອງທະຫານຝຣັ່ງ. ເມື່ອກັບມາຮອດວັດປ່າບ້ານເລົ່າຫາດ(ເມືອງຈຳພອນ)ອັນເປັນສໍານັກຂອງຍາທ່ານແກ້ວແລະຍາທ່ານອິນແລ້ວ, ອາຍີ່ກໍ່ເລີຍຕັດສິນໃຈເຂົ້າບັນພະຊາເປັນຕາຜ່າຂາວ, ເພື່ອເປັນການກຳບັງ ແລະ ຫລົບຫລີກ ການຕິດຕາມຈັບກຸມຂອງ
ພວກຝຣັ່ງແລະກໍ່ຈະມີຄວາມສະດວກໃນການເຄື່ອນໄຫວຈັດຕັ້ງປະຕິບັດມະຕິຂອງກອງປະຊຸມ ເຂັມມະລາດ ໃຫ້ເປັນຮູບ
ປະທໍາ.ເມື່ອຊາບຂ່າວວ່າ:ອາຍີ່ມາເຄື່ອນໄຫວຢູ່ເມືອງຈຳພອນບັນດາພີນ້ອງ,ຫມູ່ເພື່ືອນແລະຜູ້ມີຄວາມສັດທາ ໃນຄວາມປີຊາສາມາດຂອງ ອາຍີ່ຈາກບຣູ-ບຣອງ,ສະແລໃຕ້-ສະແລເຫນືອ,ຕັງຫວາຍ-ລໍາທວາຍແລະບ່ອນ

ອື່ນໆກໍ່ໄດ້ຊັກຊວນອວນຕ້ານການຕິດຕາມນຳມາຫາເຊິ່ງໃນນັ້ນມີລູກຊາຍອາຍີ່ຊື່ວ່າ:ທ້າວກະດວກມານໍາດ້ວຍ. ເມື່ອມາຮອດຕາຜ້າຂາວອາຍີ່ກໍ່ໄດ້ແນະນຳໃຫ້ພາກັນຕັ້ງທີ່ຢູ່ອາາໃສແຄມຫນອງກະດັນຊຶ່ງໄດ້ຊື່ວ່າ:ບ້ານຫນອງກະດັນ ເມື່ອກອງທະຫານຝຣັ່ງໄດ້ປາບປາມຂະບວນການຂອງພໍ່ກະດວກແລ້ວເຂົາກໍ່ໄດ້ສັ່ງໃຫ້ຍາຫລວງປຸ້ຍເຈົ້າເມືອງໆຄັນທະບູລີສົບທົບກັບຍາຫລວງເພັດເຈົ້າເມືອງໆຈຳພອນປະກາດລຶບລ້າງບ້ານຫນອງກະດັນແລ້ວໃສ່ຊື່ໃຫມ່ວ່າ:ບ້ານຄຳສີດານັບແຕ່ທ້າຍປີ ຄສ 1903 ມາຈົນເຖິງທຸກວັນນີ້.

ເມື່ອຈັດສັນທີ່ພັກເຊົາຮຽບຮ້ອຍແລ້ວຕາຜ້າຂາວອາຍີ່ກໍ່ໄດ້ດໍາເນີນການເຜີຍແຜ່ພະທໍາຄໍາສອນຂອງພະສຳມາສຳພຸດທະເຈົ້າໂດຍເອົາຫລັກທຳກ່ຽວກັບການປົດທຸກດ້ານຈິດໃຈ ກໍ່ຄືທາງດ້ານວັດຖຸອັນໄດ້ແກ່ປົດປ່ອຍຕົນເອງອອກຈາກການຂົດຂີ່ຂົ່ມເຫັງ,ຂູດເນື້ອເຖືອນຫນັງແລະ ບັງຄັບເກັບເກນເສຍສ່ວຍໄຖ່ການ.

ເມື່ອຊາບຂ່າວວ່າມີ “ຕາຜ້າຂາວ” ຊຶ່ງຣາຊະດອນທ້ອງຖິ່ນໃສ່ຊື່ວ່າ: “ຜູ້ມີບຸນ” ຈະມາປົດປ່ອຍອອກຈາກຄວາມທຸກຍາກ, ຊາວທ່າມ່ວງ, ສະຄຶນ, ແກ້ງກອກ, ກະດານ, ເລົ່າຫນາດ, ຫ້ວຍຊາຍ ແລະ ຈາກບ້ານອື່ນໆ ໃນບໍລິເວນນັ້ນລວມມີຫ້າຕາແສງ ກໍ່ມີຄວາມເຫລື່ອມໃສໃຈສັດທາໃນຕົວ“ຜູ້ມີບຸນ”ເມື່ອຮູ້ເຖິງຈຸດປະສົງອັນແທ້ຈິງແລ້ວ,ບັນດາບຸກຄົນເຫລົ່ານັ້ນ ກໍ່ຍິງມີຄວາມກະຕືລືລົ້ນຢາກມີການປະກອບສ່ວນເຂົ້າເປັນກ້ອນກຳລັງ,ຍ້ອນວ່າຝູງຊົນໃນທ້ອງຖິ່ນນີ້ກໍ່ມີເລືອດນັກສູ້ແລະ ຄວາມຄຽດແຄ້ນເປັນເດີມພັນຢູ່ແລ້ວ.ນອກຈາກປະຊາຣາສະດອນຊາວໄຮ່ນາສາມັນແລ້ວກໍ່ຍັງມີອາດຍາມາດມະນີວົງ ຕາແສງເລົ່າຫນາດ,ອາດຍາອຸປະສິດຕາແສງແກ້ງກອກພ້ອມອີກສາມຕາແສງໃນບໍລິເວນໃກ້ຄຽງທີ່ໄດ້ຮັບຍົດຖາບັນດາສັກ ແລະມີຖານະຄອບຄົວທີ່ດີຢູ່ແລ້ວແຕ່ກໍ່ພ້ອມກັນສະຫມັກໃຈແລະຊ່ວຍກັນຂົນຂວາຍປຸກລະດົມເອົາປະຊາຣາສະດອນ ເຂົ້າຮ່ວມຂະບວນການຂອງຕາຜ້າຂາວອາຍີ່.ເມື່ອເຫັນວ່າມີກ້ອນກຳລັງຫລາຍແລ້ວ ຕາຜ້າຂາວອາຍີ່ກໍ່ໄດ້ລາສິກຂາຈາກເພດພົມມະຈັນອອກສູ້ຄອງຄະລາວາດເພື້ອຫລີກຈາກການຕ້ອງອາບັດຂອງວິໄນສົງ, ເມື່ອເພິ່ນສິກອອກແລ້ວ, ຊາວບ້ານກໍ່ເອີ້ນເພິ່ນວ່າ “ພໍ່ກະດວດ” ຍ້ອນເພິ່ນມີລູກຊາຍຕິດມານຳຊື່ວ່າ: ທ້າວກະດວດ.

ເພິ່ນນໍາພາຕັ້ງຜາມໄຊຫລັງໃຫຍ່ຂຶ້ນເພື່ອເປັນກອງບັນຊາການຢູ່ລະຫວ່າງບ້ານຫນອງ - ເລົ່າຫນາດ -ກະດານ ແລະ ຫນອງກກະດັນຫ່າງຈາກແກ້ງກອກໄປທາງທິດຕາເວັນຕົກສ່ຽງໃຕ້ປະມານ 6 – 7 ກິໂລແມັດ, ກອງປະຊຸມເທື່ອທໍາອິດ ໄດ້ໄຂຂຶ້ນໃນມື້ຂຶ້ນ 3 ຄໍ່າເດືອນ 3 ປີ ສະລຸ ພສ 2444, (ຄສ 1901) ໂດຍພາຍໃຕ້ການເປັນປະທານຂອງພໍ່ກະດວດ, ພາຍຫລັງໄດ້ຮັບຟັງພໍ່ກະດວດກ່າວເຖິງຈຸດປະສົງວ່າ:ຈະດຳເນີນການຕໍ່ສູ້ຝຣັ່ງຜູ້ມາກົດຂີ່ຂົມເຫັງແລ້ວ, ທີ່ປະຊຸມກໍ່ມີຄວາມຫ່າວຫັນແລະເຫັນດີເຫັນພ້ອມຈາກນັ້ນຈຶ່ງໄດ້ຕົກລົງມອບຫມາຍຫນ້າທີ່ຄວາມຮັບຜິດຊອບຄືດັ່ງນີ້: ນາຍອົ້ນຄົນບ້ານ ກະດານໃຫ້ເປັນເຈົ້າອົ້ນຮັບຜິດຊອບກຳລັງພົນ ໂດຍມີອົງຂຽວ, ອົງເທັ້ງຄົນບ້ານ ຫນອງກະດັນ ເປັນຜູ້ຮອງ, ຊ່ວຍຂົນຂວາຍປຸກລະດົມເອົາກຳລັງເຂົ້າມາຕື່ມ, ຕັ້ງທ້າວສີໂຫຄົນບ້ານ ເລົ່າຫນາດ ຄຸມທະຫານມ້າ, ຕັ້ງທ້າວໄຊຍະມຸງຄຸນ ຄົນບ້ານ ນາຄູເປັນພະລາທິການ ແລະ ຮັບຜິດຊອບຄັງແສງ (ເຮັດອາວຸດ, ຫອກ, ຫລາວ, ງ້າວ, ປືນແກັບ, ປືນເພີງ, ປືນສາມໂປ້ງແລະສະສົມສະບຽງອາຫານ)ຍາທ່ານແກ້ວສົມເດັດອິນເປັນຜູ້ເຮັດກະຕຸດຄາຖາແລະ ຊອກຫາເຄື່ອງແຄ້ວຂອງຄົງປະກອບໃຫ້ແກ່ບັນດານັກຮົບ ເພື່ອອິດສະຫລະພາບ, ສ່ວນພໍ່ກະດວດເອງ ເປັນຜູ້ບັນຊາການສູງສຸດ ເຊິ່ງປະກອບດ້ວຍຄະນະເສນາທິການທີ່ມາຈາກພູພຽງບໍລະເວນແລະຝັ່ງຂວາແມ່ນ້ຳຂອງອັນໄດ້ແກ່ ຜູ້ຕາງຫນ້າອົງແກ້ວອົງບຸນຈັນ, ອົງເຫລັກ, ອົງທອງ, ພາກສ່ວນມາຈາກເມືອງຊານຸມານ (ກະດານຄຳໂນ) ກໍ່ມີອົງຈັກກະໂລວິຕຸ ແລະ ອົງລ້ານຊ້າງການລະດົມຂົນຂວາຍກຳລັງພົນ, ການຝຶກແອບວິທີການສູ້ຮົບ ແລະ ການປະກອບອາວຸດດຳເນີນມາໄດ້ປີປາຍ, ພໍຮອດເດືອ6ຂຶ້ນ3 ຄ່ຳ ປີຂານ ພສ 2445 (ວັນທີ 19 ເມສາ ຄສ 1902) ກອງທັບເພື່ອອິດສະຫລະພາບຂອງພໍ່ກະດວດ, ເຊິ່ງມີກຳລັງພົນເກືອບ 3.000 ຄົນ, ມີປືນແກັບ, ປືນເພີງ ແລະ ປືນສາມໂປ້ງລວມແລ້ວ 600 ກະບອກເຫລືອນັ້ນຖືຫອກ ດາບ ແລະ ງ້າວ. ຍ່າງອອກຈາກໂຄກຜາມພຽງຜ່ານໄປເຂົ້າດົງຫນອງກະດັນຕັດໄປໃສ່ບ້ານ ລະໂອງ -ນາຄໍາ,ນາໃຕ້ແລະສົ້ມປ່ອຍ ຮອດຫົວເຊັງໃນມື້ຂຶ້ນ.7.ຄ່ຳເດືອນ.6.ພສ.2445.(ວັນ.ທີ23.ເມສາ.ຄສ.1920)ກອງທັບພໍ່ກະດວດ ກໍ່ໄດ້ບຸກເຂົ້າເຮືອນຮັງຂອງສັດຕູ, ພໍ່ກະດວດ ເຊິ່ງເປັນແມ່ທັບໃຫຍ່ ໄດ້ຂຶ້ນມ້າອອກຫນ້າ, ເຈົ້າອົ້ນຄຸມທະຫານຢູ່ດ້ານຫລັງ, ອົງຂຽວຄຸມຢູ່ດ້ານຂ້າງຂວາ, ອົງເທັ້ງຄຸມຢູ່ຂ້າງຊ້າຍ.

ຝ່າຍສັດຕູມີທະຫານທີ່ມາຈາກອານາມຈໍານວນ3ກອງຮ້ອຍແລະແບ່ງເປັນ2ຈຸ,ຈຸທີ1ມີ2 ກອງຮ້ອຍຕັ້ງປະຈັນບານຢູ່ທາງຫນ້າ,ສ່ວນ1ກອງຮ້ອຍຂວ້າມຫ້ວຍລົງກົງທາງກ້ຳເຫນືອ ລັດໃສ່ດົງດຳດວນຫລອນຕີຕັດຫລັງທະຫານ “ເຈົ້າມີບູນ”.

ເມື່ອຂ້ວາມຫ້ວຍລົງກົງແລ້ວພໍ່ກະດວກລົງຈາກຫັລງມ້າທັງຂົ່ມຄາຖາສ່ວນຕົວວ່າ:ອັດຕີຕັນ ໂຕນະໂມຕັນຕູພະວະຕູຕັນ ໂມນະໂຂຕັນຕິສູດໄດ້ຫົກຫລົບແລ້ວທືບຕີນສາມບາດ, ຈາກນັ້ນທັງຫມົດກໍ່ພາກັນສູດຄາຖາວ່າ: ສາທຸໂມສາ,ທຸສາໂມສາພ້ອມທັງແລ້ນຕະລຸມບອນເຂົ້າຢ່າງບ່ຄິດເຖິງຊິວິດຄິດແຕ່ຄວາມຄຽດແຄ້ນແລະ ຢາກດັບສູນສັດຕູເປັນເດີມພັນ.ການຕໍ່ສູ້ຢ່າງອົງອາດກ້າຫານຂອງນັກຮົບເພື່ອອິດສະຫລະພາບຄັ້ງນັນແມ່ນດຸເດືຶອດ ແຕ່ມັນເປັນການປະລອງຍຸດແບບບໍ່ກ້ຳເກິ່ງທາງດ້ານອາວຸດ ຍຸດໂທປະກອນ, ເນື່ອງຈ່າກວ່າຝ່າຍນຶ່ງມີອາວຸດແບບປະຖົມປະຖານ, ແຕ່ອີກຝ່າຍນຶ່ງພັດມີກຳລັງໄຟທີ່ທັນສະໄຫມແລະທາງສິລະປະຍຸດທະວິທີກໍ່ເຫນືອກວ່າຈຶ່ງເຮັດອີກຝ່າຍນຶ່ງ ມີການລົ້ມຕາຍເປັນຈຳນວນຫລວງຫລາຍ.ເມື່ອສະພາບການຜັນແປໄປໃນທາງລົບໃຫ້ແກ່ຝ່າຍຕົວຄືແນວນັ້ນ, ຜູ້ບັງຄັບບັນຊາຈຶ່ງໄດ້ມີຄຳສັງໃຫ້ນັກຮົບຖອນທັບ ແລະກັນຕີຜ່າວົງປິດລ້ອມຂອງສັດຕູກັບຄືນຖານທີ່ຫມັ່ນແລ້ວໄປຫລົບຢູ່ດົງກວາງໂຕນ (ເຂດເມືອງ ຈຳພອນ)

Cr:https://sites.google.com/site/historysavannaketinlaos/lao-6
Cr:VDO LAODER STUDIO
https://www.youtube.com/watch?v=-o_jcSostdE

วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ทำไมต้อง “สถาน”

ทำไมต้อง “สถาน”


“อัฟกานิสถาน ปากีสถาน คีร์กีซสถาน ทิจิกิสถาน คาซัคสถาน อุซเบกิสถาน เติร์กเมนิสถาน”
หลายท่านคงสงสัยมานานแล้วว่าทำไมประเทศเหล่านี้จึงต้องมีคำว่า “สถาน” ต่อท้ายชื่อของประเทศ แต่ การหาคำตอบไม่ใช่เรื่องง่ายนักเพราะประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วล้วนเป็นประเทศที่เกิดขึ้นมาใหม่ โดย 5 ประเทศหลังเป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียกลางที่เป็นส่วนหนึ่งของอดีตสหภาพโซเวียต และเพิ่งสถาปนาความสัมพันธ์กับไทยเมื่อปี 2535 ดังนั้น เกร็ดความรู้ของประเทศเหล่านี้จึงไม่มีมากนัก

เนื่องจากการที่ เราคงจะได้ยินชื่อและมีการปฏิสัมพันธ์กับประเทศเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น เพราะประเทศเอเชียกลางได้ชื่อว่าเป็นแหล่งพลังงานของโลกในอนาคต (คาซัคสถาน เติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน) ทั้งประเทศเหล่านี้ยังเป็นประเทศที่มีบทบาทในเวทีการต่างประเทศเพิ่มขึ้น อาทิ คาซัคสถานรับตำแหน่งประธาน OSCE เมื่อเดือนมกราคม 2553 และจะเป็นประธานการประชุมระดับรัฐมนตรีของ OIC ในปี 2554 ทาจิกิสถานเป็นประธานการประชุมระดับรัฐมนตรี OIC ในเดือนพฤษภาคม ศกนี้ ส่วนอุซเบกิสถานจะเป็นเจ้าภาพการประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชียในเดือนพฤษภาคม ศกนี้ กลุ่มงานเอเชียกลางขอ ไขข้อข้องใจถึงที่มาของคำว่า “สถาน” ที่ต่อท้ายชื่อประเทศดังกล่าว ดังนี้

คำว่า “สถาน” ( -Stan) เป็น วิภัตติหรือคำเสริมท้าย ( Suffix) แปลว่า สถานที่ของ ( “Place of” ) ในภาษาเปอร์เชีย ซึ่งคล้ายคลึงกับภาษาพาสตุน ภาษาอินโดอารยัน และสันสกฤต ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความหมายในทำนองเดียวกันคือใช้บ่งบอกว่าเป็น “สถานที่”

คำเสริมท้ายนี้ได้ปรากฏอยู่ในชื่อ หรือการเรียกสถานที่ โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชียกลางและเอเชียใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นกำเนิดของชาวอินโด เช่น คำว่า “golestan” ซึ่งแปลว่า สวนกุหลาบ (place of roses, rose garden) และต่อมาเมื่อกลุ่มคนที่ใช้ภาษาในตระกูลเปอร์เชียก่อตั้งประเทศของตนขึ้น ชื่อประเทศของ กลุ่มคนเหล่านั้นก็จะมีรากศัพท์ทางภาษาที่คล้ายคลึงกันโดยมีพื้นฐานมาจากภาษาในแถบเปอร์เซีย อาทิ

Afghanistan:
อัฟกานิสถาน แปลว่า ดินแดนของชาวอัฟกัน (Land of Afghans) โดยคำว่า Afghans มาจากชื่อของเผ่าภาษาสันสกฤตคือ “Aśvaka (अश्वक)” ซึ่งแปลว่า นักขี่ม้า และเมื่อรวมกับคำเสริมท้ายในภาษาเปอร์เชีย “สถาน (-stan)” ซึ่งได้กล่าวไปแล้วว่าแปลว่าสถานที่ ดังนั้น อัฟกานิสถาน จึงแปลได้ว่า “ดินแดนแห่งนักขี่ม้า”

Kazakhstan:
คาซัคสถาน แปลว่า ดินแดนของชาวคาซัก (Land of Kazakhs) โดยคำว่า Kazakh ไม่มีความหมายที่แน่นอนโดยสามารถแปลได้หลายนัย เช่น อิสระภาพ ความกล้าหาญ กระด้างกระเดื่อง คนเตร็ดเตร่ ส่วนในภาษารัสเซียคำว่า kazak (казак) มีความหมายเหมือนคำว่า “Cossack”ในภาษาอังกฤษซึ่งแปลว่า นักผจญภัย หรือคนรักอิสระ ดังนั้นเมื่อรวมกับคำเสริมท้ายในภาษาเปอร์เซีย “สถาน” (-stan) จึงสามารถแปลชื่อประเทศ คาซัคสถานได้ว่า “ดินแดนแห่งผู้รักอิสระ”

Kyrgyzstan:
คีร์กีซสถาน เกิดจากการผสมคำสามคำคือ “kyrg” ซึ่งแปลว่า 40 “yz” ซึ่งแปลว่า เผ่า และ stan ซึ่งแปลว่า ดินแดน ดังนั้นจึงแปลได้ว่า “ดินแดนแห่ง 40 ชนเผ่า ( Land of forty tribes)” นอกจากนี้คำว่า “kyz” ยังสามารถแปลในอีกความหมายหนึ่งคือ เด็กผู้หญิง (girls) ดังนั้นจึงสามารถแปลความหมายได้อีกความหมายคือ “ดินแดนแห่ง 40 สาวน้อย (Land of forty girls)”

Tajikistan:
ทาจิกิสถาน (Tajikistan) หรือ ชื่อเดิม คือ โทจิกีสเทิน (Tojikiston) แปลว่า ดินแดนของชาวทาจิกส์ (Land of the Tajiks) โดย ประเทศทาจิกีสถานเป็นเพียงประเทศเดียวในสหภาพโซเวียตซึ่งพูดภาษาเปอร์เซียและประวัติศาสตร์ของชาติสามารถสืบย้อนไปถึงสมัยจักวรรคิเปอร์เซีย โดยรากศัพท์ของ “toj” ซึ่งมาจากภาษาเปอร์เซียมีความหมายว่า “มงกุฏ, เกียรติ (crown)” ต่อมาในสมัยของสหภาพโซเวียต “toj” ก็ได้แผลงเป็น “tojik” ดังนั้น “Tajikistan” จึงแปลได้ว่า “ดินแดนแห่งผู้คนมีเกียรติ (Place where people have crowns)” แต่ยังมีรากศัพท์ที่น่าจะเป็นไปได้อีกแนวทางหนึ่งคือในธิเบตมีคำว่า Tag Dzig ซึ่งออกเสียงว่า ทาจิส (Tajik) โดยเป็นคำที่ชาวธิเบตใช้เรียกชาวเปอร์เซีย แต่ในภาษาธิเบตคำดังกล่าวมีความหมายคือ เสือ-เสือดาว นี่จึงอาจเป็นเหตุผลที่ตำนานธิเบตส่วนใหญ่เกี่ยวกับเพื่อนบ้านชาวตะวันตกจะมีลักษณะเป็นเสือ หรือเสือดาว

Turkmenistan:
เติร์กเมนิสถาน มาจากส่วนประกอบของคำคือ Turkmen และคำเสริมท้ายคือ “สถาน (-stan)” ดังนั้น Turkmenistan จึงสามารถแปลได้ว่า “ดินแดนของชาวเติร์กเมนส์ ( Land of the Turkmen people)”

Uzbekistan:
อุซเบกิสถาน มาจากส่วนประกอบของคำ 3 คำคือ “uz” ซึ่งแปลว่า ตนเอง “bek” ซึ่งแปลว่า ผู้บังคับการ, หัวหน้า ในภาษาของชาว Sogdian ต้นตระกูลของชาวอิหร่าน และ “stan” ในภาษาเปอร์เซีย ดังนั้น Uzbekistan จึงมีความหมายว่า “ดินแดนแห่งผู้ปกครองตนเอง (Land of the Self Masters) ”

Pakistan:
ปากีสถาน มาจากคำสองส่วนคือ “Paki” ซึ่งแปลว่าบริสุทธิ์ ( the pure ) มีที่มาจากภาษาอูรดู และ “stan” ในภาษาเปอร์เซีย ดังนั้น ปากีสถาน (Pakistan) จึงมีความหมายว่า “ดินแดนของผู้บริสุทธิ์” ดังนั้นคำว่า “สถาน” ในชื่อประเทศของหลายๆประเทศ จึงมีความหมายในเชิงบ่งบอกความเป็น สถานที่ เหมือนๆกัน จึงสามารถชี้ให้เห็นถึงความเป็นมาวัฒนธรรมของชาติเหล่านั้นว่า เคยมีประวัติศาสตร์วัฒนธรรม ประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกันมาก่อน แม้ปัจจุบันชาติบางชาติจะมีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นเป็นของตนเองก็ตาม

อ้างถึง: ข้อมูลจาก Wikipedia

วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ประวัติศาสตร์ชาติลาว 2 อาณานิคมของฝรั่งเศส

ประวัติศาสตร์ชาติลาว (2)
อาณานิคมของฝรั่งเศส

อาณานิคมของฝรั่งเศส (1893-1954)
ศตวรรษที่ 19 เป็นช่วงที่อังกฤษและฝรั่งเศสก้าวขึ้นเป็นเจ้าอาณานิคม ออกล่าเมืองขึ้นทั่วโลก ในเอเชีย อังกฤษใช้กำลังยึดเอาประเทศอินเดีย พม่า อินโดนีเซีย มลายู สิงคโปร์ และแผ่อิทธิพลเข้าสยาม ส่วนฝรั่งเศสเข้ายึดเขตตะวันออกของภาคใต้เวียดนามในปี 1862 และกัมพูชาในปี 1863

ปี 1866 ฝรั่งเศสส่งคณะนำโดย Doudart de Lagree และ Francis Garnier สำรวจลำน้ำโขงขึ้นไปถึงประเทศจีน
ปี 1887 ภายหลังยึดดินแดนประเทศเวียดนามและกัมพูชาได้ทั้งหมดแล้ว ฝรั่งเศสแต่งตั้ง Auguste Pavie เป็นกงสุลประจำราชวังหลวงพระบาง เตรียมการยึดครองลาวที่เป็นประเทศราชของสยาม พร้อมกันนั้น ฝรั่งเศสก็ได้ยุยงพวกฮ่อธงดำธงแดงก่อความวุ่นวายขึ้นในเขตสิบสองจุไท แล้วฉวยโอกาสส่งกองทหารของตนยึดครองเขตนั้นโดยอ้างว่า 'ปราบฮ่อ' พวกฮ่อได้ปล้นสะดมลงมาทางแขวงหัวพันและเชียงขวาง จนวันที่ 10 มิถุนายน 1887 เข้าปล้นสะดมนครหลวงพระบาง Pavie ฉวยโอกาสพาเจ้าอุ่นคำพร้อมวงศานุวงศ์ลงเรือไปลี้ภัยอยู่แก้งหลวง เขตเมืองปากลาย สร้างความนิยมให้ตนเอง ฝ่ายพวกฮ่อธงดำธงแดงได้ปล้นสะดมต่อลงมาทางเวียงจันทน์ ทำลายธาตุหลวง ธาตุดำ เพื่อค้นหาสมบัติ ในเวลานั้นฝ่ายสยามส่งกองทหารภายใต้การบัญชาของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ขึ้นไปปราบฮ่อ ฝ่ายฝรั่งเศสก็ขนทหารของตนเข้าไปในลาวเช่นกัน โดยแบ่งเป็น 3 ปีก ปีกหนึ่งจากกัมพูชาผ่านเมืองเชียงแตงตีเอาจำปาสัก ปีกสองเข้าทางกิ่งลาวบาวข้ามชายแดนภูหลวงตีเอาสะหวันนะเขต และปีกสามจากดงเฮียตีเอาคำม่วน

แม้อาณาจักรลาวล้านช้างตกเป็นเมืองขึ้นของสยามตั้งแต่ 1779 แต่มีบางเขตเช่น เมืองพวน ภาคตะวันออกของแขวงคำม่วน และแขวงสะหวันนะเขต ตกอยู่ในอิทธิพลของเวียดนาม เมื่อฝรั่งเศสยึดเอาประเทศเวียดนามแล้ว จึงถือว่าประเทศลาวต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของตนเช่นเดียวกัน เมื่อเป็นดังนั้น จึงเกิดการขัดแย้งระหว่างฝรั่งเศสกับสยาม ทั้งสองฝ่ายต่างขนกองทหารเข้าไปในลาวเพื่อรักษาเมืองขึ้นของตนไว้ และเกิดการปะทะกันในเดือนกรกฎาคม 1893 (พ.ศ. 2436) ที่บ้านแก้งเจ็ก แขวงคำม่วน ทหารฝรั่งเศสล้มตายจำนวนหนึ่ง ฝรั่งเศสจึงยื่นบันทึกเกี่ยวกับกรณีพิพาทบ้านแก้งเจ็ก ขู่บังคับให้สยามชดใช้ค่าหัวทหารฝรั่งเศสที่ตาย ให้สยามถอนทหารออกจากลาวภายใน 48 ชั่วโมง และให้ยกดินแดนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขงแก่ฝรั่งเศส หาไม่ ฝรั่งเศสจะส่งเรือรบยิงถล่มกรุงเทพฯ เมื่อสยามไม่ตอบสนองคำขู่ ฝรั่งเศสจึงส่งเรือรบเข้าอ่าวไทยจนถึงปากน้ำเจ้าพระยา เกิดการยิงต่อสู้กัน เรือรบฝรั่งเศสสามารถฝ่าแนวป้องกันของสยามเข้าไปถึงกรุงเทพฯ หันปากกระบอกปืนเข้าหาพระบรมมหาราชวัง วันที่ 3 ตุลาคม 1893 (พ.ศ. 2436) รัชกาลที่ 5 ต้องเซ็นสัญญายกดินแดนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส เหตุการณ์นี้เรียกว่า 'วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112'

ต่อมาสยามต้องยกดินแดนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศสในปี 1904 (พ.ศ. 2447) และปี 1907 (พ.ศ. 2450)

ประเทศลาวเปลี่ยนจากประเทศราชของสยามเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส

ฝรั่งเศสแบ่งแยกดินแดนอินโดจีนที่ตนยึดไว้ออกเป็น 5 แคว้น ได้แก่ เวียดนามถูกตัดเป็น 3 แคว้น คือ ภาคเหนือเรียกว่า Tonkin มีเมืองหลวงอยู่ Hanoi ภาคกลางเรียกว่า Annam มีเมืองหลวงอยู่ Hue และภาคใต้เรียกว่า Cochinchina มีเมืองหลวงอยู่ Saigon ส่วนกัมพูชาและลาว จัดเป็นอีก 2 แคว้น ทั้ง 5 แคว้นนี้มีผู้สำเร็จราชการใหญ่เป็นผู้ปกครอง สำนักงานใหญ่อยู่ Hanoi ขึ้นกับกระทรวงอาณานิคมของฝรั่งเศสที่ปารีสโดยตรง แต่ละแคว้นมีผู้สำเร็จราชการ กองทหาร ตำรวจ และตุลาการ เป็นเครื่องมือเผด็จการ และเพื่อปราบปรามพวกรักชาติต่อต้าน ฝรั่งเศสได้สร้างคุกที่เกาะกวนดาว นอกชายฝั่งทะเลเวียดนาม สำหรับคุมขังนักโทษการเมือง

ในลาว ฝรั่งเศสแบ่งการปกครองเป็น 2 ส่วนต่างกันคือ 'ประเทศลาวในอารักขา' และ 'ประเทศลาวเมืองขึ้น' ประเทศลาวในอารักขาได้แก่อาณาจักรหลวงพระบาง มีเจ้ามหาชีวิตเป็นประมุขและมีรัฐบาลที่มีชื่อว่า 'หอสนามหลวง' บริหารประเทศภายใต้การควบคุมของข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศสประจำราชสำนัก ส่วนประเทศลาวเมืองขึ้น ขึ้นกับผู้สำเร็จราชการใหญ่ประจำอินโดจีนที่ Hanoi ในเวลานั้นประเทศลาวแบ่งออกเป็น 10 แขวง แต่ละแขวงมีคนฝรั่งเศสเป็นเจ้าแขวงเรียกว่า commissaire เลือกชนชั้นศักดินาจำนวนหนึ่งมาประกอบเป็นสภาท้องถิ่น

เจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสมิได้ตั้งใจให้คนลาวได้รับประโยชน์จากการพัฒนาใดๆ การยึดครองเพียงเพื่อกอบโกยทรัพยากร อาทิ ตะกั่ว ไม้สัก ครั่ง ด้านกสิกรรม ได้จับจองดินดอนที่อุดมสมบูรณ์ เช่น ภูเพียงบอละเวนที่คลุมเนื้อที่ 20,000 เฮกตาร์ เป็นแหล่งปลูกพืชอุตสาหกรรม ได้แก่ กาแฟ ชา เป็นต้น บรรดาตัวเมืองที่มีคนฝรั่งเศสอยู่ จึงมีการสร้างโรงไฟฟ้า น้ำประปาไว้จำนวนหนึ่ง เพื่อใช้กันเอง นอกจากนี้ ยังบังคับเกณฑ์แรงงานชาวลาวในการสร้างทางอย่างน้อยคนละ 60 วัน ไม่มีค่าจ้าง ไม่มีอาหารให้ ยิ่งกว่านั้น ประชาชนยังต้องเสียส่วย ทั้งส่วยค่าหัว ส่วยแรงงาน เสียค่าหัวสัตว์ที่ครอบครอง ช้าง ม้า วัว ควาย ด้านวัฒนธรรมและสังคม การศึกษาเป็นแบบเมืองขึ้น ให้เรียนเป็นภาษาฝรั่งเศส ไม่ให้ความสนใจกับภาษาลาว งบประมาณการศึกษามีเพียงเล็กน้อย ทั้งประเทศมีโรงเรียนเพียง 2 หลัง หลังหนึ่งอยู่หลวงพระบาง อีกหลังหนึ่งอยู่เวียงจันทน์ ด้านสุขภาพ มีโรงพยาบาลใหญ่เพียงแห่งเดียวที่เวียงจันทน์ และโรงพยาบาลขนาดเล็ก 4 แห่ง อยู่หลวงพระบาง ท่าแขก ปากเซ และสะหวันนะเขต ซ้ำโรงพยาบาลรับใช้เฉพาะพวกฝรั่งเศสและศักดินา ส่วนชาวลาวทั่วไปเข้าไม่ถึงบริการ

การล่าเมืองขึ้น ยึดเอาแผ่นดินลาว แบ่งแยก ปราบปราม เก็บเกณฑ์ และกดขี่ขูดรีดประชาชนลาวอย่างโหดเหี้ยมของฝรั่งเศส ผลักดันให้คนลาวที่มีใจรักชาติรักความเป็นเอกราช ไม่ยอมจำนน ได้ลุกขึ้นจับอาวุธต่อสู้ ขบวนที่เด่นได้แก่

ขบวนต่อสู้ของพ่อกะดวด (1901-1903) พ่อกะดวดเป็นลาวเทิง อยู่บ้านคันทะจาน เมืองคันทะบุรี แขวงสะหวันนะเขต ได้รวบรวมกำลังผู้ต่อต้านฝรั่งเศสขึ้นที่บ้านโพนสีดา เมืองจำพอน แขวงสะหวันนะเขต เข้าโจมตีค่ายทหารที่เมืองสองคอน ต่อมาเข้าปิดล้อมเมืองสะหวันนะเขต หากกองทหารฝรั่งเศสมีกำลังและอาวุธเหนือกว่า กำลังของพ่อกะดวดจึงต้องล่าถอยและถูกกวาดล้าง ที่สุดพ่อกะดวดถูกจับได้และถูกทุบตีทรมานจนถึงแก่ความตาย

ขบวนต่อสู้ขององค์แก้ว และองค์กมมะดำ (1901-1937) เคียงคู่กับขบวนต่อสู้ทางแขวงสะหวันนะเขตของพ่อกะดวด ทางภาคใต้ของลาว จากภูหลวงชายแดนเวียดนามถึงฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขง เขตอุบลราชธานี ขบวนต่อสู้ภายใต้การนำขององค์แก้ว รวบรวมลาวเทิงเผ่าต่างๆ เขตที่มั่นภูเพียงบอละเวน เข้าต่อสู้กับฝรั่งเศสในลักษณะกองโจร ฝ่ายฝรั่งเศสไม่สามารถปราบปรามได้ จนปี 1907 จึงใช้อุบายไกล่เกลี่ย ให้เจ้าราชสะดาไน (พ่อเจ้าบุญอุ้ม) เชิญองค์แก้วมาเจรจากับฟรังเดอแล ผู้แทนฝรั่งเศส ที่วัดร้างกลางเมืองสาละวัน ขณะเจรจานั้น ฟรังเดอแลชักปืนยิงองค์แก้วเสียชีวิต หลังองค์แก้วถูกสังหาร องค์กมมะดำได้นำขบวนต่อสู้แทนและสามารถขยายวงเข้มแข็งยิ่งขึ้น ต้นปี 1936 ฝรั่งเศสระดมกำลังจากเขตต่างๆ ทั้งอินโดจีนเข้าตีเขตภูเพียงบอละเวน ในที่สุดองค์กมมะดำเสียชีวิตในการรบกลางที่มั่นภูหลวง ทำให้ขบวนต่อสู้ทางภาคใต้ของลาวสูญสลายไป

ขบวนต่อสู้ของเจ้าฟ้าปาไจ (1918-1922) ทางภาคเหนือก็เกิดขบวนต่อสู้ของลาวสูงโดยการนำของเจ้าฟ้าปาไจ เริ่มที่เมืองซ่อน แขวงหัวพัน แล้วลามไปยังแขวงเชียงขวาง แขวงหลวงพระบาง และภาคตะวันตกตอนเหนือของเวียดนาม การเคลื่อนไหวแบบกระจายอยู่ทุกแห่งของขบวนต่อสู้ทำให้ฝรั่งเศสไม่อาจเอาชนะได้ ฝรั่งเศสจึงใช้วิธีส่งสายเพื่อลอบสังหารเจ้าฟ้าปาไจ ในที่สุดเจ้าฟ้าปาไจก็ถูกลอบสังหารที่เมืองเหิบ แขวงหลวงพระบาง เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 1922 ขบวนต่อสู้ของเจ้าฟ้าปาไจก็ค่อยสูญสลายไป

การต่อสู้ของประชาชนลาวหลายขบวนดังกล่าวแสดงให้เห็นจิตใจองอาจกล้าหาญ ไม่ยอมจำนนศัตรู แต่สุดท้ายขบวนต่างๆ ก็ถูกทำลายหมด ด้วยการต่อสู้ของประชาชนล้วนแต่เกิดขึ้นเอง ขาดการนำ ขาดการประสานร่วมมือกัน และขาดอาวุธ

ปี 1930 Ho Chi Minh ซึ่งเคลื่อนไหวต่อต้านเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศส ได้จัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม และต่อมาเปลี่ยนเป็นพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน ด้วยเห็นว่าการปฏิวัติเวียดนามไม่อาจแยกออกจากการปฏิวัติลาวและกัมพูชาได้ พร้อมกันนั้นได้สร้างแนวร่วมขึ้น ชื่อว่า 'สมาคมสัมพันธ์อินโดจีนต้านฝรั่งเศส'

ปี 1934 ในลาว มีการจัดตั้ง 'คณะพรรคแคว้นลาว' เพื่อนำการต่อสู้ เมื่อขบวนเติบใหญ่ขยายตัว จึงเปลี่ยนชื่อเป็น 'ขบวนลาวอิสระ' ต่อมาเปลี่ยนเป็น 'แนวลาวอิสระ' ในปี 1950 และ 'แนวลาวรักชาติ' ในปี 1956

ลัทธิล่าอาณานิคมพลิกผัน สถานการณ์โลกเปลี่ยน เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 (1939-1945)...

มิถุนายน 1940 กองทัพเยอรมนีบุกเข้าฝรั่งเศสและยึดกรุงปารีสได้ ฝรั่งเศสต้องจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น

ในเอเชีย ญี่ปุ่นเปิดแนวรบใหญ่ ขยายอิทธิพล โดยอ้างว่าเพื่อสร้าง 'วงไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพา' ยกทัพเข้าอินโดจีน ผลักดันให้ไทยในฐานะพันธมิตรขยาย 'ลัทธิชาติไทยใหญ่' บังคับให้ฝรั่งเศสยกดินแดนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขงของลาว และแขวงพระตะบอง เสียมเรียบ ศรีโสภณของกัมพูชาให้ไทย เมื่อกำลังของฝรั่งเศสในอินโดจีนอ่อนลงสุดขีด ญี่ปุ่นจึงใช้กำลังยึดอินโดจีนทั้งหมด เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 1945

นับแต่กลางปี 1945 สถานการณ์สงครามพลิกกลับ ญี่ปุ่นพ่ายแพ้ในทุกสมรภูมิ วันที่ 6 สิงหาคม 1945 Hiroshima ถูกทำลายราบด้วยระเบิดปรมาณู ตามด้วย Nagasaki ในวันที่ 9 สิงหาคม 1945 ที่สุดจักรพรรดิ์ญี่ปุ่นต้องประกาศยอมแพ้ในวันที่ 14 สิงหาคม 1945

วันที่ 12 ตุลาคม 1945 เจ้าเพชราช ผู้นำรัฐบาลลาวอิสระ ประกาศเอกราชไม่ยอมเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ณ นครหลวงเวียงจันทน์ ต่อหน้าประชาชนลาว

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง กองทหารอังกฤษและทหารจีนเจียงไคเช็คได้รับหน้าที่จากกำลังสัมพันธมิตรปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในอินโดจีนตาม Potsdam Agreements กองทหารอังกฤษได้เข้ามาปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นนับแต่เส้นขนานที่ 16 ลงไป ส่วนทหารจีนเจียงไคเช็คนับแต่เส้นขนานที่ 16 ขึ้นไป ขณะนั้นฝรั่งเศสฉวยโอกาสขนกองทหารของตนเข้าลาวทางภาคเหนือ โดยตกลงทำสัญญาลับกับทหารจีนเจียงไคเช็ค และขนทหารคอมมานโดโดดร่มลงเขตโพนสวรรค์ ทางภาคใต้ฝรั่งเศสขนทหารตั้งที่ปากเซโดยการร่วมมือของเจ้าบุญอุ้ม รัฐบาลลาวอิสระเตรียมกำลังต่อต้านฝรั่งเศส แต่เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์แห่งหลวงพระบางไม่เห็นชอบ ด้วยยังอยากอยู่ใต้อารักขาของฝรั่งเศส จึงสั่งปลดเจ้าเพชราชออกจากตำแหน่งมหาอุปราช เพื่อเป็นการตอบโต้คำสั่งเจ้าศรีสว่างวงศ์ รัฐบาลลาวอิสระได้เปิดสภาประชาชน สั่งปลดเจ้าชีวิตออกจากราชบัลลังก์และประกาศไม่รับรู้สัญญาลาว-ฝรั่งเศสที่ได้เซ็นกันมา ในหลวงพระบาง ประชาชนได้ใช้กำลังปิดล้อมและบังคับให้เจ้าชีวิตอยู่ในบริเวณราชวัง และกักขังนายทหารตัวแทนฝรั่งเศสที่มาเจรจากับเจ้าชีวิต

ต้นปี 1946 ฝรั่งเศสส่งกองทหารบุกโจมตีลาวทุกๆ ด้านขนานใหญ่ ทางภาคเหนือยึดเอาแขวงพงสาลี แขวงเชียงขวาง ทางภาคใต้โดยความร่วมมือของเจ้าบุญอุ้ม ยึดเอาภูเพียงบอละเวน และต่อมาตียึดได้สะหวันนะเขต ตามด้วยท่าแขก เวียงจันทน์ และหลวงพระบาง ในที่สุดฝรั่งเศสก็ยึดเอาลาวกลับคืนเป็นอาณานิคมได้อีกครั้ง

ปี 1949 ฝรั่งเศสแต่งตั้งเจ้าบุญอุ้มเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งต่อมารัฐบาลเจ้าบุญอุ้มเซ็นสัญญาร่วมฝรั่งเศส-ลาว เพื่อมอบ 'เอกราชในเครือสหพันธ์ฝรั่งเศส' แก่ลาว

ฝ่ายลาวอิสระได้เคลื่อนไหวต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธอยู่ทางภาคตะวันออก ตั้งแต่แขวงหัวพันถึงสาละวัน อัตตะปือ แต่ขบวนลาวอิสระพลัดถิ่นกลับเกิดการขัดแย้งกัน พวกหนึ่งนำโดยกระต่าย อุ่น ชะนะนิกอน เห็นควรให้ยุบขบวนการลาวอิสระและเข้าร่วมมือกับฝรั่งเศส อีกพวกมีเจ้าสุภานุวงศ์เป็นหัวหน้า เห็นว่าต้องต่อสู้จนถึงขั้นแย่งเอาชัยชนะอย่างสมบูรณ์ เจ้าสุภานุวงศ์ กับพูมี วงวิจิด นำกำลังเคลื่อนไหวอยู่ตามชายแดนลาว-ไทย ในเขตเมืองเชียงฮ่อน เชียงลม แขวงไชยบุรี ส่วนสิงกะโปเคลื่อนไหวอยู่แขวงคำม่วนและสะหวันนะเขต ต่อมาผู้นำแต่ละขบวนได้รวมตัวกันจัดตั้ง 'แนวลาวอิสระ' เพื่อเอกภาพในการต่อสู้เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 1950 และจัดตั้ง 'รัฐบาลลาวต่อต้าน' โดยมีเจ้าสุภานุวงศ์เป็นนายกรัฐมนตรี แนวลาวอิสระต่อสู้กับพวกฝรั่งเศสด้วยกำลังอาวุธ ส่วนรัฐบาลลาวต่อต้านดำเนินงานทางการเมืองระหว่างประเทศ ในห้วงเวลาที่ระบอบสังคมนิยมขยายตัวอย่างมากทั้งในยุโรป เอเชีย และแอฟริกาเหนือ

ฤดูหนาวปี 1953 ถึงฤดูใบไม้ผลิปี 1954 ฝรั่งเศสเพลี่ยงพล้ำในทุกสมรภูมิอินโดจีน แนวลาวอิสระทยอยยึดได้ส่วนใหญ่ของแขวงคำม่วน บางส่วนของแขวงสะหวันนะเขต แขวงหัวพัน ภูเพียงบอละเวน แขวงอัตตะปือ แขวงสาละวัน แขวงพงสาลี และแขวงหลวงพระบาง

ในเวียดนาม วันที่ 7 พฤษภาคม 1954 นายพล Vo Nguyen Giap นำกำลังทหาร Viet Minh 55,000 นาย โจมตีที่มั่นสุดท้ายของฝรั่งเศสซึ่งเหลือกำลังพล 16,000 นาย ที่ Dien Bien Phu ภายหลังปิดล้อมอยู่ 55 วัน การรบนองเลือดเบ็ดเสร็จ ฝรั่งเศสต้องยอมจำนน ปิดฉากการเป็นเจ้าอาณานิคมอินโดจีนที่ดำรงมากว่า 100 ปี และนำสู่การเจรจาสันติภาพที่ Geneva ในวันรุ่งขึ้น (8 พฤษภาคม 1954) นัยเพื่อการถอยออกจากอินโดจีน 'อย่างมีเกียรติ' ของฝรั่งเศส

การเจรจาที่ Geneva เป็นไปอย่างเคร่งเครียด กินเวลาถึง 75 วัน ที่สุด Geneva Accords จึงได้ลงนามกันในวันที่ 20 กรกฎาคม 1954

สาระสำคัญของ Geneva Accords ต่อลาว ได้แก่ การหยุดยิงและการถอนทหารต่างด้าวออกจากลาว การห้ามไม่ให้กองทหารต่างด้าวใดๆ แทรกซึม และห้ามนำอาวุธยุทธภัณฑ์เข้าไปในประเทศลาว การแยกกำลังและกำหนดที่ตั้งของกองทหารลาวแต่ละฝ่ายระหว่างรอการรวมประเทศ การจัดการเกี่ยวกับเชลยศึก และการตั้งกรรมการตรวจตราสากล

Winston S. Churchill นายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร บันทึกไว้ว่า วันหนึ่งในช่วงท้ายสงครามโลกครั้งที่ 2 ประธานาธิบดี Franklin D. Roosevelt แห่งสหรัฐอเมริกา เปรยว่า เขากำลังสอบถามความเห็นจากสาธารณะ ถึงชื่อเรียกสงครามที่กำลังจะสิ้นสุดนี้ Churchill โพล่งออกมาทันทีว่า 'The Unnecessary War'

กงล้อประวัติศาสตร์ที่หมุนไป สำแดงให้เห็นว่าสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนวิถีการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ลัทธิล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกที่ดำรงต่อเนื่องมากว่าศตวรรษต้องยุติลง การสู้รบกันเองระหว่างเจ้าอาณานิคมในแผ่นดินแม่ของตน นำมาซึ่งความย่อยยับและลดทอนอำนาจเดิมของทั้งสองฝ่าย จนที่สุดจำต้องทยอยคายอาณานิคมที่ตนใช้กำลังอธรรมยึดไว้ในอีกซีกโลก สงครามโลกครั้งที่ 2 จึงเป็น 'The Utmost Necessary War' ต่อการปลดแอกอาณานิคมจากชาติตะวันตก

ข้อมูลค้นจาก
สมชาย นิลอาธิ (ถอดความ). ประวัติศาสตร์ฉบับกระทรวงศึกษาธิการฯ ลาว. สำนักพิมพ์มติชน. 2545.

wikipedia.org
Churchill, WS. The Second World War. Pimlico. 2002.
Vietnam. National Geographic Traveler. 2006.
Cr: http://mtreeanun.blogspot.com/

ประวัติศาสตร์ชาติลาว 1

 ประวัติศาสตร์ชาติลาว 
 ประเทศราชของสยาม


ASEAN Society of Pediatric Surgery (ASPS) เป็นการรวมกลุ่มของกุมารศัลยแพทย์ 10 ประเทศอาเซียน ริเริ่มโดยมาเลเซีย เมื่อปี 2006 เพื่อให้เกิดเครือข่าย แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ระหว่างกุมารศัลยแพทย์ในภูมิภาค และหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพจัดประชุมวิชาการปีละครั้ง
ปีนี้ 2015 ครบรอบปีที่สิบ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นเจ้าภาพ กำหนดจัดประชุมที่นครหลวงเวียงจันทน์ วันที่ 25-26 พฤศจิกายน 2015

ลาวเป็นจุดหมายที่ชวนให้ไปเยือน...
บางกอกแอร์บินจากสุวรรณภูมิ 9.45 น. เราไปกัน 5 คน กับมีหมอวุ่น ศิษย์เก่า ซึ่งตอนนี้เป็นหัวหน้าหน่วยกุมารศัลยกรรม โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก ไปพร้อมกัน รวมเป็น 6 คน เพียง 1.15 ชั่วโมง ก็ถึงเวียงจันทน์
จากสนามบินวัดไต เหมารถตู้ ไป Mercure Hotel ถนนสามแสนไท ที่พักและสถานที่จัดประชุม ระยะทางราว 8 กิโลเมตร ใช้เวลา 20 นาที
ที่ชายคาหน้าโรงแรม แขวนป้ายสีฟ้าสดใส ตัวหนังสือสีขาว แสดงความต้อนรับ แต่ไม่ใช่สำหรับคณะ ASPS หากแสดงความต้อนรับผู้แทนระดับสูงจากคณะกรรมการกลาง Socialist Youth League ของ 'ท่านผู้นำตลอดกาล' Kim Il Sung (1912-1994) แห่งเกาหลีเหนือ ที่มาเยือนลาว ระหว่าง 24-27 พฤศจิกายน 2015...

'น้ำใจ วันชาติที่ 2 ธันวา มั่นยืน'
ป้ายผ้าสีแดง ตัวหนังสือสีขาว ข้อความอ่านเป็นภาษาไทยได้ดังข้างต้น ประดับทั่วนครหลวง เตรียมฉลองครบรอบ 40 ปี วันชาติ 2 ธันวาคม 1975 วันที่พรรคปฏิวัติประชาชนลาว นำโดย ท่านไกสอน พมวิหาน ล้มล้างระบอบราชาธิปไตย และสถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว...

ประวัติศาสตร์ชาติลาวย้อนไปแต่ครั้งอาณาจักรล้านช้าง (1353-1707) กษัตริย์ที่สำคัญ ได้แก่
เจ้าฟ้างุ้ม (1316-1374) กษัตริย์องค์แรก เป็นผู้สถาปนาอาณาจักรล้านช้าง ตั้งเมืองหลวงที่หลวงพระบาง ครองราชย์ 1353-1373
เจ้าไชยเชษฐาธิราช (1534-1572) เป็นโอรสของเจ้าโพธิสะราชแห่งล้านช้าง กับเจ้านางยอดคำทิพย์ ธิดาเจ้าเกศเกล้าแห่งอาณาจักรล้านนา ปี 1546 เจ้าเกศเกล้าสิ้นพระชนม์ และไม่มีโอรส ล้านนาจึงอัญเชิญเจ้าไชยเชษฐาธิราช ขึ้นเป็นกษัตริย์ ต่อมาปี 1547 เจ้าโพธิสะราชแห่งล้านช้างสิ้นพระชนม์ เกิดการแย่งชิงอำนาจ เจ้าไชยเชษฐาธิราชจึงยกกำลังไปหลวงพระบาง พร้อมอัญเชิญพระแก้วมรกตจากล้านนาไปด้วย พระองค์ยึดอำนาจอาณาจักรล้านช้างสำเร็จ ขึ้นครองราชย์ปี 1548 ผนวกอาณาจักรล้านนาและล้านช้างเข้าด้วยกัน จนกระทั่งปี 1560 เจ้าไชยเชษฐาธิราช ทรงย้ายเมืองหลวงจากหลวงพระบาง มาสร้างเมืองหลวงใหม่ที่เวียงจันทน์ และได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐาน ณ เมืองเวียงจันทน์ การย้ายเมืองหลวงนี้ก็เพื่อให้สามารถตั้งรับการศึกกับพม่าได้ดีขึ้น นอกจากนี้ พระองค์ยังได้ทำสัญญาไมตรีกับพระมหาจักรพรรดิ์แห่งอาณาจักรอยุธยา โดยร่วมกันสร้างพระธาตุศรีสองรักขึ้นที่ริมแม่น้ำหมันอันเป็นเขตแดนระหว่างอาณาจักรทั้งสอง (ปัจจุบัน พระธาตุศรีสองรักอยู่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย) พร้อมจารึกศิลา ด้านหนึ่งเป็นอักษรธรรมล้านช้าง อีกด้านเป็นอักษรขอม เนื้อความว่า 'จวบจนภายหน้า อย่าได้รุกล้ำครอบครองดินแดนของกัน อย่าได้ละโมบโป้ปดต่อกัน ตราบชั่วสุริยะจันทรายังคงลับขอบฟ้า ณ ที่นี้' (จารึกศิลานี้ถูก Auguste Pavie กงสุลฝรั่งเศสประจำราชวังหลวงพระบางขนย้ายไปยังเวียงจันทน์เมื่อปี 1906 ภายหลังฝรั่งเศสผนวกด่านซ้ายเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมลาวของตน จารึกศิลาแตกชำรุดเป็น 4 ชิ้น บางส่วนหายไป ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่หอพระแก้ว เวียงจันทน์) ตลอดรัชสมัย พระองค์สามารถต้านทานการรุกรานจากเจ้าบุเรงนองแห่งพม่าได้อย่างเข้มแข็ง อย่างไรก็ตาม เจ้าไชยเชษฐาธิราชถูกปลงพระชนม์ในปี 1572 โอรสคือเจ้าน้อยหน่อเมืองแก้วโกเมน ยังเป็นเด็ก จึงเกิดการแย่งชิงอำนาจอย่างวุ่นวาย อาณาจักรล้านช้างระส่ำระสาย อ่อนแอลง จนที่สุดเสียเมืองแก่เจ้าบุเรงนองแห่งพม่าในปี 1574 และเจ้าน้อยหน่อเมืองแก้วโกเมนถูกนำไปพม่าในฐานะตัวประกัน
ล้านช้างตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าอยู่ 18 ปี จนสมัยเจ้านันทบุเรงแห่งพม่า จึงยินยอมแต่งตั้งเจ้าน้อยหน่อเมืองแก้วโกเมนเป็นเจ้าครองเวียงจันทน์ในฐานะประเทศราช ปี 1593 เจ้าน้อยหน่อเมืองแก้วโกเมนประกาศเอกราช และต้องเผชิญการศึกกับพม่าตลอดรัชสมัย
เจ้าสุริยวงศา ครองราชย์ 1637-1694 ยาวนานถึง 57 ปี สร้าง 'ยุคทอง' แห่งอาณาจักรล้านช้าง พระองค์มีสัมพันธไมตรีอันดีกับพระนารายณ์แห่งอาณาจักรอยุธยา ความมั่งคั่งของล้านช้างถูกนำไปทำนุบำรุงศาสนาเป็นหลัก แต่ละเลยด้านอื่นๆ เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ในปี 1694 โดยไม่มีรัชทายาท ล้านช้างจึงระส่ำระสายอย่างหนัก การแย่งชิงอำนาจนำไปสู่การแตกแยกเป็นอาณาจักรย่อย ได้แก่ อาณาจักรหลวงพระบาง และอาณาจักรเวียงจันทน์ในปี 1707 และอาณาจักรจำปาสักในปี 1713 ถือเป็นการสิ้นสุดของอาณาจักรล้านช้าง
ช่วงทศวรรษ 1760 และ 1770 พม่ากับอยุธยาทำสงครามกันต่อเนื่อง คู่ศึกทั้งสองต่างต้องสร้างพันธมิตรกับอาณาจักรหลวงพระบางและอาณาจักรเวียงจันทน์ หากปัจจัยทางภูมิศาสตร์ทำให้หลวงพระบางและเวียงจันทน์จำต้องถือหางคู่ศึกคนละฝ่าย จึงยิ่งนำความแตกแยกระหว่างอาณาจักรย่อยทั้งสอง

ประเทศราชของสยาม (1779-1893)
ภายหลังกู้เอกราชจากพม่าได้สำเร็จ และตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว ในปี 1779 (พ.ศ. 2322) พระเจ้าตากได้ส่งกองทัพ โดยมีเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพ เจ้าพระยาสุรสีห์เป็นรองแม่ทัพ ไปตีจำปาสักและเวียงจันทน์แตก กับบังคับให้หลวงพระบางสวามิภักดิ์ (หลวงพระบางส่งกำลังร่วมกับกองทัพพระเจ้าตากปิดล้อมเวียงจันทน์) อาณาจักรย่อยทั้งสามจึงตกเป็นประเทศราชของสยาม โอรส ธิดา ของเจ้าแห่งอาณาจักรทั้งสามถูกนำกลับกรุงธนบุรีในฐานะตัวประกัน พลเมืองลาวถูกกวาดต้อนเข้ามายังสระบุรีและบริเวณที่ราบสูงโคราชเพื่อใช้เป็นแรงงาน พระแก้วมรกตและพระบาง พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ถูกยึดจากเวียงจันทน์นำกลับกรุงธนบุรี ตอกย้ำการสูญเสียเอกราชโดยสิ้นเชิงของเวียงจันทน์
ปี 1782 (พ.ศ. 2325) พระเจ้าตากถูกยึดอำนาจและสำเร็จโทษ เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกปราบดาภิเษกขึ้นเป็นรัชกาลที่ 1 ทรงจัดการปกครองประเทศราชใหม่ ผนวกหัวเมืองที่ราบสูงโคราชที่แต่เดิมขึ้นกับลาวให้ขึ้นตรงต่อสยาม เมื่อปี 1778 (พ.ศ. 2321) มีเพียงนครราชสีมาที่ขึ้นตรงต่อสยาม แต่เมื่อสิ้นรัชกาลที่ 1 ศรีสะเกษ อุบล ร้อยเอ็ด ยโสธร ขอนแก่น และกาฬสินธุ์ ล้วนส่งบรรณาการตรงต่อกรุงเทพฯ แรงงานเชลยลาวที่กวาดต้อนมาเป็นสิ่งจำเป็นยิ่ง การเพิ่มผลผลิตและประชากรบนที่ราบสูงโคราชยังประโยชน์แก่สยามทั้งเชิงทรัพยากรและความมั่นคง
ปี 1780 (พ.ศ. 2323) เจ้าสิริบุญสาร แห่งเวียงจันทน์สิ้นพระชนม์ ขณะนั้นโอรสทั้งสามของพระองค์ได้แก่ นันทเสน อินทวงศ์ และอนุวงศ์ อยู่ในฐานะตัวประกันตั้งแต่คราวกองทัพกรุงธนบุรีตีเวียงจันทน์ปี 1779 ทั้งสามได้กลับไปครองเวียงจันทน์ตามลำดับคือ
เจ้านันทเสน (ครองเวียงจันทน์ 1781-1795) โดยได้รับพระบางคืนด้วย ต่อมาถูกกล่าวหาว่าสมคบกับเจ้านครพนมต่อต้านสยาม รัชกาลที่ 1 จึงให้จับตัว และจองจำไว้จนสิ้นพระชนม์
เจ้าอินทวงศ์ (ครองเวียงจันทน์ 1795-1804) ร่วมกับสยามในการรบกับพม่าเมื่อปี 1797 และ 1802 ตลอดจนการยึดแคว้นสิบสองจุไท โดยมีเจ้าอนุวงศ์เป็นแม่ทัพ
เจ้าอนุวงศ์ (ครองเวียงจันทน์ 1805-1827) เป็นอุปราชตั้งแต่ครั้งเจ้าอินทวงศ์ครองเวียงจันทน์ เมื่อเจ้าอินทวงศ์สิ้นพระชนม์ รัชกาลที่ 1 จึงให้เจ้าอนุวงศ์สืบต่อ
ปี 1819 เจ้าอนุวงศ์ยกทัพไปปราบกบฏที่จำปาสักสำเร็จ และเมื่อเจ้าจำปาสักที่ลี้ภัยไปอยู่กรุงเทพฯ สิ้นพระชนม์ เจ้าอนุวงศ์ได้ทูลขอรัชกาลที่ 2 ให้แต่งตั้งโอรสของตนครองจำปาสักแทน โดยได้รับความสนับสนุนจากกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (ต่อมาครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 3) จึงนับว่าเจ้าอนุวงศ์สามารถรวมสองในสามของอาณาจักรล้านช้างเดิมกลับเข้าด้วยกัน
ปี 1824 (พ.ศ. 2367) รัชกาลที่ 2 เสด็จสวรรคต เจ้าฟ้ามงกุฎ โอรสของรัชกาลที่ 2 กับพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี เป็นรัชทายาทลำดับที่หนึ่ง หากกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ อายุมากกว่า มีประสบการณ์และผู้สนับสนุนมากกว่า แม้พระมารดาคือพระศรีสุลาลัย มิใช่อัครมเหสีของรัชกาลที่ 2 ก็ตาม วิกฤตการณ์สืบราชสมบัตินี้ผ่อนคลายลงเมื่อเจ้าฟ้ามงกุฎเลือกที่จะครองสมณเพศต่อไป ยินยอมให้กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 3 เจ้าอนุวงศ์และเจ้าจากหลวงพระบาง จำปาสัก ที่มาร่วมงานถวายพระเพลิงพระศพรัชกาลที่ 2 ในปีถัดมา ย่อมรับรู้สถานการณ์และวิกฤตการณ์ดังกล่าวเช่นกัน ภายหลังงานพระศพเสร็จสิ้น ก่อนกลับเวียงจันทน์ เจ้าอนุวงศ์ทูลรัชกาลที่ 3 ขอพระแก้วมรกต ขอขนิษฐาคือนางแก้วยอดฟ้ากัลยาณี และขอครัวเชลยชาวลาวที่ถูกกวาดต้อนมาแต่ครั้งปี 1779 กลับคืน รัชกาลที่ 3 นอกจากไม่ทรงอนุญาตแล้ว ยังบังคับใช้แรงงานไพร่พลที่ไปกับเจ้าอนุวงศ์ ในการขุดคลอง ตัดตาลที่สุพรรณบุรี แล้วย้ายลงไปในการก่อสร้างพระสมุทรเจดีย์ที่สมุทรปราการ ซึ่งเป็นระยะทางไกล ทำให้คนลาวเจ็บป่วย ล้มตาย เป็นจำนวนมาก จึงยิ่งเพิ่มความเคียดแค้นและน้ำใจต่อสู้แก่เจ้าอนุวงศ์
ปัจจัยแตกหักสำคัญต่อมา คือ รัชกาลที่ 3 ทรงประกาศบังคับสักเลกในหัวเมืองลาว ที่ราบสูงโคราช และที่สระบุรี โดยมีเจ้าเมืองนครราชสีมาเป็นแม่กอง สร้างความขัดแย้งอย่างรุนแรง ผู้คนอพยพหลบหนีข้ามโขงไปยังเวียงจันทน์
ในห้วงระยะนั้น ฝ่ายพม่าได้เกิดสงครามกับอังกฤษครั้งที่ 1 (1824-1826) และสูญเสียดินแดนสำคัญหลายแห่ง ไม่อาจคุกคามเวียงจันทน์อีกต่อไป
ปี 1826 (พ.ศ. 2369) สยามต้องยินยอมทำสัญญาเบอร์นี (Burney Treaty) กับอังกฤษ ทำให้เจ้าอนุวงศ์มองเห็นความอ่อนแอลงของสยาม จึงตระเตรียมกำลังในการประกาศเอกราช
ธันวาคม 1826 (พ.ศ. 2369) เจ้าอนุวงศ์ส่งทัพที่ 1 ลงมาทางกาฬสินธุ์ตามเส้นทางการบังคับสักเลก
มกราคม 1827 (พ.ศ. 2370) เจ้าอนุวงศ์ยกทัพที่ 2 เข้ายึดนครราชสีมา กำลังส่วนหนึ่งแยกเป็นทัพที่ 3 ไปทางหล่มสัก ชัยภูมิ จนถึงสระบุรี เพื่อกวาดครัวเชลยชาวลาวกลับคืนเวียงจันทน์ และทัพที่ 4 นำโดยเจ้าราชบุตรจากจำปาสักยกไปตีอุบล
อย่างไรก็ตาม การถอยทัพกลับเป็นไปอย่างล่าช้าด้วยครัวลาวจำนวนมาก นอกจากนี้เจ้าอนุวงศ์ยังเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ในการตามล่าตัวเจ้าเมืองนครราชสีมา แม่กองสักเลก ซึ่งหลบอยู่ที่ขุขันธ์
สยามจัดกำลังเป็น 2 ทัพใหญ่ ทัพแรกขึ้นไปทางสระบุรี เข้ายึดคืนนครราชสีมา ทัพที่ 2 ไปทางลุ่มป่าสักเข้าหล่มสัก เจ้าอนุวงศ์ถอยทัพไปตั้งมั่นที่หนองบัวลำภู ฐานสำคัญของตน เพื่อรบกับทัพสยาม กำลังทหารจำนวนมากและอาวุธปืนทันสมัยเหลือใช้จากสงครามนโปเลียนในยุโรป ซึ่งสยามซื้อจากอังกฤษสะสมตั้งแต่ปี 1822 (พ.ศ. 2365) เป็นสิ่งท่ีเจ้าอนุวงศ์คะเนผิดพลาด เพียง 3 วัน หนองบัวลำภูก็แตก ทัพเจ้าอนุวงศ์ต้องถอยร่นข้ามไปเวียงจันทน์ ทัพสยามรุกติดตาม อีก 5 วันต่อมา เวียงจันทน์ก็แตก เจ้าอนุวงศ์หนีไปเวียดนาม แม่ทัพของสยาม พระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) (ต่อมาเลื่อนเป็นเจ้าพระยาบดินทรเดชา) สั่งทำลายพระราชวังและป้อมปราการของเวียงจันทน์ เว้นวัดและส่วนอื่นของเมืองไว้ ยึดอาวุธต่างๆ ตลอดจนใช้เวลาอีกหลายเดือนกวาดต้อนครัวชาวเวียงจันทน์กลับที่ราบสูงโคราช เหลือกองทหารขนาดเล็กไว้ดูแลฝั่งตรงข้ามโขงของเมืองที่รกร้างแล้ว
เมื่อเจ้าอนุวงศ์ยกกำลังทหารราว 1,000 คนกลับมาเวียงจันทน์ พบว่าเมืองร้างผู้คน และทราบว่าพระยาราชสุภาวดีได้สร้างอนุสรณ์แห่งชัยชนะเป็นเจดีย์ 9 ยอด ที่วัดทุ่งสว่างชัยภูมิ เมืองยโสธร อันเป็นสถานที่พักทัพ ด้วยความกริ้ว เจ้าอนุวงศ์จึงยกกำลังข้ามโขง เข้าโจมตีและสังหารกองทหารสยามที่รักษาการฝั่งตรงข้ามนั้น
รัชกาลที่ 3 ทรงพระพิโรธยิ่ง รับสั่งให้พระยาราชสุภาวดีกลับไปทำลายเวียงจันทน์ให้ราบและจับตัวเจ้าอนุวงศ์ให้ได้
พระยาราชสุภาวดีติดตามเจ้าอนุวงศ์ไปจนจับได้ที่เชียงขวาง และนำตัวกลับกรุงเทพฯ รัชกาลที่ 3 รับสั่งให้ขังเจ้าอนุวงศ์ไว้ในกรงเหล็ก พร้อมเครื่องทรมานต่างๆ กรงเหล็กนี้ให้ตั้งตากแดดประจานที่หน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ เพียงไม่กี่วัน เจ้าอนุวงศ์ก็สิ้นพระชนม์ (61 พรรษา)
เมืองเวียงจันทน์ถูกทำลายราบ พระบางและพระพุทธรูปสำคัญอีกหลายองค์ถูกยึดอัญเชิญกลับสยาม ประชาชนถูกกวาดต้อนย้ายถิ่นอย่างสิ้นเชิง อาณาจักรเวียงจันทน์ถึงแก่การล่มสลาย ปราศจากเจ้าครองต่อไป แม้กว่า 30 ปีให้หลัง คณะสำรวจชาวฝรั่งเศสบันทึกไว้ว่าพบแต่ซากปรักรกร้างตรงที่เมืองเคยตั้งอยู่ อาณาจักรลาวที่เหลือคือหลวงพระบางและจำปาสักถูกควบคุมเข้มงวดยิ่งขึ้น ที่ราบสูงโคราชถูกผนวกเข้าเป็นส่วนของสยามทั้งหมด
การเทครัวพลเมืองลาวครั้งนี้เป็นการโยกถิ่นประชากรครั้งใหญ่มาก ส่งผลถึงปัจจุบันที่ประเทศลาวมีประชากรเพียง 7 ล้านคน ขณะที่ภาคอีสานของไทยมีประชากรเชื้อสายลาวถึง 22 ล้านคน
ภายหลัง 'กบฏเจ้าอนุวงศ์' เกิด 'ตำนาน' วีรสตรีของสยาม คือท้าวสุรนารี (คุณหญิงโม) ซึ่งต่อมาในช่วงทศวรรษ 1930 ได้รับการโฆษณาตามนโยบายชาตินิยมของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม นัยเพื่อรณรงค์ทางการเมือง การทหาร สู่การรวบรวมชนชาติไต ที่เรียกว่า 'ลัทธิชาติไทยใหญ่'
ข้างฝ่ายลาว ถือว่าเจ้าอนุวงศ์เป็นวีรบุรุษ ตั้งแต่ทศวรรษ 1990 รัฐบาลลาวเชิดชูกรณี 'สงครามกู้เอกราชของเจ้าอนุวงศ์' ว่าเป็นการศึกเพื่อปลดแอกประเทศราชจากสยาม ถึงแม้ไม่สำเร็จและนำสู่การล่มสลายของเวียงจันทน์ก็ตาม ต่อมาปี 2010 ในวาระ 450 ปี นครหลวงเวียงจันทน์ รัฐบาลลาวได้จัดสร้างอนุสาวรีย์เจ้าอนุวงศ์ประดิษฐานหน้าสวนสาธารณะใหญ่ชื่อเดียวกัน ณ ใจกลางนครหลวง เป็นสัญลักษณ์แห่งจิตวิญญาณที่ต้องการอิสรภาพ เสรีภาพ ไม่ยอมจำนนเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติ
ภายหลังเหตุการณ์เจ้าอนุวงศ์ ความขัดแย้งระหว่างเวียดนามกับสยามต่อผลประโยชน์และดินแดนลาวยิ่งเพิ่มขึ้น จนนำไปสู่สงครามสยาม-เวียดนามในช่วงทศวรรษ 1830 เวียดนามผนวกเชียงขวาง ส่วนจีนภายหลังกบฏไทปิงได้แผ่อิทธิพลลงมาตามน้ำโขง เกิดสงครามฮ่อในช่วงทศวรรษ 1860 ความไม่สงบขาดเสถียรภาพของภูมิภาคทำให้เจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสรุกเข้ายึดครองอินโดจีนได้โดยสะดวก...

สัญญาไมตรีระหว่างล้านช้างกับอยุธยาซึ่งจารึกมั่นคงบนศิลา สำทับด้วยพระธาตุศรีสองรักอันเป็นหลักเขตแดน ไม่อาจรับรองการเคารพอธิปไตยระหว่างกันในคนรุ่นต่อมา ลาวจึงตกเป็นประเทศราชของสยามนับเวลากว่าศตวรรษ ในห้วงนั้น ลาวต้องอยู่ในสภาพดังเช่นพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 6 ที่ว่า
'ใครมาเป็นเจ้าเข้าครอง คงจะต้องบังคับขับไส
เคี่ยวเข็ญเย็นค่ำกรำไป ตามวิสัยเชิงเช่นผู้เป็นนาย
เขาจะเห็นแก่หน้าค่าชื่อ จะนับถือพงศ์พันธุ์นั้นอย่าหมาย
ไหนจะต้องเหนื่อยยากลำบากกาย ไหนจะอายทั่วทั้งโลกา'


ข้อมูลค้นจาก
สมชาย นิลอาธิ (ถอดความ). ประวัติศาสตร์ฉบับกระทรวงศึกษาธิการฯ ลาว. สำนักพิมพ์มติชน. 2545.
wikipedia.org
sac.or.th
Cr:http://mtreeanun.blogspot.com/

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2561

ประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย(Indonesia)

อินโดนีเซีย (Indonesia)
ประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย

สมัยโบราณ ในห้วงเวลาก่อนคริสตกาลประมาณ 3,000 - 5,000 ปี ได้มีชาวมาเลย์ ซึ่งเป็นเชื้อสายมองโกลอยด์จากจีนตอนใต้ ยูนาน และตังเกี๋ย อพยพเข้าไปในอินโดนิเซีย ชนพวกนี้ได้นำเอาวัฒนธรรมของยุคหินใหม่ ยุคบรอนซ์ รวมทั้งภาษาออสโตรนีเซีย เข้ามาในอินโดนิเซีย รวมตลอดถึงในฟิลิปปินส์ด้วย พวกเหล่านี้ได้เข้ามาอยู่อาศัย และแต่งงานกับชาวพื้นเมือง สอนให้ชาวพื้นเมืองรู้จักวิธีปลูกข้าว สร้างที่พักอาศัย และรู้ถึงวิธีการปั้นหม้อ และทอผ้า รวมทั้งการหาเลี้ยงชีพ และการผจญภัยในทะเล พวกเหล่านี้มีความสามารถในการเดินเรือ และสามารถแล่นเรือออกไปไกลถึงหมู่เกาะมาดากัสการ์ ทางทิศตะวันตก และเกาะอิเจียน โปลีนีเซียน ตลอดจนหมู่เกาะต่าง ๆ ทางทิศตะวันออก ต่อมาในระยะเวลาประมาณ 100 ปี ก่อนคริสตศักราชจนถึงต้นคริสตศักราช ได้มีการติดต่อค้าขายระหว่างพ่อค้า จากบริเวณจีนตอนใต้และหมู่เกาะอินโดนิเซียในคริสตศตวรรษแรกได้มีชาวฮินดูจากอินเดียตะวันออกเฉียงใต้ อพยพเข้ามในอินโดนิเซีย และได้นำภาษาสันสกฤต และภาษาปัลวะ เข้ามาเผยแพร่ซึ่งต่อมาได้วิวัฒนาการเป็นภาษาชวาเก่า ชวาใหม่ และอักษรอินโดนิเซียอื่น ๆ การหลั่งไหลเข้ามาในอินโดนิเซียของชาวฮินดู ได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจนถึงคริสตศตวรรษที่ 7 ทำให้อิทธิพล และความเชื่อถือในลัทธิต่างๆ ได้ขยายวงกว้างออกไปโดยเฉพาะในหมู่ชนชั้นสูง ซึ่งในที่สุดได้ผสมผสานกลืนกลายเป็น
วัฒนธรรมประจำชาติไป วัฒนธรรมส่วนใหญ่ที่ชาวอินโดนิเซียได้รับจากชาวฮินดู ได้แก่ สถาปัตยกรรมการปั้นรูป วรรณคดี ดนตรี นาฏศิลป์ และการเล่นพื้นเมือง ซึ่งยังคงมีอยู่ในบาหลี และลอมบอร์กตะวันตกระหว่างปี พ.ศ.643 - 743 พุทธศาสนาฝ่ายมหายาน และฝ่ายเถรวาท จากอินเดียได้เริ่มเผยแผ่เข้ามาในอินโดนิเซีย ในระยะแรก ๆ ยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก จนมาถึงสมัยอาณาจักรศรีวิชัย พุทธศาสนาจึงได้รุ่งเรืองมากขึ้น ในปี พศ.1215 โดยมีศูนย์กลางที่เมืองปาเลมบัง ในเกาะสุมาตรา และชวาตอนกลาง และเริ่มเสื่อมลงเมื่อสิ้นสุดอิทธิพลของ อาณาจักรศรีวิชัย นับแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 13ในปี พ.ศ.1389 ชาวอาหรับได้เดินทางมาถึงเกาะสุมาตรา เป็นครั้งแรกเป็นพวกพ่อค้า ต่อเนื่องมาจนถึงปี พ.ศ.1493 พวกพ่อค้าเหล่านี้ ได้นำเอาศาสนาอิสลามมาเผยแพร่ด้วย โดยที่ในระยะแรกได้ตั้งศูนย์กลางเผยแพร่ศาสนาขึ้นทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา จากนั้นจึงขยายออกไปทั่วประเทศสมัยอาณาจักรมอสเลม 

เมื่ออาณาจักรฮินดูเริ่มตกต่ำลงระหว่างปี พ.ศ.2050 - 2063 อาณาจักรมอสเลมก็เริ่มรุ่งเรืองขึ้นในชวาตอนกลาง สุมาตรา สุลาเวสี กาลิมันตัน จนถึงอิเรียนตะวันตก และมีผลให้ภาษามาเลย์ซึ่งชาวมุสลิมบริเวณนี้ใช้อยู่ได้แพร่ขยายออกไปและกลายเป็นภาษาประจำชาติของอินโดนีเซียด้วยในระยะนั้น เมืองจาการ์ตายังเป็นเมืองท่าเล็ก ๆ บนเกาะชวา มีชื่อว่า ซุนดาเคลาปา ต่อมาเมืองนี้ได้ถูกนายพลฟามาเตอีนแห่งอาณาจักรเดมัดยึดได้ จึงให้เปลี่ยนชื่อเป็นจาการ์ตา ซึ่งมีความหมายถึงสถานที่แห่งชัยชนะ เพราะเป็นชัยชนะต่อชาวโปรตุเกส ต่อมาในปี พ.ศ.2164 ฮอลแลนด์ได้เข้ามายึดครองอินโดนีเซีย และได้เปลี่ยนชื่อเมืองนี้เป็นปัตตาเวียสมัยตกเป็นอาณานิคมของฮอลแลนด์ ฮอลแลนด์ได้ตั้งบริษัท United Dutch East India Company เมื่อปี พ.ศ.2145 เพื่อทำการค้า อยู่ที่หมู่เกาะอินเดียตะวันออก ซึ่งนอกจากทำการค้าแล้ว ยังทำหน้าที่แสวงหาอาณานิคมให้แก่ฮอลแลนด์ด้วย ในที่สุดได้ทำการยึดครองอินโดนีเซีย เมื่อปี พ.ศ.2164 และได้ขยายการปกครองออกไปทั่วประเทศ ทำให้อินโดนีเซียตกอยู่ในฐานะอาณานิคมของฮอลแลนด์การทำสงครามต่อต้านฮอลแลนด์ได้เริ่มขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2209 โดยสุลต่านฮานุดดินแห่งโกลา แต่ประสบความล้มเหลว และต้องเซ็นสัญญายอมแพ้ในปี พ.ศ.2310 ในปี พ.ศ.2233 - 2367 บริษัทได้ส่งทหารเข้าควบคุมหมู่เกาะโมลุกกัส (มาลูกู) เพื่อเข้าควบคุมการค้าเครื่องเทศในระยะเวลาเดียวกันได้ปรากฏมีชาวอังกฤษเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองเบวกูเลน บนฝั่งตะวันตกของเกาะสุมาตรา และได้มีการสร้างป้อมค่ายขึ้น ในระยะนี้ชาวอังกฤษยังไม่มีบทบาทมากนักในปี พ.ศ.2283 ชาวจีนที่อาศัยอยู่ในจาการ์ตาได้ทำการต่อต้านชาวดัตช์ เนื่องจากไม่พอใจที่ถูกเอารัดเอาเปรียบทั้งในด้านเศรษฐกิจ และในด้านอื่น ๆ ชาวอินโดนีเซียได้เข้าร่วมในการต่อต้านครั้งนี้ด้วย แต่ไม่สามารถเอาชนะได้ เป็นผลให้ชาวจีนถูกชาวดัทช์สังหารมากกว่า 10,000 คนการเข้าปกครองอังกฤษ ในระหว่างรัชสมัยของนโปเลียน ฝรั่งเศสได้เข้าครอบครองฮอลแลนด์ บริษัท British East Company จึงได้เข้าปกครองอินโดนีเซียแทน (พ.ศ.2358 - 2359) เมื่อนโปเลียนสิ้นอำนาจลงในปี พ.ศ.2358 อินโดนีเซียก็กลับไปเป็นอาณานิคมของฮอลแลนด์อีกการปราบปรามของฉอลแลนด์ นับตั้งแต่อินโดนีเซียตกอยู่ภายใต้การปกครองของฮอลแลนด์ ชาวอินโดนีเซียได้ลุกขึ้นต่อต้านการปกครองของฮอลแลนด์หลายครั้ง แต่ไม่สามารถเอาชนะได้การเคลื่อนไหวเพื่อกอบกู้เอกราช ได้มีการจัดตั้งสมาคม Budi Utom (ความบากบั่นอันสูงส่ง) ขึ้นในปี พ.ศ.2451 ได้ร่วมกันก่อตั้งพรรคการเมืองขึ้นหลายพรรค เพื่อเป็นข้อต่อรองในการเรียกร้องเอกราชจากฮอลแลนด์ปี พ.ศ.2467 กลุ่มนักศึกษา ได้ตั้งสมาคมนักศึกษาอินโดนีเซีย โดยมี ดร.โมฮัมหมัดอัตตา เป็นหัวหน้า ต่อมาในปี พ.ศ.2470 ดร.โมฮัมหมัดอัตตา ได้จัดตั้งองค์การสหพันธ์ โดยยรวมพรรคการเมืองของอินโดนีเซียทั้งหมดเข้าด้วยกันในปีเดียวกัน ดร.ซูการ์โน และบุคคลชั้นนำอีกหลายคนได้ร่วมกันจัดตั้งพรรคชาตินิยมอินโดนีเซียขึ้น และใช้ภาษาบาฮาซา อินโนีเซียเป็นภาษากลางในการติดต่อ ประสานงานสนับสนุนนโยบายที่จะไม่ให้ความร่วมมือใด ๆ แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองของฮอลแลนด์ การเคลื่อนไหวดังกล่าวได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางในกลุ่มเยาวชน และทำให้เกิดองค์การยุวชนขึ้นในท้องถิ่นต่าง ๆสมัยการยึดครองของญี่ปุ่น ในระหว่างสงครามมหาเอเซียบูรพา กองทัพญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองอินโดนีเซียได้ระหว่างปี พ.ศ.2485 - 2487

 กองทัพญี่ปุ่นพยายามเอาใจชาวอินโดนีเซียด้วยการปล่อยตัวผู้นำทางการเมืองที่ถูกทางการฮอนแลนด์คุมขังไว้การประกาศอิสระภาพ เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามใน ปี พ.ศ.2488 ญี่ปุ่นได้เปิดโอกาสให้ชาวอินโดนีเซียในการนำของ ดร.ซูการณ์โน และ ดร.โมฮัมหมัด ฮัตตา ประกาศอิสระภาพของอินโดนีเซีย เมื่อปี พ.ศ.2488 พร้อมกับประกาศหลักการแห่งรัฐห้าประการ (ปัญจศีล) คือ

เชื่อมั่นในพระเจ้าสูงสุดเพียงองค์เดียว
มวลมนุษย์แห่งอารยะ
ชาตินิยม
ประชาธิปไตย
ความยุติธรรมของสังคม

อินโดนีเซียได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรก เมื่อปี พ.ศ.2488 และได้เลือกตั้ง ดร.ซูการ์โน เป็นประธานาธิบดี และ ดร.โมฮัมหมัด ฮัตตา เป็นรองประธานาธิบดีหลังจากที่ได้ประกาศอิสระภาพได้ไม่นาน ฮอนแลนด์ก็ได้พยายามกลับเข้ายึดครองอินโดนีเซียอีก ทำให้เกิดการสู้รบอย่างรุนแรงบนเกาะสุมาตรา เมื่อ 10 พฤศจิกายน 2488 อินโดนีเซียจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันวีรบุรุษแห่งชาติ และมีการฉลองเป็นประจำทุกปีจากเหตุการนองเลือดดังกล่าว ทำให้อินโดนีเซียประกาศใช้นโยบายสันติ และเป็นมิตรกับทุกประเทศ และแสวงหาการสนับสนุนจากอังกฤษ ได้ตกลงเซ็นสัญญา เมื่อปี พ.ศ.2490 โดยฮอนแลนด์ยอมรับรองอธิปไตยของอินโดนีเซียเหนือเกาะชวา มาดุรา และสุมาตรา แต่ฮอนแลนด์ไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญา ได้ให้ทหารเข้ายึดครองอินโดนีเซีย และจับกุมประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีไปควบคุมตัวไว้ในปี พ.ศ.2492 ประเทศในเอเซียรวม 19 ประเทศ ได้ร่วมประชุมกันที่กรุงนิวเดลฮี เพื่อเรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ บังคับให้ฮอลแลนด์ ปล่อยตัวนักโทษการเมือง ของอินโดนีเซียทั้งหมด และมอบอธิปไตยให้อินโดนีเซีย ภายในปี พ.ศ.2493 สหประชาชาติได้ตกลงให้มีการหยุดยิงในอินโดนีเซีย และให้ฮอลแลนด์ปล่อยตัวผู้นำทางการเมืองทั้งหมด กับจัดให้มีการประชุมขึ้นที่กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ.2492 จากการประชุมครั้งนี้ ทำให้อินโดนีเซีย ได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ เมื่อ 27 ธันวาคม 2492 ยกเว้นเกาะอิเรียนตะวันตก ยังคงอยู่ในการปกครองของเนเธอร์แลนด์

สภาพทางสังคมชีวิตความเป็นอยู่ ฐานะความเป็นอยู่ของประชากรมีความแตกต่างกันมาก ส่วนใหญ่มีฐานะค่อนข้างยากจน หลังจากอินโดนีเซียได้ประกาศเอกราช เมื่อปี พ.ศ.2488 ก็ได้เริ่มพัฒนาประเทศในหลายด้าน โดยตั้งหน่วยงานของรัฐขึ้นหลายแห่ง มีหน่วยงานที่สำคัญคือ กระทรวงกิจการของสังคมนอกจากหน่วยงานของรัฐแล้วยังมีองค์การ และสมาคมต่าง ๆ ที่พยายามเข้าช่วยเหลือแก้ปัญหาของสังคมอยู่เป็นจำนวนมาก โดยยึดหลักขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ ระบบโกตองโรยองได้แก่ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อาชีพอาชีพหลักของประชาชนอินโดนีเซียได้แก่
การเพาะปลูก ผลิตผลที่สำคัญทำรายได้ให้กับประเทศได้แก่ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพด มันเทศ ยาง มะพร้าวและน้ำตาล
การทำป่าไม้ อินโดนีเซียมีพื้นที่ป่าประมาณ 114 ล้านเฮกตาร์ และนโยบายของรัฐบาลสนับสนุนอุตสาหกรรมผลิตไม้แปรรูป จึงเป็นอาชีพสำคัญอาชีพหนึ่งของประชาชน
การประมง แม้อินโดนีเซียจะเป็นเกาะ แต่อาชีพทางการประมงยังไม่ค่อยเจริญ ประชาชนที่มีอาชีพประมงก็เป็นประชาชนที่อยู่ตามชายฝั่งทะเล การใช้เครื่องมือทางประมง ยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร ส่วนใหญ่เป็นการประมงขนาดย่อม
การเลี้ยงสัตว์ มีการเลี้ยงกันเกือบทุกชนิด แต่ที่นิยมกันมาก และมีปริมาณการผลิตสูงได้แก่วัวเนื้อ วัวนม ควาย แพะและแกะ
การทำเหมืองแร่ เป็นอาชีพสำคัญของประชากร เพราะประเทศอินโดนีเซียอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรแร่ธาตุต่าง ๆ
การอุตสาหกรรม อินโดนีเซียมีโรงงานอุตสาหกรรมหลายประเภทที่สำคัญ ๆ ได้แก่ โรงงานผลิตอาหารสำเร็จรูป โรงงานผลิตเครื่องมือทางการเกษตร โรงงานยาสูบ โรงงานอุตสาหกรรมไม้แปรรูป โรงงานเครื่องหนัง โรงงานปูนซีเมนต์ โรงงานสร้างรถยนต์ และโรงงานสร้างเครื่องบิน

การอพยพย้ายถิ่นฐานเพื่อคลี่คลายความหนาแน่นของประชากรในบางแห่ง และเพื่อกระจายให้เกิดความสมดุลของประชากร รัฐบาลจึงได้มีการอพยพ ย้ายถิ่นฐานเช่น ย้ายผู้ที่ชอบทำการกสิกรรมให้ไปอยู่ในภูมิภาคที่มีคนอยู่น้อย รัฐบาลได้ให้ความช่วยเหลือในการย้ายถิ่นฐาน โดยจัดหาที่ดิน บ้าน รวมทั้งโรงเรียนระดับประถม และมัธยม การสาธารณสุขและสิ่งจำเป็นขั้นมูลฐานเช่น ถนน สหกรณ์ ศาลาประชาชน ศาสนสถาน และอุปกรณ์การเกษตร เป็นต้นโดยที่เกาะชวาซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองหลวง มีประชากรหนาแน่น และส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาสูง มีฐานะดี เป็นคนมุสลิมที่ไม่เคร่งครัดมาก เนื่องจากพระพุทธศาสนาได้เข้ามารุ่งเรืองอยู่จนเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาอยู่ก่อน ตั้งแต่ปี พ.ศ.143 - 743 นอกจากนี้เกาะชวายังเป็นศูนย์ทางวัฒนธรรม และโดยความเชื่อในปัจจุบัน ประมุขของรัฐหรือประธานาธิบดีต้องเป็นคนชวา รัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะพยายามอพยพคนชวาไปอยู่ในติมอร์ตะวันออก (ก่อนแยกตัวเป็นอิสระ) สุมาตราเหนือ (เฉพาะที่อาเสรี) สุลาเวสีและกาลิมันตันจิตสำนึกของชนกลุ่มต่าง ๆ ในการรักษาผลประโยชน์ของชาติ เนื่องจากอินโดนีเซียประกอบด้วย ชนหลายเผ่าพันธ์ และกระจัดกระจายอยู่ตามเกาะต่าง ๆ ทั่วประเทศ ชนเหล่านี้มีขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมแตกต่างกันไป ทำให้รัฐบาลต้องหาทางที่จะให้ชนเหล่านี้ มีจิตสำนึกในการเป็นคน เชื่อชาติเดียวกัน ด้วยวิธีการต่าง ๆ ให้ใช้ภาษาเดียวกันเป็นภาษากลางประจำชาติ (ภาษาฮาซา อินโดนีเซีย) สร้างคำขวัญโน้มน้าวจิตใจขึ้นเช่น ประเทศเดียว ชาติเดียว ภาษาเดียว ปลูกฝังหลักปัญจศีล ขนบธรรมเนียมโกตองเรยอง และบินเนกาตุงกาลอิกะ (สามัคคีในชนต่างเผ่า) ให้ประชาชนยึดมั่นโดยทั่วไปแล้วชาวอินโดนีเซีย จะมีความสมัครสมานสามัคคีกันเป็นอันดี เพราะได้ต่อสู่เพื่อความเป็นเอกราชมาด้วยกัน และรู้ถึงความลำบากยากแค้น ในสมัยที่ตกเป็นอาณานิคมของชาวตะวันตกมาเป็นอย่างดี สิ่งเหล่านี้ทำให้ชาวอินโดนีเซียมีความสามัคคี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมาตลอดในอดีตที่ชาวอินโดนีเซียเคยอยู่ภายใต้การปกครองของคนต่างชาติมาเป็นเวลาช้านาน ทำให้ชาวอินโดนีเซียรังเกียจชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวยุโรป ด้วยเหตุนี้อินโดนีเซียจึงพยายามดำเนินนโยบายที่เป็นอิสระ ไม่ผูกพันกับประเทศใด พยายามสร้างความแข็งแกร่งให้กับกองทัพ เพื่อครองความเป็นใหญ่ ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ความขัดแย้งระหว่างชนกลุ่มต่าง ๆ อินโดนีเซียมีชาวจีนโพ้นทะเลอยู่มากกว่า 3.5 ล้านคน เป็นคนจีนที่ถือหนังสือเดินทางของประเทศจีนเกือบ 1 ล้านคน ที่เหลือเป็นผู้ที่ได้รับสัญชาติอินโดนีเซียแล้ว ชาวจีนส่วนใหญ่เป็นผู้ควบคุมเศรษฐกิจที่สำคัญภายในประเทศ และบางกลุ่มยังให้การสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์ใต้ดิน ในอินโดนีเซียด้วย ทำให้ชาวอินโดนีเซีย มีความรู้สึกรังเกียจชาวจีนตลอดมา และมักจะมีการปะทะกันระหว่างชนสองเชื้อชาตินี้อยู่เสมอ ระหว่างการกวาดล้างคอมมิวนิสต์ เมื่อปี พ.ศ.2510 มีชาวจีนถูกสังหารไปเป็นจำนวนมาก รัฐบาลอินโดนีเซีย ได้ใช้มาตรการกำหนดเขตที่อยู่ และการเนรเทศชาวจีนที่มีพฤติการณ์ บ่อนทำลายอินโดนีเซีย ออกนอกประเทศ แต่ก็ไม่สามารถลดอิทธิพลของชาวจีนลงได้ ต่อมารัฐบาลอินโดนีเซียได้ผ่อนปรนให้ชาวจีนที่มีถิ่นฐานอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย โอนสัญชาติเป็นชาวอินโดนีเซียได้

ศาสนาภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ ถึงแม้ว่าอินโดนีเซียจะมีศาสนาหลายศาสนาด้วยกัน แต่เมื่อเกิดกรณีขัดแย้งในทางศาสนาก็จะเกิดในชั่วระยะเวลาอันสั้นเท่านั้น ประวัติศาสตร์ของอินโดนีเซียได้แสดงถึงการสมยอมกันในระหว่างศาสนาต่าง ๆ มาตลอดเวลากว่าพันปี ทุกอย่างได้ดำเนินไปอย่างสงบสุข ความใจกว้างในเรื่องศาสนา เป็นวิถีชีวิตของชาวอินโดนีเซียมาเป็นเวลาช้านานแล้วรัฐธรรมนูญของอินโดนีเซีย ให้สิทธิแก่ทุกคนที่จะนับถือศาสนาของตน ทุกคนมีเสรีภาพในทางศาสนา มีสิทธิที่จะเผยแพร่ศาสนาของตน เมื่อการกระทำนั้น ไม่เป็นการละเมิดต่อกฎหมาย และความสงบของสังคมและชาติบ้านเมือง
ศาสนาสำคัญในอินโดนิเซีย มีอยู่ห้าศาสนาหลัก ๆ ด้วยกันคือ
ศาสนาอิสลาม มีผู้นับถือประมาณร้อยละ 90
ศาสนาคริสต มีผู้นับถือประมาณร้อยละ 3 เป็นผู้นับถือนิกายโปแตสแตนท์ มากกว่านิกายโรมันคาธอลิคสองเท่า ผู้ที่นับถือนิกายโรมันคาธอลิค ส่วนใหญ่เป็นคนชวาภาคกลาง ชาวเกาะสุลาเวสี นุสาเตงการา และมาลูกู
ศาสนาพุทธ มีผู้นับถือประมาณร้อยละ 1
ศาสนาฮินดู มีผู้นับถือประมาณร้อยละ 3 ส่วนใหญ่อยู่ในเกาะบาหลี
ศาสนาขงจื้อ มีผู้นับถือประมาณร้อยละ 3 ส่วนใหญ่เป็นชาวจีน

การสอนศาสนาอินโดนิเซียมีมหาวิทยาลัยชั้นสูงหลายแห่ง ซึ่งมีทั้งมหาวิทยาลัยที่สอนศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาธอลิค และมหาวิทยาลัยที่สอนศาสนาอิสลามแม้ว่าอินโดนิเซีย จะมีประชากรที่นับถือศาสนาต่างกันมาก แต่ก็ไม่ก่อให้เกิดปัญหาขัดแย้งทางศาสนาที่รุนแรง แต่ก็ปรากฎว่ามีกลุ่มต่อต้านรัฐบาลหลายกลุ่ม ที่พยายามใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือ ในการดำเนินงาน เช่น ขบวนการคอมมานโดจีฮัด และขบวนการอาเจห์เสรี ซึ่งมีเป้าหมายที่จะจัดตั้งรัฐบาลอิสลามขึ้น แต่การดำเนินการดังกล่าวไม่สามารถขยายตัวได้มากนัก เนื่องจากไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชน และถูกปราบปรามอย่างรุนแรงจากรัฐบาลในอินโดนีเซีย ผู้แทนคริสตศาสนานิกายโรมันคาาธอลิค และนิกายโปรเตสแตนท์ ได้ดำเนินงานอย่างเข้มแข็งในพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งนอกจากดำเนินงานทางงศาสนาแล้ว ยังได้ทำงานในด้านสังคมและการศึกษา ได้สร้างสถาบันต่าง ๆ เช่น โรงพยาบาล โรงเลี้ยงเด็กกำพร้า โรงเรียนและอื่น ๆพลเมืองส่วนใหญ่ในเขตสุมาตราเหนือ (ตามูนูลี) ในซิลีบีสเหนือ (มินาฮาซา) ในนุสาเหงการา ในโบลูกัสและอิเรียนชยา ชาวเมืองได้หันไปนับถือศาสนาคริสต์ ในอินโดนีเซียมีชาวคาธอลิคประมาณ 1 ล้านคน และชาวโปรเตสแตนท์ประมาณ 2 ล้านคนสมาคมมุสลิมก็ได้ดำเนินงานอย่างเข็มแข็งเหมือนกัน งานดังกล่าวไม่เกี่ยวแต่เฉพาะศาสนาเท่านั้นแต่รวมถึงงานทุกด้านทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจของประชาชนเกาะบาหลี เป็นเกาะที่มีพลเมืองนับถือศาสนาฮินดู จะพบวัดเป็นจำนวนมาก ในชนบททุกแห่งจะมีวัดอย่างวน้อยสามวัด ซึ่งประชาชน จะพากันนำเครื่องสักการะไปบูชา เทพเจ้าเป็นประจำ ชาวบาหลีใช้ชีวิตอย่างชาวฮินดูมาช้านาน ปัจจุบันก็ยังมีมีสภาพอย่างเดิม ศาสนาพราหมณ์ฮินดูยังคงมีชีวิตอยู่ในบาหลี ศาสนาที่เป็นที่นิยมของประชาชน ชาวอินโดนีเซียประมาณ ร้อยละ 88 นับถือศาสนาอิสลาม ทำให้อินโดนีเซีย เป็นประเทศที่มีคนนับถือศาสนาอิสลาม มากที่สุดในโลก เนื่องจากอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันนดับต้น ๆ ของโลกอิทธิพลของศาสนาต่อการดำเนินชีวิต เนื่องจากอินโดนีเซียมีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม จึงมีแนวทางในการดำเนินชีวิต ตามแบบฉบับของศาสนาอิสลาม ดังนี้การครองเรือน อุดมการณ์ของศาสนาอิสลามถือว่าผู้ชายเป็นผู้นำ เป็นหัวหน้าครอบครัว เป็นผู้เลือกถิ่นที่อยู่ เป็นผู้รับผิดชอบต่อความทุกข์สุขของครอบครัว และเป็นผู้สืบสกุล ด้วยเหตุนี้อิสลามจึงห้ามขาดไม่ให้หญิงมุสลิมเป็นภรรยาของผู้ที่มีความเชื่อถือต่างกัน ผู้ใดฝ่าฝืนให้ถือว่าได้ลาออก หรือถูกไล่ออกจากสังคมอิสลามแล้ว สมาชิกของสังคมอิสลาม มีสิทธิที่จะทำการประชาทัณฑ์ด้วยการเลิกคบหาสมาคมด้วย แต่ถ้าฝ่ายชายได้เปลี่ยนอุดมการณ์ ความเชื่อถือเดิมมาเป็นอย่างเดียว กับฝ่ายหญิงแล้วด้วยความสมัครใจก่อนการสมรสกัน หญิงมุสลิมก็ทำการสมสรสด้วยได้ ผู้นับถือศาสนาอิสลามมีความยึดมั่นในข้อห้ามอย่างแน่วแน่ จนต้องนำเอาหลักจารีตประเพณี มาบังคับเป็นกฎหมาย เพื่อกำหนดสถานภาพของครอบครัว อันเป็นการจำกัดสิทธิของสตรี จนมีการดิ้นรนเรียกร้องสิทธิเพิ่มขึ้น ทางสภาผู้แทนราษฎร

การกำหนดสถานภาพทางครอบครัวของอินโดนีเซีย ตามกฎหมาย จารีตประเพณี มีดังนี้
ชายเป็นหัวหน้าครอบครัว สืบเชื้อสายทางฝ่ายชายตั้งแต่บรรพบุรุษ สตรีถ้าสมรสแล้วต้องออกจากตระกูลของตนเองมาเป็นสมาชิกในครอบครัวของสามี บุตรที่เกิดเป็นสมาชิกในครอบครัวของสามี
มารดาเป็นหัวหน้าครอบครัวสืบเชื้อสายทางฝ่ายหญิง สามีและภรรยายังอยู่ในครอบครัวเดิมของตน บุตรที่เกิดจากสมาชิกในครอบครัวของมารดา
บิดามารดา เป็นหัวหน้าครอบครัว สืบเชื้อสายทางฝ่ายชายและหญิง สามีและภรรยายังอยู่ในครอบครัวเดิมของตน ส่วนบุตรที่เกิดคงเป็นสมาชิกในครอบครัวฝ่ายบิดาและมารดา

ตามปกติในชุมชนบางแห่ง การลำดับญาตินี้ทำให้ทางฝ่ายชายมีอำนาจเหนือฝ่ายหญิง หรือหญิงมีฐานะด้อยกว่าชาย ทางฝ่ายหญิงแม้จะมีหลักฐานเหนือกว่า ก็ไม่มีอำนาจเหนือกว่าชายทุกอย่าง ส่วนทางบิดา และมารดานั้น ฐานะของหญิงเท่าเทียมชายในกฎหมายจารีตประเพณีการสมรสของชาวอินโดนีเซีย
ส่วนใหญ่ถือปฏิบัติตามประเพณี และบทบัญญัติของกฎหมายโมฮัมหมัด การหย่าร้างตามกฎหมายโมฮัมหมัด ให้สิทธิสามีเป็นผู้บอกเลิก แม้การบอกเลิกจะได้กระทำไปโดยไม่มีเหตุผล การอุปโภคและบริโภค

อิสลามแนะนำให้อยู่ดีกินดี บริโภคอาหารที่มีคุณแก่ร่างกาย และสะอาดกับจิตใจ และอุปโภคเครื่องนุ่งห่มที่ประกอบจากวัสดุที่สะอาด และรักษาให้สะอาด เตรียมพร้อมที่จะนมัสการต่อพระเจ้าอยู่เสมอตามคัมภีร์กุรอาน อิสลาม ได้เว้นการบริโภคซากสัตว์ สัตว์ที่ตายเอง เนื้อสุกร และสัตว์ทั้งหลายที่ถูกเชือด หรือถูกประหารโดยการขออนุญาตจากผู้ที่มิใช่อัลลอห์ นอกจากนี้ยังมีสัตวซ์พาวหนะและสัตว์เลี้ยงเช่น ลา แมว สุนัข สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ประเภทนกที่ใช้เท้าเป็นสื่อส่งอาหารใส่ปากเช่น แร้ง เหยี่ยว กา และสัตวว์ที่บริโภคเนื้อสัตว์ด้วยยกันเช่น เสือ สิงโตการที่ห้ามบริโภคเนื้อสัตวว์ที่ถูกฆ่า โดยผู้ที่ไม่ใช่เป็นอิสลามนั้นเนื่องมาจากสิทธิของพระเจ้า เพราะอิสลามถือว่าพระเจ้าเป็นเจ้าชีวิต แม้สัตว์ที่ยอมให้เป็นอาหารของมนุษย์แล้วก็ตาม แต่มนุษย์จะบริโภคได้ก็แต่เลือดเนื้อของสัตว์เท่านั้น ส่วนชีวิตเป็นของพระเจ้า เมื่อจะเชือด หรือประหารชีวิต เพื่อนำมาเป็นอาหารจะต้องขอนุญาตจากพระเจ้าเสียก่อน นอกจากปลาและสัตวว์น้ำ ซึ่งโดยกฎของบสวภาวะของพระเจ้า เมื่อขึ้นมาอยู่บนบกมันจะตายเองด้วยดินฟ้าอกาศ ซึ่งเป็นเครื่องมือของพระเจ้าพิธีศพ

อุดมการณ์ของอิสลามถือว่า การให้เกียรติแก่ศพ ไม่ว่าเมื่อมีชีวิตอยู่ จะถือศาสนาอะไร เป็นมารยาทอันสูงส่งที่มุสลิมทุกคนบจะถือปฏิบัติตาม การทำลายศพเป็นข้อห้ามอย่างเด็ดขาด โดยที่อุดมการณ์ของอิสลามถือว่ามนุษย์ และสรรพสิ่งทั้งหลายถูกสร้างโดยพระเจ้า ร่างกายของมนุษย์จึงยตกเป็นสิทธิของพระเจ้า เมื่อสิ้นชีวิตแล้วก็ต้องส่งยคืนไปในสวภาพเดิมและไปสู่ที่เดิมการถือศีลอด
การถือศีลอดในเดือนรอมฎอนปีละหนึ่งเดือนคือ การอดอาหาร และเครื่องดื่ม ตลอดจนการบริโภคใด ๆ ทั้งสิ้น ระหว่างเวลาก่อนรุ่งอรุณ จนตะวันตกดิน เพื่ออบรมให้มีความอดทนต่อความหิวกระหาย เพื่อใให้รู้ซึ้งถึงอาการของความหิวกระหายว่าเป็นประการใด เพื่อมนุษย์ที่เกิดความหิวกระหาย เพราะอัตคัดขัดสน ควรจะได้รับการช่วยเหลืออย่างไรและเพียงใดการบำเพ็ญฮัจยี
การไปร่วมกันประกอบพิธีฮัจยีในเมืองเมกกะห์หนึ่งครั้งในชีวิตนั้น ถือปฏิบัติสำหรับผู้มีกำลังทรัพย์และกำลังกายเท่านั้น เพื่อประโยชนน์ในการอบรมจิตใจ ให้นิยมความเสมอภาค เพราะในพิธีนี้ไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์หรือคนธรรมดาสามัญที่รวมอยู่ในพิธีจะต้องแต่งกาย และกระทำพิธีอย่างเดียวกันหมดปูชนียสถาน

ปูชนียสถานในพระพุทธศาสนาได้แก่ โบโร บูเดอร์ (borobudur) อยู่ในยอร์คจาการ์ตา สร้างเมื่อปี พ.ศ.800 ศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์ฮินดู ในเกาะบาหลี และมัสยิดอัล อาซาร์ของศานาอิสลาม ที่สร้างขึ้นภายหลังศาสนสวถานของพระพุทธศาสนา และศาสนาพราหมณ์ฮินดู ความเชื่อของคนอินโดนีเซีย คนอินโดนีเซียเชื่อเรื่องวิญญาณ พระเจ้า บรรพบุรุษ ภูติผีปีศาจ ดวงดาว ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งพบมากในเกาะบาหลีและเกาะต่าง ๆ ที่ควารมเจริญสมัยใหม่ยังเข้าไปไม่ถึง

Cr: www.baanjomyut.com

ประวัติศาสตร์สิงคโปร์

สิงคโปร์ (Singapore)
ประวัติศาสตร์สิงคโปร์


สิงคโปร์เป็นที่รู้จักกันครั้งแรกในสมัยศตวรรษที่ 3 ของชาวจีน พวกเขาเรียกสิงคโปร์ว่า "พู เลา ชุง" (เกาะปลายคาบสมุทร") ณ เวลานั้นไม่ค่อยมีใครทราบประวัติของเกาะแห่งนี้มากนัก แต่ว่าชื่อเรียกนี้ไม่สื่อให้เราเห็นอดีตอันมีสีสันของสิงคโปร์เลย

ในศตวรรษที่ 14 สิงคโปร์ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรศรีวิชัย (Sri Vijayan Empire) และรู้จักกันในชื่อของเทมาเซ็ค (เมืองแห่งทะเล) สิงคโปร์ตั้งอยู่ตรงปลายแหลมมลายู ซึ่งเป็นจุดนัดพบทางธรรมชาติของเส้นทางเดินเรือ เกาะแห่งนี้จึงกลายเป็นจุดแวะพักของเรือเดินสมุทรหลายประเภท ตั้งแต่เรือสำเภาจีน เรืออินเดีย เรือใบอาหรับ และเรือรบของโปรตุเกส ไปจนถึงเรือใบบูจินีส

ในศตวรรษที่ 14 เกาะที่มีขนาดเล็กแต่มีทำเลที่เยี่ยมแห่งนี้ก็ได้ชื่อใหม่ นั่นก็คือ "สิงหปุระ" ("เมืองสิงโต") ตามตำนานเล่าว่า เจ้าชายแห่งศรีวิชัยมองเห็นสัตว์ตัวหนึ่งแต่เข้าใจผิดว่าเป็นสิงโต ชื่ออันปัจจุบันของสิงคโปร์ก็ถือกำเนิดขึ้น

ชาวอังกฤษคือผู้สร้างประวัติศาสตร์ตอนต่อมาของสิงคโปร์ ระหว่างศตวรรษที่ 18 นั้น อังกฤษเล็งเห็นถึงความสำคัญของ "จุดแวะพัก" ทางยุทธศาสตร์ สำหรับซ่อม เติมเสบียง และคุ้มกันกองทัพเรือของอาณาจักรที่เติบใหญ่ของตน รวมถึงเพื่อขัดขวางการรุกคืบของชาวฮอลแลนด์ในภูมิภาคนี้
ในปี ค.ศ.1824 เพียงแค่ห้าปีหลังจากตั้งประเทศสิงคโปร์ในปัจจุบัน ประชากรก็เพิ่มขึ้นจากเดิมเพียง 150 คนจนกลายเป็น 10,000 คน ในปี 1832 สิงคโปร์กลายเป็นศูนย์กลางรัฐบาลของถิ่นฐานช่องแคบปีนัง มะละกา และสิงคโปร์ การเปิดคลองซุเอซในปี 1869 และการเข้ามาของเครื่องโทรเลขและเรือกลไฟทำให้ความสำคัญของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นจนกลายเป็นศูนย์กลางการค้าที่กำลังขยายตัวระหว่างโลกตะวันตกและตะวันออกการตั้งอาณานิคมเป็นการใช้อำนาจของประเทศหนึ่งเหนืออีกประเทศหนึ่ง ส่วนใหญ่แล้วเพื่อหวังผลกำไร ผลกำไรมาจากการตั้งด่านสินค้าในประเทศอาณานิคม ตามประวัติศาสตร์แล้ว เกาะสิงคโปร์ เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวประมงมาเลย์ เป็นสถานที่ที่จับปลาได้ดีเพราะตั้งอยู่ปากแม่น้ำสิงคโปร์ ก่อนที่ชาวยุโรปจะเข้ามาตั้งรกรากอยู่ แต่ในปัจจุบันสิงคโปร์ถูกจดจำเป็นเกาะแห่งเมืองหลวง ชนพื้นเมืองและชาวชนบทจะอาศัยอยู่แถบชายฝั่งและแม่น้ำ ตามประวัติศาสตร์ระบุว่า บริษัท บริติช อินเดีย นำโดย เซอร์ สแตมฟอร์ด ราฟเฟิลส์ เข้ามาตั้งด่านสินค้าบนเกาะทำให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญที่สุดในปี 1989 กองทหารของสิงคโปร์ภายใต้บริษัท บริติช อินเดีย ก็ประสบความสำเร็จด้วย กำลังทหารของประเทศสื่อถึงพลังของประเทศ สิ่งเหล่านี้ทำให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางแห่งความทันสมัยจากความสำเร็จทางด้านการค้าและการทหาร ในขณะเดียวกัน สิงคโปร์ก็เป็นศูนย์กลางอำนาจของประเทศอังกฤษในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การตั้งด่านสินค้าในสิงคโปร์ทำให้เกาะนี้เป็นท่าเรือที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก การมาเข้ามามีอำนาจของอังกฤษในพื้นที่แหลมมาเลย์ในช่วงปี 1920 เปลี่ยนแปลงมาเลย์เป็นแหล่งผลิตยางพาราและดีบุกที่ยิ่งใหญ่ และสินค้าถูกส่งออกผ่านทางเกาะสิงคโปร์ จนกระทั่งปลายศตวรรษที่ 19 สิงคโปร์กลายเป็นศูนย์กลางการบริหารงานสำหรับมลายา จนภายหลังกรุงกัวลา ลัมเปอร์ ถูกประกาศให้เป็นเมืองหลวงของสิงคโปร์ ในปี 1934 รัฐบาลอังกฤษยกเลิกอำนาจควบคุมบริษัท บริติช อินเดีย และเส้นทางสินค้าต่างๆถูกแทรกแซงได้ สิ่งนี้เป็นไปได้เพราะสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมในปี 1842 สนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม คือ สนธิสัญญาต่างๆที่เซ็นยินยอมโดยประเทศเอเชียตะวันออกต่างๆ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี กับมหาอำนาจตะวันตกในช่วง ศตวรรษที่ 20 เป็น นี่ช่วงหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ชาติต่างๆในเอเชียไม่สามารถต้านทานความกดดันด้านกำลังทหารของชาติตะวันตก ที่ใช้ผ่านสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมได้ จึงต้องเซ็นยินยอม

การนำเรือกลไฟมาใช้ขนส่งสินค้า ทำให้การขนส่งเร็วขึ้น และราคาถูกขึ้น เพราะมีความสามารถมากกว่าเรือพายนี่เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การค้าเติบโตในสิงคโปร์ การเปิดใช้คลองสุเอช มีผลต่อการค้าอย่างมาก เพราะช่วยให้การใช้เวลาเดินทาง เช่น จากยุโรป ไปเอเชีย ลดลงอย่างมาก ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสทางการค้าของสิงคโปร์มากขึ้น กิจกรรมทางการค้าที่สร้างผลประโยชน์ให้กับสิงคโปร์ได้แก่ สินค้าที่ผู้ค้านำเข้าและส่งออกสินค้าไม่ต้องเสียภาษี ผลประโยชน์ทางการค้าสำเร็จได้ด้วยการตั้งข้อกำหนดสินค้าและความสำคัญของสินค้า ตัวอย่างเช่น ความต้องการเครื่องเทศในยุโรปรวมกับสินค้าอื่นๆทำให้สิงคโปร์เป็นด่านสินค้าที่สำคัญ สิงคโปร์สร้างผลกำไรโดยติดราคาตลาดสูงกว่าราคาทุน ในปัจจุบันการค้าแบบนี้ถูกแทนที่โดยศุลกากรซึ่งเรียกเก็บภาษีจากสินค้าต่างๆ

จากการที่เศรษฐกิจเจริญเติบโตอย่างมาก ผู้บริหารจากอังกฤษจึงไม่ได้ให้เงินทุนกับเกาะแห่งนี้ ผลที่ตามมาก็คือสุขภาพของประชาชนถูกละเลย และประชาชนชาวสิงคโปร์จึงติดเชื้อต่างๆมากมาย เช่น อหิวาตกโรค และไข้ทรพิษ โรคขาดอาหารกลายเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง และผู้เสพย์ฝิ่นที่เป็นปัญหาสังคม ประชากรเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากและอังกฤษก็ไม่ได้ให้ความสนใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้น จุดมุ่งหมายของการตั้งอาณานิคม คือ ลดความสำคัญของวัฒนธรรมพื้นเมือง และส่งเสริมวัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจของประเทศตนในประเทศอาณานิคม โดยไม่สนใจความยากลำบากของชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในประเทศนั้น การบริหารของอังกฤษนั้นไร้ประสิทธิภาพ สนใจแต่เพียงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเท่านั้น พวกเขาไม่เข้าใจภาษาและขนบธรรมเนียมของชนพื้นเมือง ไม่สนใจที่จะรักษา และช่วยเหลือการพัฒนาสังคมเลย บทความที่เขียนโดย ดาริโอ โฟ ที่ชื่อว่า “ผิวสีดำ และ หน้ากากสีขาว” อธิบายว่าผู้ล่าอาณานิคมไม่เคยช่วยเสริมสร้างประวัติศาสตร์ของประเทศที่ถูกล่า พวกเขาจะเสริมสร้างและแผ่ขยายประวัติศาสตร์ของประเทศแม่ของตน นี่อาจเป็นเหตุผลที่ทำไมประวัติศาสตร์จึงเปลี่ยนแปลงได้ง่ายๆ แต่ละประเทศมีมุมมองต่างกันทางด้านประวัติศาสตร์ ผู้ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับสมัยหลังยุคอาณานิคมมุ่งหมายที่จะยกเลิกมุมมองที่มองประเทศแถบยุโรปเป็นหลักในประวัติศาสตร์ และงานเขียนต่างก็มุ่งหมายที่จะจัดระเบียบประวัติศาสตร์ใหม่และเพิ่มมุมมองที่เท่าเทียมกันเข้าไปให้ผู้อ่านได้รับรู้มากขึ้น กฎของอังกฤษถูกยกเลิกไปในปี 1942 และกองทัพญี่ปุ่นบุกยึดสิงคโปร์ ผลของการบุกเข้ามาของกองทัพญี่ปุ่นในเขตอาณานิคมอังกฤษจึงเกิดการต่อสู้ขึ้น สิงคโปร์เป็นหนึ่งในประเทศที่ต่อต้านฝ่ายอักษะในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กลุ่มประเทศอักษะ ได้แก่ ญี่ปุ่น เยอรมัน และ อิตาลี สิงคโปร์มีฐานกำลังทหารของประเทศอังกฤษอยู่ และถูกขนานนามว่า “ยิบรอลตาแห่งตะวันออก” เป็นเรื่องน่าตกใจอย่างยิ่งที่ญี่ปุ่นเข้ามาบุกยึดได้ภายใน 8-9วัน นั่นคือ ตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 1942 ถึง 15 กุมภาพันธ์ 1942 การต่อสู่นี้เป็นการยอมแพ้อย่างสิ้นเชิงของกองทัพภายใต้บริษัท บริติช อินเดีย เชอร์ชิลให้ความเห็นว่าความล้มเหลวที่เสียสิงคโปร์ให้ญี่ปุ่นเป็นความเสียหานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์อังกฤษ 


ในปี 1965 สิงคโปร์กลายเป็นรัฐอิสระ และประกาศเป็นประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ
เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 1965 ภายหลังในปี 1965 สิงคโปร์ได้เข้าร่วมสหประชาชาติในเดือนกันยายน หลังจากที่สิงคโปร์ได้หลุดพ้นจากการเป็นประเทศอาณานิคมและได้รับอิสระ ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนก็ดีขึ้นอย่างมาก ปัจจุบัน สิงคโปร์อยู่ในประเทศอันดับต้นๆสำหรับนักท่องเที่ยวที่เสาะหาสรวงสวรรค์บนโลกนี้ การลงทุนจากต่างชาติมีมากขึ้น และการเพิ่มผลประโยชน์ให้รับกับมาตรฐานโลกด้านอุตสาหกรรมทำให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรม ด่านสินค้า การศึกษา ความเป็นมหานคร และความทันสมัย ทุกวันนี้สิงคโปร์ได้ส่งเสริมการเป็นประเทศแห่งศิลปะ เชื้อเชิญผู้คนจากต่างประเทศให้เข้ามาเยี่ยมชมได้มากมาย แผนอุตสาหกรรมถูกนำมาปฏิบัติโดย อัลเบิร์ต วินซิมุส นักเศรษฐศาสตร์ชาวดัตช์ และสิงคโปร์ก็ได้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากสังคมที่เป็นระเบียบเรียบร้อยและการวางแผนทางเศรษฐกิจ เกี่ยวกับอัตรา จีดีพี สิงคโปร์อยู่ในอันดับที่5 ของประเทศที่ร่ำรวยที่สุดของโลก เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์

ทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ที่มีการดึงเอาทุนจากเงินสำรองของประเทศออกมาหลายร้อยล้านโดยการอนุญาตของนายกรัฐมนตรี ในส่วนหนึ่งของการฟื้นฟูประเทศเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2009 ภายใต้การควบคุมของรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง สิงคโปร์ คือ นาย เธอร์แมน แชนมูการัตนัม เงินทุนสำรองของสิงคโปร์มีสูงถึง 170.00 ร้อยล้าน ดอลล่าร์ สหรัฐฯ จากผลสำรวจทางเศรษฐกิจพบว่า สิงคโปร์เป็นเมืองที่มีค่าครองชีพแพงเป็นอันดับที่ 10 ของโลก นี่เป็นผลมาจากประชากรสิงคโปร์ซึ่งมีความหลากหลายและเป็นสากล ที่อาศัยอยู่อย่างสามัคคีและมั่งคั่งภายใต้การรวมตัวกันของชนพื้นเมืองชาวจีน

ประวัติศาสตร์พม่า

ประวัติศาสตร์พม่า



มนุษย์ได้เข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนของประเทศพม่าราว 11,000 ปีมาแล้ว แต่ชนเผ่าแรกที่สามารถสร้างอารยธรรมขึ้นเป็นเอกลักษณ์ของตนได้ก็คือชาวมอญ ชาวมอญได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้เมื่อราว 2,400 ปีก่อนพุทธกาล และได้สถาปนาอาณาจักรสุวรรณภูมิ อันเป็นอาณาจักรแห่งแรกขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 2 ณ บริเวณใกล้เมืองท่าตอน (Thaton) ชาวมอญได้รับอิทธิพลของศาสนาพุทธผ่านทางอินเดียในราวพุทธศตวรรษที่ 2 ซึ่งเชื่อว่ามาจากการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช บันทึกของชาวมอญส่วนใหญ่ถูกทำลายในระหว่างสงคราม วัฒนธรรมของชาวมอญเกิดขึ้นจากการผสมเอาวัฒนธรรมจากอินเดียเข้ากับวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของตนเองจนกลายเป็นวัฒนธรรมลักษณะลูกผสม ในราวพุทธศตวรรษที่ 14 ชาวมอญได้เข้าครอบครองและมีอิทธิพลในดินแดนตอนใต้ของพม่า

ยุคทองของมอญเริ่มที่ หงสาวดี หรือที่เรียกว่า พะโค (เมียนมาร์ออกเสียงแบ่กู) โดยพระเจ้าปยาอู ได้ย้ายราชธานีมาอยู่ที่หงสาวดีในปี พ.ศ. 1908 และเมืองนี้ได้เจริญรุ่งเรืองติดต่อกันมาเกือบ 300 ปี พระมหากษัตริย์ของมอญที่ไทยเราคุ้นเคยพระนาม ได้แก่ พระเจ้าราชาดีริด (พระเจ้าราชาธิราช) พระนางชินส่อปุ๊ (พระนางเช็งสอบู) และพระเจ้าธรรมเจดีย์ เป็นต้น อาณาจักรมอญได้รบพุ่งกับชาวพม่ามาเป็นเวลานาน ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะเรื่อยมา จนใน พ.ศ. 2084 พระเจ้า ตะเบงเชวตี้ ได้บุกตีเมืองหงสาวดีและยึดเมืองได้ ทรงสถาปนาหงสาวดีเป็นราชธานีของอาณาจักรพุกามที่ 2 อาณาจักรมอญได้ฟื้นขึ้นอีกใน พ.ศ. 2283 แต่อยู่ได้เพียง 17 ปี ก็ถูกพระเจ้าอลองพญาแห่งราชวงศ์โคบองของพม่า กรีฑาทัพมาปราบปรามและรวมอาณาจักรมอญไว้ในอำนาจของพม่าเรื่อยมา ชาวมอญที่หนีรอดได้มาพึ่งไทย บางส่วนที่เหลืออยู่ก็ถูกกลืนโดยการแต่งงานกับชาวพม่า และถูกผนวกเป็นรัฐหนึ่งในประเทศเมียนมาร์มาจนปัจจุบันนี้ แต่ชาวมอญยังมีความพยายามกู้ชาติมาจนทุกวันนี้เช่นกัน

ชาวปยูหรือพยูเข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนประเทศพม่าตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 4 และได้สถาปนานครรัฐขึ้นหลายแห่ง เช่นที่ พินนาคา (Binnaka) มองกะโม้ (Mongamo) ศรีเกษตร (Sri Ksetra) เปียทะโนมโย (Peikthanomyo) และหะลินยี (Halingyi) ในช่วงเวลาดังกล่าว ดินแดนพม่าเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางการค้าระหว่างจีนและอินเดีย

จากเอกสารของจีนพบว่า มีเมืองอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของชาวพยู 18 เมือง และชาวพยูเป็นชนเผ่าที่รักสงบ ไม่ปรากฏว่ามีสงครามเกิดขึ้นระหว่างชนเผ่าพยู ข้อขัดแย้งมักยุติด้วยการคัดเลือกตัวแทนให้เข้าประลองความสามารถกัน ชาวพยูสวมใส่เครื่องแต่งกายที่ทำจากฝ้าย อาชญากรมักถูกลงโทษด้วยการโบยหรือจำขัง เว้นแต่ได้กระทำความผิดอันร้ายแรงจึงต้องโทษประหารชีวิต ชาวพยูนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท เด็ก ๆ ได้รับการศึกษาที่วัดตั้งแต่อายุ 7 ขวบจนถึง 20 ปี

นครรัฐของชาวพยูไม่เคยรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่นครรัฐขนาดใหญ่มักมีอิทธิพลเหนือนครรัฐขนาดเล็กซึ่งแสดงออกโดยการส่งเครื่องบรรณาการให้ นครรัฐที่มีอิทธิพลมากที่สุดได้แก่ศรีเกษตร ซึ่งมีหลักฐานเชื่อได้ว่า เป็นเมืองโบราณที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศพม่า ไม่ปรากฏหลักฐานว่าอาณาจักรศรีเกษตรถูกสถาปนาขึ้นเมื่อใด แต่มีการกล่าวถึงในพงศาวดารว่ามีการเปลี่ยนราชวงศ์เกิดขึ้นในปีพุทธศักราช 637 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอาณาจักรศรีเกษตรต้องได้รับการสถาปนาขึ้นก่อนหน้านั้น มีความชัดเจนว่า อาณาจักรศรีเกษตรถูกละทิ้งไปในปีพุทธศักราช 1199 เพื่ออพยพย้ายขึ้นไปสถาปนาเมืองหลวงใหม่ทางตอนเหนือ แต่ยังไม่ทราบอย่างแน่ชัดว่าเมืองดังกล่าวคือเมืองใด นักประวัติศาสตร์บางท่านเชื่อว่าเมืองดังกล่าวคือเมืองหะลินคยี อย่างไรก็ตามเมืองดังกล่าวถูกรุกรานจากอาณาจักรน่านเจ้าในราวพุทธศตวรรษที่ 15 จากนั้นก็ไม่ปรากฏหลักฐานกล่าวถึงชาวพยูอีก

อาณาจักรพุกาม : ความยิ่งใหญ่ของชาวพม่า
ชาวบะหม่าหรือพม่า ได้รับการบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ เมื่อราว พ.ศ.1500 โดยอพยพมาจากบริเวณพรมแดนจีน-ทิเบต ลงมาตามลำน้ำเอยาวดี (อิรวดี) เข้ามาตั้งหลักฐานอยู่บริเวณที่ราบเจ๊ะแส่ (เจ้าเซ) และกระจายตัวไปตามถิ่นต่าง ๆ แทบทุกทิศทาง เข้ายึดครองเขตพื้นที่อันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า มินบู (Minbu) และเขตพื้นที่ปลูกข้าว ตองทวินคยี (Taungdwin gyi) และเมืองแปร (Prome) ชนพม่าเริ่มมีกำลังเข้มแข็งและรวบรวมกันได้เป็นปึกแผ่น และได้สร้างเมืองปะกั่น (พุกาม)ขึ้น ในราวปี พ.ศ. 1392 เป็นศูนย์กลางควบคุมเขตลุ่มน้ำเอยาวดี และซิตตาวน์ (สะโตง) รวมถึงเส้นทางการค้าระหว่างจีนกับอินเดียด้วย

อาณาจักรพุกาม (The Empire of Pagan) ถือเป็นอาณาจักรแห่งแรกที่รุ่งเรือง อย่างมากของพม่า ในช่วงปี พ.ศ. 1587 – 1830 เราสามารถเห็นร่องรอยแห่งความยิ่งใหญ่ที่ยังหลงเหลืออยู่จากโบราณสถานต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั่วไปในเมืองพุกามปัจจุบัน จากการสำรวจพบว่า ในเมืองพุกาม มีซากเจดีย์อยู่ไม่น้อยกว่า 5,000 องค์ และเชื่อว่ามีวัดอยู่ภายในเมืองเก่านี้ไม่น้อยกว่า 13,000 วัดจนพุกามได้รับสมญานามว่า “ เมืองแห่งพระเจดีย์สี่ล้านองค์ ”

ทุ่งเจดีย์ที่พุกาม

กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่และถือว่าเป็นผู้รวบรวมประเทศพม่าให้เป็นปึกแผ่นได้ครั้งแรก คือ พระเจ้าอโนรธา (พ.ศ. 1587 – 1620) ทรงรวบรวมได้ทั้งพม่า ยะไข่เหนือ พม่าใต้ และมอญ หลังจากที่ได้ทรงพิชิตเมืองสะเทิมของมอญได้ ทรงกวาดต้อนเชลยชาวมอญกลับมาพุกาม และรับเอาวัฒนธรรมมอญเข้ามาในราชสำนัก มีการใช้อักษรมอญจดบันทึกแทนการใช้ภาษาบาลี – สันสกฤต นอกจากนี้พระเจ้าอโนรธา ทรงรับเอาศาสนาพุทธนิกายเถรวาทจากมอญเข้ามาเป็นศาสนาประจำชาติ และแพร่ขยายออกไปทั่วเอเชียอาคเนย์ ยุคทองของอาณาจักรพุกามอยู่ในสมัยของพระเจ้าญานสิทธา (พ.ศ. 1627 – 1656) ทรงเป็นพุทธมามกะที่เลื่อมใสในพระศาสนาอย่างยิ่งยวดศาสนสถานที่สำคัญในสมัยพระองค์คือ วัดอนันดาที่สวยงาม
วัดอนันดา

อาณาจักรพุกามรุ่งเรื่องอยู่จนถึงสมัยของพระเจ้านราสีหปติ(พระเจ้าหนีจีน) จึงเริ่มถึงความเสื่อม เนื่องจากถูกรุกรานจากทั้งทางแค้วนไทยใหญ่ (รัฐฉานปัจจุบัน) และในปี พ.ศ. 1830 อาณาจักรพุกามได้ถึงการล่มสลายเมื่อกองทัพมองโกลของกุบไลข่านได้ยกทัพเข้ามาปล้นเมือง หลังจากนั้น อาณาจักรที่เคยรวบรวมไว้ได้ ก็แตกเป็นรัฐเล็กรัฐน้อย ดังเช่น พวกมอญได้ตั้งตนเป็นอิสระ มีราชธานีใหม่คือหงสาวดี โดยพระเจ้าฟ้ารั่ว ชาวระไคน์ (ยะไข่) ตั้งตัวเป็นใหญ่แถบอ่าวเบงกอลขึ้นเหนือไปจนถึงเมืองจิตตะกอง (บังคลาเทศปัจจุบัน) ฝ่ายชาวไทยใหญ่ก็สถาปนาอาณาจักรของตนขึ้นในเขตพม่าเหนือ มีกรุงอังวะเป็นราชธานี ส่วนพวกพม่าได้อพยพมาตั้งหลักแหล่งบริเวณเมืองสกายริมฝั่งแม่น้ำอิรวดี (ปัจจุบันคือเมืองสกาย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของมัณฑเลย์) และบางส่วนอพยพมาอยู่ที่เมืองตองอู (ปัจจุบันยังคงใช้ชื่อเดิม ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของย่างกุ้ง)


ราว พ.ศ. 2094 - 2124 พระเจ้าบุเรงนอง ทรงผนวกเมืองต่างๆเข้าด้วยกัน เพื่อสถาปนาประเทศพม่าขึ้นอีกครั้ง นับเป็นครั้งที่ 2 และได้ทรงย้ายเมืองหลวงจากตองอูมาอยู่ ณ เมืองหงสาวดี หลังจากพระเจ้าบุเรงนองเสด็จสวรรคต พม่าอ่อนแอลงอย่างมาก ชาวมอญจึงฉวยโอกาสแข็งข้อ ลอบโจมตีจนพม่าต้องแตกพ่าย เสียเมืองหงสาวดีให้แก่มอญ ก่อนจะอพยพหนีมาอยู่ที่เมืองอังวะ ซึ่งก็ยังถูกมอญตามไปรุกรานอีก จนกระทั่งพระเจ้าอลองพญาในช่วงก่อนเสวยราชย์ ได้ทรงรวบรวมไพร่พลเข้าต่อสู้กับชาวมอญอย่างเข้มแข็ง จนชนะและได้เมืองอังวะกลับคืนมา พระองค์จึงปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์และสถาปนาราชวงศ์โคบ่องขึ้น หลังจากนั้นพระองค์ได้ทรงผนวกเมืองที่กระจัดกระจายเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อสถาปนาประเทศพม่าอีกเป็นครั้งที่ 3
พระเจ้าบุเรงนอง

ในปี พ.ศ.2298 โดยมีอังวะเป็นเมืองหลวง เมื่อพระเจ้าอลองพญาเสด็จสวรรคต พระเจ้าโบดอว์พญา(ไทยเรียกพระเจ้าปดุง)โอรสของพระเจ้าอลองพญา ซึ่งขึ้นครองราชย์สืบต่อมาได้ทรงย้ายเมืองหลวงจากอังวะมาอยู่ที่เมืองอมรปุระ (บริเวณชานเมืองมัณฑเลย์ในปัจจุบัน) ครั้นถึงสมัยพระเจ้ามินดุง พระนัดดาของพระเจ้าโบดอว์พญา พระองค์ได้ทรงย้ายเมืองหลวงอีกครั้งมาอยู่ ณ เมืองมัณฑเลย์ (พ.ศ. 2204) เนื่องจากเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์กว่าที่อื่นๆ และปกครองสืบต่อมา จนกระทั่งถึงสมัยของพระเจ้าสีป่อ โอรสของพระเจ้ามินดุง ระบอบกษัตริย์ของพม่าก็ถึงจุดสิ้นสุด พม่าถูกอังกฤษรุกรานจนตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ และถูกผนวกเป็นรัฐหนึ่งของอินเดียในปี พ.ศ. 2409 เป็นเวลายาวนานกว่าร้อยปี และเมื่ออังกฤษย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ย่างกุ้ง มัณฑเลย์จึงแปรสภาพเป็นเพียงเมืองหลวงเก่าของพม่า ต่อมาในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นรบกับอังกฤษเพื่อยึดพม่าปรากฏว่าญี่ปุ่นชนะ จึงได้ปกครองพม่าเป็นเวลา 3 ปี จนเมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่2อังกฤษจึงกลับมาปกครองพม่าในที่สุด

ต่ิอมาในปี พ.ศ. 2488 ได้มีกลุ่มชาตินิยมนำโดย นายพลอองซาน (บิดาของนางอองซาน ซูจี) ออง ซานพบว่าเอกราชที่ญี่ปุ่นสัญญาไว้ไม่เป็นความจริง ในช่วงปลายสงครามโลก จึงได้กลับไปเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อขับไล่ญี่ปุ่นออกไปจากพม่า ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) อองซานเซ็นสัญญากับสหราชอาณาจักรว่าจะมอบเอกราชให้กับพม่าภายในหนึ่งปี แต่ระหว่างการประชุมสภาเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 ออง ซานถูกลอบสังหารพร้อมกับสมาชิกสภาอีก 6 คน โดยพบว่าเป็นฝีมือของ U Saw ซึ่งเป็นคู่แข่งทางการเมืองของออง ซาน ซึ่ง U Saw ถูกประหารชีวิต. ออง ซาน เสียชีวิตเมื่อมีอายุแค่เพียง 32 ปี และยังไม่ทันเห็นเอกราชของพม่า
อองซานใน พ.ศ. 2490


พม่าเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษเป็นผลสำเร็จ ในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2491 จึงถือเอาวันนี้เป็นวันชาติของพม่า
Cr: http://www.2by4travel.com/home/Data-travel/myanma/prawatisastr-phma

ประวัติศาสตร์ประเทศเวียดนาม

เวียดนาม (Vietnam)
ประวัติศาสตร์ประเทศเวียดนาม


ยุคก่อนตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตก
ยุคที่อยู่ใต้อิทธิพลของจีน (ก่อน ค.ศ. 111- ค.ศ 938) ช่วงนี้ราชวงศ์ฮั่นบุกอาณาจักนามเวียดและผนวกเอาเป็นส่วนหนึ่งของจีน ช่วงนี้เวียดนามอยู่ใต้อิทธิพลของจีนนานถึง 1000 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่ได้อิทธิพลและรับวัฒนธรรมหลายอย่างมาจากจีน
อาณาจักรแรกของชาวเวียดนาม คืออาณาจักร นามเวียด (อาณาจักรทางตอนเหนือ) เป็นเป็นเมืองขึ้นของจีนมานาน ทำให้เวียดนามเป็นประเทศที่เดี่ยวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากจีนเป็นส่วนใหญ่ แม้ต่อมาอาณาจักรนามเวียดจะเป็นอิสระแต่ก็ยังคงส่งเครื่องบรรณาการส่งให้จีน (จีนถือว่านามเวียดเป็นเมืองประเทศราช)
ทางตอนกลางและตอนใต้ของประเทศเวียดนามในอดีตเป็นที่ตั้งของอาราจักรจามปา(พวกจาม ซึ่งปัจจุบันเป็นชนกลุ่มน้อยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม)

ช่วงที่เป็นเอกราชจากจีน (ค.ศ. 938-1009)

ช่วงนี้เป็นช่วงต้นราชวงศ์ถังซึ่งภายในจีนมีความวุ่นวายภายในเวียดนามก็สถาปนาราชวงศ์เล(Le Dynasty)

ช่วงยุคทองของประวัติศาสตร์เวียดนาม (ค.ศ. 1010 -1527)
เมื่ออาณาจักรนามเวียดทางตอนเหนือสามารถยึดพวกจามได้ทำให้อาณาจักรกว้างขวาง โดยเฉพาะในสมัยราชวงศ์เล เป็นช่วงที่มีการวางรากฐานในการพัฒนาประเทศอย่างสำคัญมากมายมีการส่งเสริมพุทธศาสนากับลัทธิขงจื้อกับลัทธิเต๋าด้วยและได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ กรุงฮานอย

ยุคแห่งการแบ่งแยก (ค.ศ. 1528-1802)
อาณาจักรถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เหนือ-ใต้ เมื่อราชวงส์เลเสื่อมอำนาจทำให้อาณาจักแบ่งออกเป็นสามส่วน
ตอนเหนือ – แคว้นตังเกี่ย – ศูนย์กลางที่กรุงฮานอย – มีตระกูลแม็ค ปกครอง
ตอนกลาง – แคว้นอันนัม – ศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเตย์โด – มีตระกูลตรินห์ ปกครอง
ตอนใต้ – แคว้นโคชินไชนา – มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเว้ – มีตระกูล เหงียน ปกครอง

ต่อมาตระกูลตรินห์ยึดแคว้นตั๋งเกี๋ยได้ ซึ่งทำให้เหลือ 2 แคว้น ต่อมาเจ้าชายเหงียนอันห์ แห่งราชวงศ์เหงียนทำการรวมประเทศ เป็นประเทศเวียดนาม (ค.ศ.1802 จึงเรียกชื่อประเทศว่าเวียดนาม)โดยความช่วยเหลือจากไทย(สมัย ร.1) และฝรั่งเศส และสถาปนาราชวงศ์ยาลอง เป็นจักรพรรดิยาลอง

จักรพรรดิยาลอง มีความสัมพันธ์ที่ดีกับฝรั่งเศสมาก และฝรั่งเศสได้เข้ามาช่วยเหลือในการรวมประเทศผลสุดท้ายฝรั่งเศสก็เข้ามาแทรกแซงภายในประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ จน ต้องตกไปเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส

ราชวงศ์เหงียน(เหวียน) เป็นราชวงศ์สุดท้ายของเวียดนาม นับตั้งแต่กษัตริย์ยาลองจนถึงกษัตริย์องค์สุดท้ายคือเบ๋าได่(Bao Dai) รวม 143 ปี (ปี ค.ศ. 1945 เป็นปีที่สิ้นสุดระบบกษัตริย์ของเวียดนาม)

เวียดนามแต่เดิมมีการปกครองแบบราชาธิปไตย(มีกษัตริย์) แบบรวมอำนาจการปกครอง มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับจีนมาไม่ต่ำกว่า 4000 ปี เคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของจีน มากว่า 1000 ปี มีการดิ้นรนต่อสู้ให้พ้นจากการยึดครองของจีนตลอดมา

ยุคที่อยู่ใต้การปกครองของชาติตะวันตก (เป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส)
ชาติตะวันตกเริ่มเข้ามาในเวียดนามในช่วง ศตวรรษที่ 1600 โดยเข้ามาทำการค้าและเผยแพร่ศาสนาคริสต์ โดยเฉพาะ ฝรั่งเศส และชาวฝรั่งเศส ชื่อ Alexandre de Rhodes ได้เข้ามาพัฒนาภาษาเวียดนามที่เดิมใช้ตัวอักษรจีน มาใช้ตัวอักษรโรมันแทน (โดยพัฒนาต่อจากมิชชั่นนารีชาวโปรตุเกสที่เริ่มไว้ก่อหน้า) และในสมัยราชวงศ์เหงียนจึงมีข้อขัดแย้งกันทางศาสนาซึ่งเดิมชาวเวียดนามนับถือศาสนาพุทธ ขงจื้อ ในช่วงปี ค.ศ. 1859-1867 ฝรั่งเศสได้เริ่มยึดครองเวียดนาม

ในสมัยราชวงศ์เหงียน เวียดนามถูกฝรั่งเศสเข้ายึดครองเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ.2427 ทำให้ประเทศถูกแบ่งออกเป็นสามส่วนคือ ภาคเหนือเป็นแคว้นตังเกี๋ย ภาคกลางเป็นแคว้นอันนัม และภาคใต้เป็นแคว้นโคชินไชนา (โคชินจีน) และถูกรวมเข้ากับเขมร และลาว เรียกว่าสหพันธ์อินโดจีน (Indochinese Federation) ในปี 1893

ในช่วงที่เวียดนามอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสนั้น ฝรั่งเศสได้พัฒนา หลายสิ่ง ทั้งด้าน การศึกษา การเกษตร ระบบเมือง ระบบถนน การสาธารณสุข มีการส่งสินค้าการเกษตรมากมาย แต่อย่างไรก็ตาม ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ก็ตกอยู่กับฝรั่งเศส

ในช่วงที่เวียดนามตกอยู่ใต้การปกครองของฝรั่งเศสนั้น ก็ได้เริ่มมีบางกลุ่มที่เริ่มต่อต้าน และต้องการปกครองของฝรั่งเศส นั้นก็คือกลุ่มของโฮจิมินห์ (กลุ่มเวียดมินห์ Viet Minh)

ยุคหลังจากได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส และ ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (สงครามมหาเอเชียบูรพา)

เมื่อเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา (สงครามโลกครั้งที่ 2 ฝากทางเอเชีย)ญี่ปุ่นได้ยกกำลังเข้ายึดอินโดจีนของฝรั่งเศส และได้ประกาศยกเลิกอำนาจการปกครองของฝรั่งเศสในปี พ.ศ.2483 (ค.ศ.1940) พร้อมกับได้มอบหมายให้จักรพรรดิเบ๋าได๋ของเวียดนาม ประกาศอิสรภาพ และจัดตั้งรัฐบาลเวียดนามขึ้นปกครองประเทศ

ก่อนหน้าที่ญี่ปุ่นจะยึดอินโดจีนของฝรั่งเศสนั้น ในเวียดนามได้มีขบวนการต่อต้านฝรั่งเศส ที่สำคัญอยู่ขบวนหนึ่งเรียกว่า สันนิบาตเพื่อเอกราชเวียดนาม หรือเวียดมินห์ (Viet Minh) ผู้ก่อตั้งขบวนการนี้คือ โฮจิมินห์ (Ho Chi Minh) ขบวนการดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะแยกสลายศัตรู และรวมพลังต่าง ๆ ให้มากที่สุด เพื่อที่จะพิทักษ์รักษาประเทศชาติ และปลดปล่อยประชาชน ฐานที่มั่นของขบวนการนี้อยู่ที่เวียดบัค (Viet Bac) และขบวนการดังกล่าว ได้กลายมาเป็น กองทัพประชาชนของเวียดนามในเวลาต่อมา ในห้วงเวลาที่ญี่ปุ่นยึดครองเวียดนาม ครั้นสงครามมหาเอเชียบูรพานั้น จีนและสหรัฐอเมริกา ได้ให้ความช่วยเหลือขบวนการนี้ เพื่อต่อต้านญี่ปุ่น ทำให้โฮจิมินห์สามารถก่อตั้งขบวนการคอมมิวนิสต์ที่มีประสิทธิภาพขึ้นทั่วประเทศ

เมื่อสงครามมหาเอเชียบูรพายุติลง(สงครามโลกครั้งที่ 2)ในปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ.1945)ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงคราม จักรพรรดิเบาได๋ได้สละราชสมบัติ และมอบอำนาจการบริหารให้แก่ฝ่ายเวียดมินห์ ฝ่ายสัมพันธมิตร โดยมีอังกฤษเป็นฝ่ายสนับสนุน ให้ฝรั่งเศสกลับเข้ามามีอำนาจในเวียดนามอีก โฮจิมินห์ได้ประกาศทำการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธอย่างเปิดเผย โดยได้ประกาศอิสรภาพ และสถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ซึ่งประกอบด้วยตังเกี๋ย อันนัม และโคชินไชน่าขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2488โดยมีกรุงฮานอยเป็นเมืองหลวง และโฮจิมินห์เป็นประธานาธิบดี



สงครามเวียดนาม (ค.ศ. 1970 -1975)
ฝรั่งเศสได้ให้การรับรองสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามดังกล่าวในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธ์อินโดจีนของฝรั่งเศส ซึ่งขัดแย้งกับเจตน์จำนงของพวก เวียดมินห์ ต่อมาในปี พ.ศ.2492 (ค.ศ. 1949)ฝรั่งเศสได้ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐเสรีแห่งเวียดนามใต้ขึ้นโดยมีจักรพรรดิเบาได๋เป็นประมุข(เป็นหุ่นเชิดของฝรั่งเศส) และมีโงดินห์เดียม (Ngo Dinh Diem) เป็นนายกรัฐมนตรี ทำให้มีการสู้รบระหว่างเวียดมินห์กับฝรั่งเศส ซึ่งเริ่มมาแต่ปลายปี พ.ศ.2489 เป็นไปอย่างรุนแรงยิ่งขึ้น ในที่สุดฝรั่งเศสเป็นฝ่ายปราชัยแก่ฝ่ายเวียดมินห์ ในสงครามที่เดียนเบียนฟู (Dien Bien Pho) เมื่อปี พ.ศ.2497(ค.ศ. 1954) ฝรั่งเศสได้ลงนามในข้อตกลงเจนีวา (Geneva Agreement) กับฝ่ายเวียดมินห์ในปีเดียวกัน โดยฝรั่งเศสยอมเคารพต่อความเป็นเอกราชอธิปไตย เอกภาพและบูรณภาพของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

 


ข้อตกลงเจนีวา (Geneva Agreement) ดังกล่าวได้ระบุให้แบ่งเวียดนามออกเป็นสองส่วน(เวียดนามเหนือ และ เวียดนามใต้) โดยใช้เส้นขนาน(เส้นละติจูด)ที่ 17 เป็นเส้นแบ่งเขตชั่วคราว และจัดให้มีเขตปลอดทหารขึ้น โดยให้ทั้งสองฝ่ายถอนทหารกลับเข้าเขตของตน ให้ประชาชนเลือกอพยพเข้าไปอยู่ในแต่ละภาคตามความสมัครใจ ภายใน 300 วัน สนธิสัญญาดังกล่าว ยังห้ามมิให้ชาวต่างชาติโยกย้ายทหาร และอาวุธเข้าไปตั้งมั่นในแต่ละภาค ห้ามเวียดนามทั้งสองฝ่ายเข้าเป็นพันธมิตรทางทหารกับต่างประเทศ และให้มีกรรมการควบคุมตรวจตราระหว่างประเทศ (ICC) ควบคุมดูแลให้เป็นไปตามข้อตกลง นอกจากนั้นยังได้กำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป เพื่อรวมเวียดนามทั้งสองฝ่ายเข้าด้วยกัน ภายในปี พ.ศ. 2499 (ค.ศ.1956) ด้วย แต่การดำเนินการรวมประเทศเข้าด้วยกันไม่ได้มีขึ้นตามข้อตกลง เนื่องจากเวียดนามใต้ไม่ยินยอม โดยอ้างว่าเวียดนามเหนือไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับการถอนทหาร โดยยังมีกองกำลังเวียดนามเหนืออยู่ในเวียดนามใต้ ประมาณ 5000 คน

ในปี พ.ศ. 2498 (ค.ศ.1955)โงดินห์เดียม นายกรัฐมนตรีเวียดนามใต้ ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา ให้ล้มเลิกระบบกษัตริย์ และเปลี่ยนรูปการปกครองของเวียดนามใต้ เป็นระบอบสาธารณรัฐ (มีประธานาธิบดีแทนกษัตริย์)โดยโงดินห์เดียม ได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของเวียดนามใต้ ในขณะเดียวกันเวียดนามเหนือ ก็ได้พยายามที่จะให้มีการออกเสียง ประชามติเกี่ยวกับการรวมเวียดนาม แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ จึงได้หันมาใช้กลวิธีทางการเมือง เริ่มด้วยการจัดตั้งขบวนการคอมมิวนิสต์เวียดนามใต้ หรือ เวียดกง (Viet Cong) ได้จัดตั้งแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ (National Liberation of South Vietnam) ขึ้นในปี พ.ศ.2503(ค.ศ.1960)โดยอ้างว่าเป็นตัวแทนของชาวเวียดนามใต้ ในการต่อสู้กับเวียดนามใต้ เพื่อให้มีการรวมเวียดนามเข้าด้วยกัน แนวร่วมดังกล่าวได้ประกาศจัดตั้ง "รัฐบาลปฎิวัติชั่วคราวแห่งเวียดนามใต้ (Provision Revotutionary) เมื่อปี พ.ศ.2512 ส่วนในด้านการทหารนั้น เวียดนามเหนือได้ปฎิบัติการรบแบบกองโจร ด้วยหน่วยกำลังขนาดเล็ก ตั้งแต่ปี พ.ศ.2498 และได้ขยายขนาดกำลังเป็นกองพันในปี พ.ศ.2506

ในขณะที่ฝ่ายเวียดกงมีความเข้มแข็งขึ้น แต่ภายในเวียดนามใต้เองกลับมีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง มีการแย่งชิงอำนาจกันหลายครั้งหลายคราว โงดินห์เดียม ถูกโค่นอำนาจและผู้นำทหารเข้ามาปกครองแทน จนถึงปี พ.ศ.2508 สหรัฐอเมริกาจึงสนับสนุนให้มีการจัดตั้งรัฐบาลแทนขึ้น โดยมี นายพล เหงียนเกากี ผู้บัญชาการทหารอากาศเป็นนายกรับมนตรี รัฐบาลชุดนี้ได้จัดร่างรัฐธรรมนูญ และจัดให้มีการเลือกตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2510 นายพลเหงียนวันเทียว ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี ได้ดำรงตำแหน่งมาถึงปี พ.ศ.2518 แต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาสำคัญให้ลุล่วงไปได้

ในระยะเวลาดังกล่าว สงครามในเวียดนามก็ได้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น สหรัฐอเมริกาได้เริ่มโจมตีทิ้งระเบิดเวียดนามเหนือเป็นครั้งแรก เมื่อเกิดวิกฤตการณ์อ่าวตังเกี๋ย ในปี พ.ศ. 2507 และในปี พ.ศ. 2508 ก็ได้ส่งกำลังทหารเข้าร่วมรบกับกำลังทหารของเวียดนามใต้โดยตรง

ในปี พ.ศ.2510 (ค.ศ. 1967) เวียดนามเหนือได้ขยายกำลังรบในเวียดนามใต้เป็นระดับของพล และได้ทำการรุกใหญ่สองครั้งคือ ในปี พ.ศ.2510 และ พ.ศ.2518 แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะถูกสกัดกั้นทางภาคพื้นดิน การโจมตีทางอากาศ และการปิดล้อมทางทะเลของสหรัฐอเมริกา และพันธมิตร ได้มีการเจรจาสันติภาพที่กรุงปารีส เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2511 (ค.ศ. 1968) ได้มีการลงนามในปี พ.ศ.2516 กำหนดให้มีการหยุดยิงในเวียดนามใต้ และให้มีการถอนกำลังทหารสหรัฐอเมริกา และพันธมิตรออกจากเวียดนามใต้ ระบุให้เวียดนามใต้ และเวียดนามเหนือ จัดตั้งสภาเพื่อความสามัคคีปรองดอง เพื่อทำหน้าที่จัดการเลือกตั้งทั่วไปในเวียดนาม และให้มีการรวมเวียดนามเข้าด้วยกัน และยังกำหนดให้สหรัฐอเมริกา ให้ความช่วยเหลือในการฟื้นฟูบูรณาอินโดจีน รวมทั้งเวียดนามเหนือภายหลังสงครามสิ้นสุดลงด้วย

ในทางปฎิบัติปรากฎว่า ประสบผลแต่เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการถอนทหารสหรัฐอเมริกา และพันธมิตรออกจากเวียดนามใต้ การแลกเปลี่ยนเชลยศึก การกวาดทุ่นระเบิด และยุติการลาดตระเวรทางอากาศ ในเวียดนามเหนือเท่านั้น แต่การยุติการสู้รบไม่ได้มีผลการปฎิบัติอย่างแท้จริง การเจรจาเพื่อกำหนดอนาคตทางการเมือง ระหว่างเวียดนามใต้กับเวียดกง ที่เริ่มเมื่อปี พ.ศ.2516 ได้ยุติลงโดยสิ้นเชิง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2517

ในต้นปี พ.ศ.2518 (ค.ศ. 1975)ฝ่ายเวียดนามเหนือได้เริ่มการรุกใหญ่อีกครั้ง เข้าไปในเขตเวียดนามใต้ ฝ่ายเวียดนามใต้ซึ่งขาดการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา ตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบในการรบ ฝ่ายเวียดนามเหนือยึดครองพื้นที่ ได้สองในสามของพื้นที่ทั้งหมดในเวียดนามใต้ ก็ได้ใช้กำลังกดดันไซ่ง่อนอย่างหนัก จนฝ่ายเวียดนามใต้ยอมจำนน เมื่อ 30 เมษายน 2518

เมื่อเวียดนามเหนือยึดครองเวียดนามใต้แล้ว ก็รวมเวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้เข้าด้วยกัน โดยใช้ชื่อประเทศว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Socialist Republic of Vietnam)

สรุปเหตุการณ์ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้เข้ามายึดครองอินโดจีน และได้ขับไล่ฝรั่งเศสออกจากอินโดจีน กษัตริย์เบ๋าได่ ได้ประกาศให้เวียดนามเป็นเอกราชแต่ก็อยู่ภายใต้ญี่ปุ่นเมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 เวียดมินห์จึงยึดอำนาจรัฐบาลกษัตริย์เบ๋าได่ และให้โฮจิมินห์เป็นประธานาธิบดี และสถาปณาสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม

เมื่ออังกฤษและฝรั่งเศสได้ปลดอาวุธกองทัพญี่ปุ่นในเวียดนามใต้ได้ จึงต้องการเข้ามามีอิทธิพลในเวียดนามอีกครั้ง จึงให้กษัตริย์เบ๋าได่เป็นหุ่นเชิด สงครามในประเทศก็เริ่มเกิดระหว่างฝ่ายเวียดนามเหนือที่มีกลุ่มเวียดมินห์ กับฝ่ายใต้ที่มีฝรั่งเศสหนุนอยู่ และสงครามได้ยืดเยื้อยาวนาน 8 ปี และ จบลงด้วยการพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสที่ทำสงครามทีที่ เดียนเบียนฟู ในปี ค.ศ. 1954 ฝ่ายเวียดมินห์ลุกคีบต้องการที่จะรวมประเทศ ยังผลให้เกิดการสู้รบกันอย่างหนักระหว่างฝ่ายเวียดนามเหนือ และใต้ จนต้องทำสนธิสัญญา เจนีวา แล้วแบ่งเวียดนามออกเป็น 2 ส่วน คือเวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ (มีกษัตริย์เบ๋าได่ และ โงดินห์ เดียม เป็นนายกรัฐมนตรี)

ในช่วงสงครามเวียดนาม ปี ค.ศ. 1955 กษัตริย์เบ๋าได่ ต้องสละอำนาจและ โงดินห์ เดียม ได้เป็นประธานาธิบดีแทน ช่วงนี้ อเมริกาได้เข้ามาหนุนหลังเวียดนามใต้ ทางด้านเวียดนามเหนือซึ่งกลายเป็นคอมมิวนิสต์ และมี จีนกับสหภาพโซเวียตหนุนหลังอยู่

ในช่วงปี ค.ศ. 1963-1967 ทางเวียดนามใต้มีปัญหาทางการเมือง ทำให้ กองกำลังเวียดนามเหนือ เข้ามายังเวียดนามใต้(อเมริกาซึ่งเป็นฝ่ายประชาธิปไตยกลัวว่าเวียดนามเหนือที่เป็นคอมมิวนิสต์จะเข้ามายังเวียดนามใต้จึงได้ ส่งกองกำลังทหารหนุนฝ่ายเวียดนามใต้เต็มที่) ทำให้เกิดการสู้รบเป็นสงครามเวียดนาม ในที่สุดเวียดนามเหนือก็เข้ายึดกรุงไซ่ง่อนได้ (ตอนหลังเปลี่ยนชื่อมาเป็นโฮจิมินห์ซิตี้) ในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1975 ทำให้เวียดนามถูกรวมเป็นประเทศเดียว และ ปกครองด้วยระบบคอมมิวนิสต์ ภายใต้พรรคคอมมิวนิสต์ มาถึงทุกวันนี้ เปลี่ยนชื่อประเทศมาเป็น สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และมีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงฮานอย

นโยบายปฏิรูป โด่ยเหม่ย (Doi Moi) ปี ค.ศ. 1986
เมื่อสิ้นสุดสงครามเวียดนามในปี ค.ศ. 1975 เวียดนามได้เป็นประเทศคอมมิวนิสต์โดยสมบูรณ์ การมีเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของโลกที่สำคัญ ประกอบกับสหภาพโซเวียตประกาศใช้นโยบายเปิดประเทศที่เรียกว่า Glasnost and Perestroika ซึ่งมีผลต่อประเทศในโลกคอมมิวนิสต์ด้วย โดยเวียดนามได้เปิดและปฏิรูปประเทศโดยนโยบาย โด่ยเหม่ย โดยเริ่มเปิดประเทศเป็นแบบเสรีมากขึ้น อนุญาตให้ประชาชนดำเนินธุรกิจการค้าของตัวเอง การล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1991 ทำให้เวียดนามเปิดประเทศมากขึ้นทำการติดต่อค้าขายกับโลกเสรีประชาธิปไตยมากขึ้น แม้แต่สหรัฐอเมริกา และพัฒนาเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมมากขึ้น

การที่รัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์แต่ละสมัยมีวิสัยทัศน์ที่ต้องการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้า และตั้งเป้าจะเป็นเสือตัวใหม่แห่งเอเชียเช่นเดียวกับไทย ในปี พ.ศ.2529 สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามได้เริ่มการปฏิรูปประเทศโดยเริ่มจากระบบเศรษฐกิจของประเทศเป็นอันดับแรก จากระบบเศรษฐกิจรวมศูนย์แบบสตาลิน (the centrally planned Stalinist command economy) แบบคอมมิวนิสต์ มาเป็นนโยบายโด่ย เหม่ย (Doi Moi) หลังจากที่เห็นแล้วว่าการพัฒนาเศรษฐกิจในแบบสังคมนิยมไม่น่าจะทำให้ประเทศก้าวไกลได้มากนัก เป็นการเริ่มต้นการพัฒนาประเทศที่มีรูปแบบไปทางระบบเสรีนิยม เพราะสาระสำคัญของนโยบายนี้จะเน้นการพัฒนาด้านการเกษตร และเศรษฐกิจ เป็นการปูพื้นฐานเบื้องต้นในการพัฒนาประเทศในขณะที่ระบบการปกครองยังเป็นแบบสังคมนิยม(คอมมิวนิสต์)อยู่ จากนั้น ได้มีการวางยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2534 - 2544) ในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ และล่าสุด ในการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์สมัยที่ 9 เมื่อเดือนเมษายน 2544 ที่ประชุมได้ให้การรับรองยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศต่อไปอีก 10 ปี คือ ตั้งแต่ พ.ศ. 2544 - 2554 ให้รอบด้านมากขึ้น นับแต่การเพิ่มศักยภาพผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวในประเทศ สร้างเสริม ผลักดันการพัฒนาประเทศต่อไปอีก โดยเฉพาะการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม และความทันสมัยในลักษณะที่เวียดนามยังมีรูปแบบการปกครองเป็นระบบสังคมนิยมอยู่

 


สงครามเวียดนาม (Vietnam Wars, ค.ศ. 1957-1975)
เป็นสงครามระหว่างเวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ที่สนับสนุนโดยสหรัฐอเมริกา เพื่อตัดสินว่าควรรวมเวียดนามเป็นหนึ่งเดียวตามข้อตกลงเจนีวา ค.ศ. 1954 หรือไม่ สงครามจบลงด้วยชัยชนะของเวียดนามเหนือ และรวมประเทศเวียดนามทั้งสองเข้าด้วยกัน ซึ่งปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศเวียดนาม ในประเทศเวียดนามเองเรียกสงครามนี้ว่า สงครามปกป้องชาติจากอเมริกัน หรือ สงครามอเมริกัน

เวียดนาม เหนือและเวียดนามใต้
ในปี 2448 โฮจิมินห์และขบวนการเวียดมินท์ ทำสงครามต่อสู้กับฝรั่งเศสเพื่อให้ได้เอกราชคืนมาต้องใช้เวลาถึง 9 ปี เวียดนามจึงเอาชนะฝรั่งเศสได้ เมื่อ 7 พ.ค.2497 ซึ่งเป็นวันเดียวกับทหารเวียดมินท์ยึดเดียนเบียนฟูได้ ฝรั่งเศสจึงต้องยอมลงนามในสัญญาสงบศึกเรียกว่า อนุสัญญาเจนีวา/ข้อตกลงเจนีวา เมื่อ 20 ก.ค.2497 สาระสำคัญของสัญญา คือ ต้องแบ่งประเทศออกเป็นสองประเทศ เป็น เวียดนามเหนือ เวียดนามใต้ โดยยึดถือเอาเส้นขนานที่ 17 เป็นเส้นแบ่งเขต นี่เองจึงทำให้เกิดอุบัติแห่งสงคราม เมื่อ 2497 เมื่อเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ทำสงครามเพื่อรวมให้เป็นหนึ่ง

ประเทศเวียดนามเหนือ ซึ่งมีการปกครองภายใต้การนำของโฮจิมินห์ พยายามที่จะรวม เวียดนามทั้งสองส่วนเข้าด้วยกัน จึงส่งกำลังแทรกซึมเข้าไปในเวียดนามใต้อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ พ.ศ. 2498 โดยแฝงเข้าไปในลักษณะผู้ลี้ภัยและผู้อพยพ จากนั้นได้ปฏิบัติการ รุกราน ด้วยอาวุธและกำลังทหารอย่างรุนแรง ตลอดจนโฆษณาชวนเชื่อโจมตีรัฐบาล เวียดนามใต้ ซึ่งได้ผลเป็นอย่างดี ประกอบกับการดำเนินนโยบายด้านการบริหารประเทศ ของรัฐบาลเวียดนามใต้ประสบความล้มเหลว จึงได้ร้องขอความช่วยเหลือทางทหารและ เศรษฐกิจจากมิตรประเทศฝ่ายโลกเสรี

ประเทศเวียดนามใต้ หรือ รัฐเวียดนาม เป็นประเทศหนึ่งที่ปรากฎบนแผนที่โลกในช่วง พ.ศ. 2497 ถึง พ.ศ. 2519 โดยแบ่งจากเวียดนามเหนือที่ตำแหน่งละติจูดที่ 17 การแบ่งแยกเวียดนามเหนือและใต้นั้นเกิดขึ้นจากสนธิสัญญาเจนีวา หลังจากที่ทางฝรั่งเศสได้ปกครองหลายประเทศในแถบอินโดจีน ซึ่งในปี 2519 นั้นได้รวมเข้ากับเวียดนามเหนือเป็นประเทศเวียดนาม ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2518

เวียดกง (Viet Cong)

เวียดกง (Viet Cong) หรือชื่ออย่างเป็นทางการ แนวร่วมแห่งชาติเพื่ออิสรภาพเวียดนามใต้ (National Front for the Liberation of South Vietnam)เป็นกลุ่มคนในเวียดนามใต้ที่ฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ที่ไม่เห็นด้วยกับการบริหารประเทศของโงดินห์ เดีนมซึ่ง เป็นขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านสาธารณรัฐเวียดนาม (เวียดนามใต้) ในช่วงสงครามเวียดนาม เวียดกงได้รับการสนับสนุนทางอาวุธยุทโธปกรณ์จากฝ่ายคอมมิวนิสต์ในเวียดนามใต้ และกองทัพประชาชนเวียดนาม

ชื่อ "เวียดกง" มาจากคำว่า "Vietnamese Communist" (Việt Nam Cộng Sản) และใช้กันแพร่หลายเมื่อคำนี้ถูกใช้โดยโง ดินห์ เดียม ประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐเวียดนาม เวียดกงก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1960 ก่อนจะสลายตัวไปใน ค.ศ.1976 หลังชัยชนะของฝ่ายเวียดนามเหนือต่อเวียดนามใต้ และเกิดการรวมประเทศเวียดนามในที่สุด

Cr: https://www.baanjomyut.com/library_2/asean_community/vietnam/01.html